ย้อนความยามยังเด็ก ประสบการณ์จากท้องนา (ตอนจับกบ)


หมายถึงขวัดด้งเปลา และขวัดด้งเปลาคือ ไม่ได้อะไรเลย ด้งคือกระด้งนั่นเอง) จากนั้นนุ้ยเปิดฝาไซที่มีหลักไซปิดอยู่แล้วใส่กบน้อยตัวนั้นไว้ กบก็โดนขังไว้ในไซ

ย้อนความยามยังเด็ก ตอนจับกบยามฤดูหลังเก็บเกี่ยว ฺ

"ฝนตกหนักเลยแม่"

(ช่วงฤดูร้อนหลังเกี่ยวข้าวเสร็จ)

เป็นโอกาสดีที่เราจะได้จับกบอีกนะแม่นะลูกพร่ำกับแม่

ผมจะเตรียมตะเกียงไว้ดีกว่านะแม่นะเผื่อว่าฝนตกน้ำล้นท่วมคันนา คืนนี้เราอาจจะได้กบ มาแกงกับยอดมะขาม ยอดมะขามก็กำลังแคว็ดยอดพอดี (แคว็ดยอดเป็นคำใต้หมายถึงเริ่มผลิยอดใหม่)

ว่าแล้วผมก็ไม่รีรอจัดหาตะเกียงฉอด (เป็นตะเกียงอะเซติลีน ข้างในบรรจุแก็สอะเซติลีน ชาวสวนยางจะรู้จักกันดี) และเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับพิฆาตเจ้ากบคืนนี้ ได้แก่ สุ่ม บวก(ฉมวก) และก็ไซทน(สำหรับใส่กบ มีฝาปิดสานด้วย ซี่ไม้ไผ่ รูปร่างคล้ายทรงกระบอก)

ได้เวลาทุ่มครึ่ง ไอ้นุ้ยก็เตรียมตัวออกเดินทางเพื่อความหวังให้ได้กบมาแกงกับยอดส้มพรุ่ง หากได้หลายตัวก็จะเอาไปแจกญาติพี่น้องในละแวกนี้กันหน่อย

(ไอ้นุ้ย เป็นชื่อที่แม่เรียกลูก)

"เดินดีๆ นะลูกระวังเขี้ยวขอ ด้วย (เขี้ยวขอ หมายถึงพวกงู ตะขาม)" แม่ตะโกนบอก ฺ

"ครับโผม" ไอ้นุ้ยตะโกนตอบรับแม่ ได้เวลานั้นไอ้นุ้ยก็เดินมิรีรอสู้ท้องทุ่ง ท่ามกลางสายฝนตกแส็กๆ (ฝนตกพรำๆ)

"โอ้ โหรม ตะเกียงฉอดจังหันเลย" (โอ้โหรม หมายถึง โอ้โห, จังหัน คือ มากมาย)

และแล้วเสียงเจ้ากบ ก็ ร้องโอ๊บๆ อยู่ทั่วท้องนา ตัวแรกของไอ้นุ้ย หวังว่าจะไม่พลาด เสียงเจ้ากบก็ร้องอยู่ข้างชายดม (ชายดม คือชายป่า) ไอ้นุ้ยมุ่งสู่ยังเสียงนั้นทันที เสียงโอ๊บนั้นก็ดังก้องขึ้นเรื่อย จนในที่สุดไอ้นุ้ยก็เห็นสีขาวที่ชายดม ด้วยแสงไฟที่แรงกล้า สองไปยังกบน้อยตัวแรก นุ้ยเดินเข้าไปเรื่อยจนใกล้เสียงนั้นพร้อมทำเสียงเลียน กบน้อยจนแยกไม่ออกว่าเสียงไหนเสียงจริง

กบน้อยนั่งอยู่บนหัวนาชายดม (หัวนาคือคันนา) ไอ้นุ้ยเตรียมพร้อม จับบวกเล็งตรงไปยังเสียงนั้น ก้าวไปเรื่อยก้าวไปเรื่อยจนใกล้แล้ว ใจเริ่มสั่นกลัวจะแทงผิด และแล้วก็มีเสียง "แกว็กๆๆ" ออกมา สมตามความหวังของไอ้นุ้ย

ตัวแรกของไอ้นุ้ยจับได้นั่นแสดงถึงลางดี ว่าคืนนี้คงจะไม่โซ้ย (โซ้ยหมายถึงขวัดด้งเปลา และขวัดด้งเปลาคือ ไม่ได้อะไรเลย ด้งคือกระด้งนั่นเอง) จากนั้นนุ้ยเปิดฝาไซที่มีหลักไซปิดอยู่แล้วใส่กบน้อยตัวนั้นไว้ กบก็โดนขังไว้ในไซ

นุ้ยเป็นคนช่ำชองคนนึง ในสายตาของชาวบ้านละแวกนี้ นุ้ยรู้ว่าจะแทงกบตรงไหนที่ไม่ให้มันตายก่อนจะกลับบ้านหรือก่อนจะแจกให้ญาติพี่น้อง และแล้วนุ้ยก็เดินต่อไปยังเสียงถัดไป

(อยากรู้ว่านุ้ยเจออะไรบ้างคืนนี้ ติดตามกันต่อไป) .....................................................................

 

และแล้วเสียงถัดไปนั้น นุ้ยพยายามที่จะฟังว่าอยู่ตรงไหน นุ้ยเดินรอบหัวนาบิ้งนั้น (บิ้งหมายถึง นาหนึ่งแปลงที่มีคันนา ล้อมรอบ) เดินครบสองด้าน ด้วยความชำนาญของนุ้ยก็รู้ว่าเสียงนี้อยู่กลางนานั่นเอง ด้วยหัวใจที่เต้นตุ๊บตั๊บ รัวว่าจะได้ไหมหนอตัวนี้ นุ้ยเดินย่องเข้าไปพร้อมทำเสียงเลียนอย่างเดิม ส่องไปยังกอซังข้าวเห็นเจ้ากบ โผล่หัวอยู่ครึ่งนึง แต่คราวนี้นุ้ยเจอของดี รู้ไหมเจออะไร นุ้ยเจอสองตัวเลย เอ้นุ้ยจะใช้อะไรดีหน่อ สุ่มหรือบวก(บวกคือฉมวก)ดี ถ้าบวกก็จับได้เพียงตัวเดียวอีกตัวอาจจะไม่ได้

แต่นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่ของนุ้ยด้วยการวางแผนอย่าง ดี นุ้ยมีสุ่ม เคยมีประวัติมาแล้วนุ้ยสุ่มครั้งเดียวได้สองตัว ครั้งนี้จะเป็นเหมือนครั้งนั้นไหม ใจก็รัวสั่น มันช่างตื้นเต้นอะไรอย่างนี้ ราวๆ เกือบสองเมตรท่าจะได้ ระหว่างนุ้ยกับกบคู่นั้น นุ้ยพุ่งสุดตัวพร้อมอุปกรณ์ที่มีอยู่ ไปยังกบ และแล้วเวลาระทึกก็มาถึง

 

ด้วยความชำนาญนุ้นจับหัวสุ่มก็รู้ว่าติดแน่ๆ อย่างน้อยหนึ่งตัว แต่นั่นอย่างลืมว่าผิวท้องนามิได้เรียบ พร้อมกอซัง (กอซัง คือ กอต้นข้าวที่ตายแล้ว) แล้วนุ้ยจะได้หรือไม่ ในเวลาต่อมานุ้ยมิรอช้า ล้วงทันทึด้วยความสงสัยว่าจะได้กี่ตัวกันแน่

(ท่านคิดว่านุ้ยเราจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ กับครั้งที่สองของคืนนี้ ติดตามกันต่อไปก้า) .....................................................................

  ค้างอยู่ตอนที่กำลังจะล้วงมือเข้าไปในสุ่ม เพื่อจับกบว่านุ้ยจะได้กี่ตัวกันแน่ ทันใดทันนุ้ยก็ล้วงเข้าไป ด้วยความแม่นยำและการกางมือของนุ้ยจับถูกเท้าของกบพอดี กุกกักๆ เสียงกบชุ่น(ชุ่น คือการที่กบพยายามวิ่งออกจะสุ่มแต่กระทบกันซี่ของสุ่ม) สนั่น ไปเลย

ในที่สุดน้อยก็จับได้หนึ่งตัวในครั้งแรกที่ล้วงไป ด้วยความรีบเร่งนุ้ยก็มิรอช้า จับใจไซทนทันทีพร้อมปิดฝามิดชิด ล้วงเข้าไปอีกเพราะคาดว่าจะได้สองตังแน่ๆ นุ้ยพยายามล้วงไป รอบตามบริเวณรอบนอกของซี่สุ่ม และแล้วนุ้ยก็เจอ..... เจอเข้าเต็มๆ เลย ช่องรอยเท้าวัวหรือควายแน่ๆ เท่าถำเลย (เท่าถำ หมายถึง ใหญ่โตมาก)

และแล้วนุ้ยก็พลาดตัวที่สองจนได้ ด้วยความเสียดายนุ้ยก็พยายามดึงสุ่มขึ้นมาและลองสุ่มไปรอบๆ ด้วยความหวังว่า กบน้อยตัวนั้นยังหนีไปไม่ไกลมากนัก และแล้วนุ้ยก็เจอหลุมใหญ่พร้อมอะไรมิทราบ รู้สึก ลื่นๆ ที่ฝ่าเท้าด้วยความตกใจและคิดว่าน่าจะเป็นกบ ยกเท้าออกสุ่มลงไปทันที ล้วงทันที ก็รู้ว่าเจ้ากบน้อยตัวนี้ ชะตาขาดอีกแล้ว

นุ้ยคิดว่าพลาดแล้วแต่ อาจจะเป็นเพราะนุ้ยทำบาปขึ้นหรือไรมิทราบ นุ้ยก็พิชิดได้ อีกเช่นกัน มิรอช้า เดินย่ำไปข้างหน้าต่อไป ด้วยความหวังที่อยากจะกินแกงกบกับยอดส้มขาม ตอนเช้าวันรุ่ง (เดินต่อไปนะนุ้ย ติดตามนุ้ยได้ที่นี่ ตอนต่อไป)

คืนนี้เป็นคืนที่ยาวที่สุดของนุ้ย ประสบการณ์ในคืนนี้ ยังมีอีกยาวที่จะคุ้ยให้อ่านกันสนุกๆ ครับ

หมายเลขบันทึก: 83089เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2007 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

        แวะมาทักทาย หลังจากห่างหายไปหลายคืนค่ะ  เลยไม่ได้อยู่คุยกับคุณเม้ง

         ตามเก็บเกี่ยวตั้งแต่บันทึกล่าสุดดีกว่านะคะ  ตะกี้เพิ่งตามเก็บบันทึกพ่อครูฯ เสร็จไป

        อ่านบันทึกนี้แล้ว  นอกจากจะได้เห็นความเก่ง ความช่ำชอง ของนุ้ยแล้ว  ยังได้รื้อฟื้นภาษาถิ่นใต้ไปในตัวด้วยนะคะ

       แหม ถ้ามีภาพประกอบ ด้วยก็ดีเนอะ  อยากเห็นท่าทางตอนคุณนุ้ย แทงกบ อิอิ

  • สวัสดีครับพี่รัตติยา
  • ยินดีต้อนรับครับผมมาสร้างสีสรรให้ ชุมชนไปถึงรู้(GotoKnow) แห่งนี้ครับ
  • สำหรับภาพประกอบพลาดครับ ไม่มีให้ดูครับ สงสัยต้องไปทำสารคดี ห้าๆๆ หรือไม่ก็ต้องมีสาย USB ต่อเข้ากับสมองแล้วส่งออกหน้าจอคอมแล้วครับ
  • สบายดีนะครับผม

อยากเห็นเจ้านุ้ย ตอนเด็กๆเหมือนกันค่ะอาจารย์เม้ง

  • รูปถ่ายรูปแรกของนุ้ย สงสัยรูปแรกคงตอน ป หกมั้งครับ
  • อยู่บ้านนอก (นอกเมือง) เป็นเรื่องยากสำหรับการบันทึกภาพมากๆ ครับ
  • ไฟ้ฟ้ากว่าจะมาถึงได้ก็ตอน นุ้ยอยู่ ม.สามแล้วครับ ก่อนหน้านั้น หุงข้าวกับหินสามก้อน หรือไม่ก็เหล็กสามขาครับ
  • จนวันนี้ โทรศัพท์บ้านยังเข้าไม่ถึงเลยครับ
  • แวะมาให้กำลังใจ น้องชายที่อยู่แดนไกลค่ะ

 

อ่านแล้วลุ้นมากเลยค่ะ เกรงว่าไอ้นุ้ยจะไปคว้าเอางู ที่ออกมามาหากินกบเขียดเหมือนกัน.....จากเรื่องนี้ทำให้นึกถึงสมัยเด็กๆที่วิ่งขุดจุ๊ดจี่ กับเพื่อนๆ ชักอยากนำมาเล้าสู่กันฟังบ้าง

คุณเม้งขา...เรามีรูปสมัยเก่ามาแลกกันดูที่นี่ (http://gotoknow.org/blog/paew/81579) ค่ะ เชิญคุณเม้งนำรูปสมัย ป.หก มาแลกกันดูด้วยนะค่ะ...หลายๆท่านน่ารักมากเห็นแล้วจะอึ้ง.....อิอิอิ

แวะเข้ามาทักทายคะ

อืม  อยากรู้เร็วๆว่า  แกงกบกับยอดส้มขามของทางใต้ จะอร่อย  ต่างกับทางอีสานหรือเป่าน้า

แต่ที่แน่ๆ  ได้รู้จักกับภาษาถิ่นใต้หลายคำทีเดียว 

P
  • ขอบคุณพี่สาวคนดีครับ
  • เป็นกำลังใจให้เช่นกันครับ

P
  • ขอบคุณพี่แป๋วครับ เอามาเล่าได้เลยครับ ผมก็เคยขุดเหมือนกันครับ แต่ทางใต้ที่บ้านเรียกว่า แมงจู่จี่ เอามาต้มเกลือ อร่อยจริงๆ คุณย่าเคยทำให้ทาน ไปหากันด้วยครับ แบบว่าน่าค้นหาจริงๆ
  • สำหรับรูป ป หก ไม่มีตอนนี้ครับ ตอนนี้เก่าสุดก็ ป.สาม ป ตรี แล้วครับ คงไม่น่ารักแล้วครับ อาจจะหล่อแทน (อ๊วก)

P
  • หากสนใจ ไว้ผมจะเขียนเล่าทำแกงส้มยอดมะขามที่บ้านผมทำอย่างไร อิๆ โดยเฉพาะแกงกับกบหรือว่าปลาทูนึ่ง เนี่ย เกินคำบรรยาครับ
  • จริงๆ แล้วเรื่องนี้ ดูออกจะทารุณสัตว์ซะหน่อยครับ ตอนเด็กๆนะครับ แบบว่า ยิงนกตกปลา เนี่ยไม่พลาด แต่ไม่ได้ทำเพราะความสนุกครับ (สนุกด้วยนั่นหล่ะ แต่เอาเนื้อหนังเค้ามาทำประโยชน์ ก็รังแกสัตว์อยู่ดีนั่นหล่ะครับ)
  • มาตอนนี้จะแกงไก่ซักครั้ง ต้องวิ่งให้คนข้างบ้านเชือดให้ ไม่มีใครกล้าแล้ว แปลกจริงๆ ผมวางมือมานานแล้วเหมือนกันครับ

 

 

รูปตอน ปี 3 ป.ตรีก็ได้ค่ะ จะได้รู้กันไปเลยว่าหล่อจริงรึปล่าว อิอิอิ
  • จ๊าก เหอๆ หล่อ(ไม่เส็ด เสร็จ) ห้าๆ

อ่านสนุกดี นึกถึงความหลัง  สมัยยังเด็กๆ    : )

เมื่อก่อนสาว กทม. ก็เคย จับกบ ปลาไหล สุ่มปลา เหวี่ยงแห (แต่มันไม่กางหง่ะ)  ช้อนปลา จับปูนามาต้มกิน ฯลฯ

แต่ถ้าแกงกบจะเป็นแกงใส่กะทิ  ใส่ลูกตำลึงอ่อน จะเข้ากั้น เข้ากัน

  • ดีครับ ว่างๆ เล่าอดีต กทม.บ้างครับ อยากฟังอยากอ่านครับ ว่าทำไมเมืองมันมาติดกันเป็นเมืองเดียวกัน สมัยก่อนคงมีทุ่งนากั้นระหว่างตึกเนอะ
  • ห้าๆๆ เหวี่ยงแหไม่กาง แล้วคนลงไปในสระด้วยหรือเปล่าครับ ตอนเหวี่ยง อิๆ เพราะเคยเป็นเหมือนกันครับ
  • เล่ามาเลยครับ เพราะเด็กสมัย ผมว่าคงอิจฉามากๆ ครับ เพราะชีวิตแบบนั้น เด็กปัจจุบันในเมืองไม่รู้จะมีโอกาสได้เห็นไหมครับ ในชนบทคงยังมีอยู่นะครับ

อาหาร อันเกี่ยวเนื่องแต่กบ ของอีสานบ้านผมมีอย่างหลากหลาย คิดแล้วชวนน้ำลายสอ

  • ผัดเผ็ดกบ ใส่กระเพราะ จิ้มด้วยข้าวเหนียว
  • คั่วกบ  ประเภทผัดเผ็ดนั่นแหละ  แต่ไม่ใส่น้ำมัน มีน้ำขลุกขลิก
  • อ่อมกบ  เป็นแกงมีน้ำนิดหน่อย ใส่ปลาร้า ข้าวคั่วใส่ผักเยอะ ๆ
  • ป่นกบ (น้ำพริกกับ)  กินบผักสดแบบพื้นบ้านแซบหลายครับ
  • ที่สำคัญถ้าได้นั่งกินกับ "น้องกบ"  ยิ่งเพิ่มรสชาดได้เหลือประมาณ
(กระเพรา  ไม่ใช่ กระเพราะ)
  • อิๆ ขอบคุณครับ พี่ย่ามแดง
  • สุดยอดครับ มีหลายเมนูจริงๆครับ
  • เห็นแล้วสงสารกบจริงๆ เกิดมาชาตินี้เพื่อพลีชีพเลยครับ
  • ทางอีสานมีวิธีการหากันยังไงบ้างครับ ผมเคยดูในทีวีเค้าเอาทางและใบตาลโตนด ลากในนาตอนหน้าแล้ว เพื่อหลอกกบ แล้วกบมันจะร้อง แล้วร้องเลียนเสียงกบ แล้ววิ่งไปหาตำแหน่งนั้น แล้วขุดกันเลยครับ อิๆ กบคิดว่าฝนฟ้าคะนองครับ
  • ขอบคุณครับ

อ่านแล้วพอนึกภาพตามก็คิดถึงตอนเด็ก ๆ เหมือนกันค่ะ แต่หนูไปจับปูแทน  อิอิ

อยากเห็นนุ้ย ๆ จริง ๆแหละค่ะ ไม่น่าเชื่อเลยว่าเด็กจับกบคนนั้น จะกลายมาเป็นพี่เม้งผู้รักษ์ธรรมชาติได้

เป็นกำลังใจให้นะคะพี่ เดี๋ยวจะขออนุญาติเอาบทความนี้ไปลงในเวปบอร์ดด้วยค่ะ : ) สนุกดี

  • ได้ครับผม ยินดีครับ
  • ขอบคุณมากครับผม

เข้ามาเจอคำว่าชายดม ของคุณเม้งพอดี วันนี้เองกำลังนึกถึง"ชายดม"(ดม คือป่าแนวเขตระหว่างบ้าน) ที่บ้านสวนตอนเราเด็กๆ มีผลไม้สารพัด เช่น ลูกพ้อ ลูกหวาย กล้วยมุดสัง ลูกตาเป็ดตาไก่ ลูกนมควาย เป็นอาหารว่างของเด็กตลอดย่านบ้าน พากัน"มุดดม"หาผลไม้กิน โดยลืมอาหารเที่ยง กินเต่ผลไม้พวกนี้ไม่น่าเชื่อว่าจะ entrance เข้ามหาวิทยาลัยได้ บางวันก็พากันไปกินลูกข่อยซึ่งสุกเหลืองเต็มต้น ที่จอมปลวกกลางนา อุตส่าห์ร่ำเรียนกันเพื่อให้ไปไกลจากสิ่งเหล่านี้ แต่ในที่สุดก็รู้ว่าสูงสุดแล้วต้องกลับสู่สามัญ เมื่อเรียนไปถึงการเพาะเลี้ยงโปรโตพลาสต์ แล้วต้องกลับมาสนใจผลไม้ตามชายดม แต่น่าเศร้า ที่กว่าจะรู้คุณค่าก็ต่อเมื่อได้สูญเสียมันไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท