รบกวนญาติมิตรช่วยเช็คข่าวนี้ "การศึกษา" หน่อยนะครับ


สวัสดีครับทุกท่าน

      ได้รับข่าวจากเพื่อน เพราะผมไม่ค่อยได้อ่านข่าวทางไทยเลยครับช่วงนี้ พออ่านปั๊บในหัวข้อข่าวนี้ ก็ทำให้การไหลเวียนเลือดลมดีมากๆ เลยครับผม มาดูหัวข้อข่าวกันดีกว่าครับ

     มหา’ลัยนอกระบบ ตั้งแก๊งอำนาจใหม่-ไล่ออกอาจารย์-ยุบทิ้งวิชาไม่ทำเงิน   เป็นข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์ นะครับ

     เลยอยากให้ญาติมิตรที่เกี่ยวข้องและรับรู้รับทราบ ว่ามีความเป็นจริงๆ มากน้อยอย่างไรครับ ในเรื่องการไล่อออกอาจารย์  ยุบทิ้งวิชาไม่ทำเงิน

หากแต่ว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่ทำกันอย่างแพร่หลายแล้ว ผมค่อยมาแสดงความเห็นต่อไปครับ อยากฟังความรอบด้านก่อนนะครับ

ขอบพระคุณทุกๆ ข้อมูลครับผม

เม้ง 

หมายเลขบันทึก: 128356เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2007 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ปกติเวลาผมอ่านข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ผมจะหารสิบก่อนเสมอครับ

เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

  น่ากลัวและน่าเป็นห่วงอนาคต สังคมไทยครับ
  • ขอบคุณพี่เม้งที่ฝากผ่านความรักและความห่วงใยจากอาจารย์หลายท่านมาสู่ผม
  • ตอนนี้มีกำลังใจมากขึ้นครับ
  • พี่เม้งกลับมาไว ไว ก็แล้วกัน

ขอบคุณอีกครั้งครับ

ที่เป็นข่าวก็มีส่วนจริงอยู่ไม่น้อย มหาวิทยาลัยทุกวันนี้มุ่งเรื่องเงินความคุ้มค่าการลงทุน สาขาไหนไม่มีคนเรียน ก็แสดงว่าลงทุนไม่คุ้ม ก็ปิดยุบไปเปิดสาขาที่น่าจะมีกำไร เพราะงบประมาณมีจำกัด จะจ่ายต้องพิจารณาความคุ้มทุน ทุกวันนี้เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจการศึกษาเต็มรูปแบบแล้วครับ คงเหมือนกันทั่วโลก เป็นแนวโน้มของโลกก็ว่าได้ มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ในต่างประเทศก็คงเป็นแบบนี้เหมือนกัน ใครเป็นอาจารย์ก็ต้องทำใจไว้ก่อน หากทำใจได้ก็ไม่ต้องกลุ้มใจภายหลัง ใช้หลักพุทธศาสน์ ทุกสิ่งเกิดจากเหตุทั้งนั้น

ขอแสดงความเห็นเท่านี้ก่อน ให้ท่านอื่นลองเสนอต่อไป

เป็นการนำเสนอข้อมูลความคิดเห็นส่วนบุคคล แล้วนำมาพาดหัวสร้างสีสรรเท่านั่นเอง

การนำเสนอข่าวก็เป็นเพียงมุมมองจากด้านเดียว

ผมมองอย่างนี้ครับ ว่าจริงๆ การปรับเปลี่ยนสถานะของมหาวิทยาลัยไปเป็นการอยู่ในกำกับของรัฐ เป็นความท้าทายหนึ่งของสถาบันอันเป็นผู้ชี้นำสังคม ซึ่งถ้ามองย้อนหาความสำเร็จในเรื่องนี้ พบว่า ยังไม่มีมหาวิทยาลัยใดทำสำเร็จหรือได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สำหรับมหาวิทยาลัยที่เดิมอยู่ในระบบเก่า แล้วมาเปลี่ยนสถานะ

ต่างจากมหาวิทยาลัยที่เริ่มต้นด้วยการอยู่ในกำกับเลย ที่กลับไม่มีปัญหาอย่างที่มหาวิทยาลัยเดิมๆ ของรัฐเจอเมื่ออยู่ในสถานภาพใหม่

คำถามจึง ไม่น่าจะอยู่ที่ของเก่าดีกว่า แต่น่าจะอยู่ที่มหาวิทยาลัยสามารถนำพาองค์กรไปสู่ความท้าทายใหม่ได้หรือเปล่า องค์ความรู้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยถูกนำมาใช้เพื่อองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยัง

สวัสดีครับทุกท่าน

  • ขอบคุณทุกๆท่านเลยครับ ได้สาระหลากหลายดีครับ
  • รบกวนขอเพิ่มเติมกันอีกนะครับผม ผมมีความเห็นหลายๆ อย่างเลยในเรื่องนี้ แต่อยากได้ข้อมูลในข่าวเหล่านี้ ว่ามีการปรับให้มหาวิทยาลัยกลายเป็น ร้านค้าในการผลิตบัณฑิตแล้วหรือ
  • สาขาสายสังคม มนุษย์ คุณธรรม เราจะยุบทิ้งกันจริงหรือ
  • การวิจัยสายสังคมศาสตร์มนุษยศาสตร์ เราจะยุบไม่สนับสนุนกันแล้วหรือ
  • วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เราไม่สนใจกันแล้วหรือ
  • และอื่นๆ....
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

พี่ไปอ่านมาคร่าวๆ แล้วค่ะ สิ่งที่พบแน่นอนว่าผิดคือ เทคโนลาดกระบังยังไม่ได้ออกนอกระบบค่ะ  ม.ที่ออกแล้วคือ ธนบุรี หรือบางมดน่ะค่ะ

ส่วนเรื่องออกนอกระบบนั้น สำหรับพี่คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่จะให้อำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาอยู่กับมหาวิทยาลัย จะได้สร้าง diversity ได้ แต่การที่อำนาจทุกอย่างอยู่กับผู้บริหารมหาวิทยาลัย ก็เหมือนเหรียญที่มีสองด้าน ถ้าได้ผู้บริหารดี ก็ไปโลด แต่ถ้าไม่ดี ก็จะเกิดปัญหาเหมือนกับที่เขาเขียนในข่าวก็ได้ค่ะ

 

สวัสดีครับตามอ่านมาตลอดเพิ่งเขียน comment นี่แหละ

เนื้อหาที่คุณเอามาโพสก์ประโยชน์ต่อการเรียนรู้มากครับ

อิอิ

ขออนุญาตเป็นเพื่อนบ้านด้วยคนครับ

http://projectlib.wordpress.com

สวัสดีค่ะน้องเม้ง

ขอบคุณมากค่ะ   ที่นำมาลงให้ได้รู้  และรอบคอบในการอ่านมากขึ้น

สบายดีนะคะ...คิดถึงค่ะ

P

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

เข้ามาสำรวจความคิดเห็น... นึกชอบใจสำนวนอาจารย์เม้งว่า... 

...ว่ามีการปรับให้มหาวิทยาลัยกลายเป็น ร้านค้าในการผลิตบัณฑิตแล้วหรือ...

แต่เมื่อลองเพ่งพินิจอีกครั้ง การเปรียบเทียบเป็น  ร้านค้า ยังไม่ชัดเจน น่าจะเปรียบเทียบเป็น ร้านชุบ หรือ ร้านเครือบ ใกล้เคียงกว่า...

มื่อเรานำแหวนโลหะ หรือเครื่องโลหะอื่นๆ ไปยังร้านชุบหรือร้านเครือบ (ถ้าร้านใหญ่ๆ เรียกกันว่า โรงชุบหรือโรงเครือบ) ... หลังจากเครือบเสร็จแล้ว แหวนเหล็กก็อาจกลายเป็นแหวนเงินหรือแหวนทอง... ซึ่งบางร้านก็เครือบได้สวยงามและทนทาน บางร้านก็ทำให้แบบชุ่ยๆ... ส่วนราคานั้น แต่ละร้านก็คิดราคาค่าบริการแตกต่างกันไป....

นักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา ก็คล้ายๆ กับแหวนหรือเครื่องโลหะที่เราจะนำไปชุบ... สถานศึกษาก็คล้ายๆ กับร้านชุบ... ราคาที่ทางร้านเรียกร้องเป็นค่าบริการก็คล้ายๆ กับค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาอื่นๆ... และผู้ที่สำเร็จการศึกษามาหรือบัณฑิตก็คล้ายๆ เครื่องโลหะที่ผ่านการชุบจากร้านนั้นๆ แล้ว...

ที่เหลือก็มอบให้อาจารย์เม้งนำไปจินตนาการต่อ....

เจริญพร 

  • คนข่าวมักจะเพิ่มสีให้คนสนใจมากกว่ามังคะ  อ่านแล้วคงต้องตรองดูให้ดี
  • การศึกษาเมืองไทย ถ้ามีผู้คอยดูแลให้การผลิตบัณฑิตมีสาขาที่หลากหลาย เพื่อมองภาพว่าประเทศควรพัฒนาไปด้านใดได้ดี ไม่ให้สาขาใดมากหรือน้อยเกินไป คงจะดี นะคะ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

P

เรื่องข่าวนี้ อย่าเพิ่งตกใจเลยค่ะ

เรื่องการจะยุบทิ้งสาขาสายสังคม มนุษย์ คุณธรรมเป็นเรื่องที่พี่คิดว่า จะไม่เกิดขึ้น เพราะ เรื่องคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม คือกลยุทธ์หลักอย่างหนึ่งของประเทศตอนนี้ และต่อไปค่ะ

ขอยก การให้สัมภาษณ์ มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล เมื่อ26 เม.ย 2549 ที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   ที่ว่า ประเทศเราขาดแรงงานคุณภาพ ผู้ที่จะมาลงทุนเขาผิดหวัง เขาว่า แรงงานเราดี แต่ยังต้องฝึกต่ออีก เพราะหลักสูตรพื้นฐานเราไม่แน่นพอ...คำนวณ /วิทยาศาสตร์

 แต่ทางจริยธรรม ดีกว่าประเทศอื่น นิสัยก็ดีกว่าค่ะ

เขาไม่จำกัดว่าที่ไหนของประเทศ แต่เป็น across the board

ถ้าเป็นธุรกิจใหญ่ๆ จ้างคนแพงๆได้ เราไม่แพ้ แต่SME เราแพ้ เพราเรามีความรู้อันจำกัด

ท่านเห็นว่า เรื่องนี้ เป็นเรื่องใหญ่มากๆ

สำหรับความเห็นส่วนตัว จากประสบการณ์การทำงานจริงๆ...เห็นว่า มีส่วนจริง แรงงานของเรา ต้องฝึกมากค่ะ แต่ก็ฝึกได้ไม่ยาก เพราะนิสัยดี

ปัญหาอยู่ที่การศึกษาพื้นฐาน

ทีนี้ ถ้าวิชาไหน ที่สอนไปแล้ว( ยกเว้นคุณธรรม จริยธรรม ไม่เลิกแน่) อาจเอาไปใช้ประโยชน์ได้ยากหน่อย เขาอาจต้องดู อย่าเพิ่งไปฟังข่าวsensational เลย รอให้ชัดก่อนดีกว่า

อืม...ข่าวจากเว็บไซต์ดังกล่าว ต้องอ่านตา ไว้ตาครับ

ถึงแม้ว่าจะเป็นความจริง....

แต่มหาวิทยาลัย ก็ไม่ได้มีแห่งเดี๋ยว นักศึกษายังมีทางเลือกครับ

 

ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ 

^_^

เรื่องนี้เป็นการแปลงสารในหลายจุดครับ

จุดที่ ๑ เราพูดกันว่า วิชาที่เรียนแล้วไม่เป็นประโยชน์ควรเลิกสอน

แปลงเป็น วิชาที่ไม่มีคนเรียนน้อยควรปิด

 

จุดที่ ๒ หลักสูตรที่จบไปแล้วไม่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ควรปิด

แปลงเป็น หลักสูตรที่มีคนเรียนน้อยไม่ควรเปิด

 

จึงเป็นที่มาของ "วิชาแจกเกรด" และ "หลักสูตรแจกกระดาษเปื้อนหมึก-ใบปริญญา"

 

ครับ

น่าเบื่อ และน่าเป็นห่วง "การศึกษาไทย" คร้บ

  • เข้ามาบอกว่า...จะเป็นจริงในไม่ช้านี้คะ...
  • เพราะพึ่งไปประชุมมา..โดนสำทับมาว่า no student ,no money คะ...สายศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์เริ่มอยู่ไม่ได้..ผันตัวเองไปจับตลาดบน..เปิดโท-เอก ภาคพิเศษคะ
  • ถูกบีบทุกด้านคะ..เริ่มตั้งแต่ตัดค่าวัสดุรายหัว..นี่ยังไม่มีตังค์ซ่อมคอมในห้องปฏิบัติการเลยคุณ
  • เขาบอกไม่ให้..หาลูกค้าให้ได้ก่อนสิ... อ้าว
  • ตอนนี้เขาประชุมวางแผนการตลาดแล้วคะ...
  • เปิดเทอมหน้าทุกสาขาต้องมีเวรออกไปกว้านหาลูกค้าทุกวัน...ทุ่มทุนไม่อั้นประโคมทุกสื่อ
  • จ่ายครบ..จบแน่..(แต่ไม่การันตรีนะคะว่าคุณจะตกงาน..หรือได้งาน..ฮา)แล้วค่อยมาถอนทุนทีหลัง...
  • มีน่าตกใจกว่านั้นอีกคุณ...ให้การบ้านอีกให้หาไอเดียเปิดวิชาเอกใหม่ๆ..คุณจะเห็นสาขาแปลกๆเป็นดอกเห็ด..ประเภทมีรุ่นเดียว..ที่เดียวในเมืองไทย...ลองดูชื่ออาจารย์พิเศษสิคะ..ขาประจำ...ชื่อซ้ำๆกัน...ทั้งประเทศเลย(อยากร้องให้คะ)
  • ...แถมกล้าเปิดโดยหลักสูตรยังไม่อนุมัติ จาก สกอ. อีก...นี่เด็กจะจบปีหน้าแล้วคุณ...หลักสูตรนี่มันอนุมัติย้อนหลังได้ด้วยหรือคุณ...งง
  • มหาวิทยาลัย หลายแห่งแปรสภาพจากตลาดวิชา..เป็นอย่างอื่นที่จ้องแต่ยอดขาย..และไม่รับผิดชอบต่อสินค้าที่ตัวเองผลิตด้วย
  • --------------------------------------
  • วิกฤติ...กว่าที่คุณนึกฝันอีกนะคะ...นโยบายยิ่งกว่าร้านสะดวกซื้อที่มีสาขา ทั่วประเทศอีกคะ
  • มีอะไรลึกๆที่เกินบอกเล่าได้บนบล็อกคะคุณ...อย่าถามนะคะว่าฉันอยู่ที่ไหน...

สวัสดีครับทุกท่าน

  • ขอบคุณทุกท่านมากๆ นะครับ
  • ได้แนวทาง ได้ข้อมูล มากๆ เลยครับ
  • มีอะไรให้เราคิด แล้วมองรอบๆ ด้านได้เยอะเลยนะครับ
  • คำตอบและข้อเสนอของหลายๆ ท่านมีประโยชน์ในการทำใหผมมีมุมมองดีๆ นะครับ
  • ขอบคุณมากครับ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท