หนูรี
นารี เอี่ยมวิวัฒน์กิจ ชูเรืองสุข

58. ถึงเวลาใบไม้ผลิหวลคิดถึงกิจกรรมในวัยเยาว์ : ตบย๊าบ


ย๊าบ คือ จั๊กจั่นตัวสีเขียว

 

6 มีนาคม 2554 ที่บ้านสวนถ้ำทะลุ
 
กลับมาจากหาดใหญ่ตั้งแต่เมื่อวาน ไปอยู่ในเมืองแรมเดือนกลับมาต้นยางพาราเริ่มผลิใบอ่อน มองดูเป็นสีเขียวอ่อนๆแล้วสดชื่นดี แม้ว่าอากาศยามนี้ค่อนข้างร้อน แต่ก็ไม่แห้งแล้ง ยังมีความชื้นรอบๆตัวดีระดับหนึ่งค่ะ
 
เมื่อถึงคราวที่ต้นยางพาราและต้นใม้ใหญ่ๆต่างก็ชื่นบานพลัดเปลี่ยนใบจากเก่าเป็นใหม่ใบเขียวอ่อนๆ และนี่ก็คือธรรมชาติ...
 
ความสุขแห่งธรรมชาติในยามนี้ยังส่งผ่านไปสู่เหล่าแมลงต่างๆที่มีอาหารชั้นเลิศให้ได้ลองลิ้มกัน
ใบไม้ผลิ ดอกหญ้าหรือดอกอ้อบานชูช่อสองข้ามทาง ลู่ลมพริ้วไปมา
 
ดอกหญ้าบาน แม่ให้หลานเก็บมาให้ เอามาตากแห้งไว้ทำไม้กวาดเช่นเดิม...
มีเรื่องราวที่เคยบันทึกไว้ที่นี่ ค่ะ >ไม้กวาดฝีมือแม่  และที่นี่ > ไม้กวาดฝีมือแม่ ตอนที่2
 
เมื่อครั้งเยาว์วัย เราก็จะเก็บดอกหญ้ามา "ตบย๊าบ"
"ย๊าบ" เป็นภาษาถิ่นบ้านเรา(ถ้ำทะลุ) ซึ่ง "ย๊าบ" นั่นคือ แมลงจั๊กจั่น (ตัวเขียวๆ)
 
ที่อื่นมีชื่อเรียกอีกอย่างไรบ้างค่ะ?...
 
วันนี้ชวนมาดูการตบย็าบกันค่ะ
 
ตกเย็นย่ำก่อนย่างเข้ายามราตรี...เริ่มมืดแล้ว ชวนกันมาชมท้องฟ้าตอนหวันมุ้งมิ้ง
 
เตรียมจัดฉากโดยคุณยายบ้านใกล้เรือนเคียงค่ะ "ยายเจียม"

"ยายๆอยากตบย๊าบจังนิ!" ...ฉันพูดกับยายเจียมหลังจากที่พูดคุยถามข่าวคราวกันที่ไม่ได้เจอกันหลายวัน

"มาๆเดี๋ยวยายไปหาเทียนก่อน" ...ยายเจียมบอก แล้วเดินเข้าบ้าน

"ยายๆมีเกียงป๋องมีหม้าย" ...ฉันถาม

"หายหม้ายแล้วเกียงป๋องน๊าน หาเอาไหน่ล่ะแหละนี่" ...ยายเจียมตอบ

 
ต่อมา...เราก็ได้อุปกรณ์พร้อมแล้ว
 
1.ดอกหญ้า ผูกกับต้นตีนเป็ดหน้าบ้านนี่ล่ะ
 
2.พลก (กะลาพร้าว) ไว้เคาะเรียก "ย๊าบ"
*กรณีคนน้อยใช้กะลาเป็นตัวช่วย
 หรือตบมือดังๆก็ได้หากหลายคนเสียงจะได้ดังเพียงพอ
 
นั่น...ไงลีลา
เราต้องอยู่ในที่มืดมีแสงไฟเฉพาะจุดใกล้ดอกหญ้าที่เราผูกไว้เท่านั้น
 
มาแล้ว...สองตัวเห็นไหมนั่น!...
 
อีกตัว...เขียวๆนั่น เกาะที่ต้นตีนเป็ด:)
 
ชัดๆค่ะ...
 
ชัดๆอีกที...เกาะนิ่งๆน่ะโพสต์ท่าก่อน
 
นี่!ตัวย๊าบ หรือจั๊กจั่น
•แล้วชาวบ้านเค้าเอาไปทำไรหรือ?
บันทึกหน้าจะเขียนถึงชีวิตของแมลงตัวน้อย ที่มีชื่อเสียงเรียงนาม...
ภาษาถิ่นบ้านฉันว่า "ย๊าบ"
กลางวันเธอจะส่งเสียงร้องก้องป่าเสียงเล็กๆแหลม...ลองฟังดูค่ะ
 
ภาษาราชการ ว่า "จั๊กจั่น"....ต่อน่ะค่ะ อย่าลืมแวะมาติดตามตอนต่อไปน่ะค่ะ
 
บันทึกนี้ขอปิดบันทึกเท่านี้ก่อนน่ะค่ะ ขอให้มีความสุขทุกท่าน
สวัสดีค่ะ :)
............................. 
หมายเลขบันทึก: 429807เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2011 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

นั่นแน่ใช้เทคนิคละคร "โปรดติดตามตอนต่อไป" เสียด้วย

จั๊กจั่นที่นี่ตัวเขียวเหมือนศิษย์พระอินทร์เลย 

ที่เห็นทั่วไปมีสีเปลือกไม้คือ ดำเทาอะไรทำนองนี้

เรียกว่า..มนตร์..ได้ป่ะ

Ico48สวัสดีค่ะท่านอ.โสภณ เปียสนิท

จั๊กจั่นมีหลายสีเธอคงแปลงร่างปลอมตัวกระมั่งค่ะ อยู่กับต้นไม้คงทำตัวเป็นเปลือกไม้อยู่กับไม้ใบอ่อนเธอก็กลายเป็นสีเขียวใบไม้ประมาณหรือป่าวค่ะ ต้องตามหาข้อมูลเพิ่มเสียแล้ว...

ขอบคุณค่ะ โปรดติดตามกำเนิดจั๊กจั่น...

 

Ico48ค่ะพี่ครูป.1

อะไรค่ะเรียก "มนตร์" ไม่ค่อยเข้าใจ ร่ายมนตร์ให้จั๊กจั่นมาหาเหรอค่ะ...

ขอบคุณน่ะค่ะที่แวะมาเยี่ยมชม

ขอบคุณค่ะ..น่าสนใจมาก..ได้เข้าไปอ่านเรื่องเล่าของเจ้าจั๊กจั่น มาแล้วค่ะ..

..เก็บภาพ หญ้าม่านพระอินทร์(หญ้าหมอน้อย) จากระเบียงบ้านคุณพ่อมาฝาก..เขาแข่งความสูงกับไม้ดอกรอบข้าง..เช่น ต้นโป๊ยเซียน และ เฟื่องฟ้า..

                 

คุณหนูรี..ผมว่าถ้าพูดสำเนียงยะลา น่าออกเสียง "หยาบ" หรือ "ย๋าบ" มากกว่า
แต่ถ้าออกเสียงแบบคนภาคกลางก็น่าจะเป็น "ยาบ" นะครับ ^^  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท