แผนตุ๊กตา แผนพัฒนาการศึกษา แผนพัฒนาประเทศไทย


สวัสดีครับทุกท่าน

           สบายดีกันทุกคนไหมครับ ช่วงนี้ถกกันเรื่องการศึกษาบ่อยๆ นะครับ มีโอกาสลองคิดและวิจารณากันนะครับ ว่าการศึกษาสำคัญกับประเทศไทย อย่างไร แค่ไหน ผมคิดว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ ที่อยู่ในแผนหนึ่งในการพัฒนาชาติและประเทศ และได้มีโอกาสคิดถึงจาก คำว่าประเทศไทย มองลงมาแล้วไปหาว่า การศึกษาอยู่ตรงไหนในแผนพัฒนาประเทศ ผมได้มีโอกาสคุยกับพี่แสงเทียน (http://gotoknow.org/blog/sangtien/96697) และทีมงาน ได้ลองมาถกกันเรื่องการศึกษา แล้วได้ต่อยอดออกมาเป็นภาพดังต่อไปนี้ มองจากประเทศไทยลงมาเลยนะครับ

    สำหรับประเทศไทยเราตอนนี้ เรามีแผนเดียวคือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ใช่ไหมครับ ซึ่งรวมทุกอย่างเอาไว้ในนั้น โดยมีสภาพัฒน์ เป็นผู้กำหนดแนวทางเดินของประเทศไทย

   ผมเลยคิดว่า จะมีความเป็นไปได้ไหม ที่จะมีการแบ่งแยกในการพัฒนาให้ชัดเจนโดยมีสภาย่อยในแต่ละส่วนในการคิดวางแผนในนั้น ย่อยๆ ลงไป โดยไม่ต้องคิดทุกอย่างรวมๆ เป็นแผนเดียว

  จากตัวอย่างด้านบนสิ่งที่ผมมอง มีดังต่อไปนี้คือ

  1. ศาสนาควรจะมีการแยกออกไปเป็นส่วนหนึ่งที่ชัดเจน โดยมีแผนในการพัฒนาของตัวเอง เช่น แผนพัฒนาจิตใจแห่งชาติ แผนพัฒนาบุคลากรและศาสนสถาน และอื่นๆ โดยที่ศาสนาไม่ควรจะมาอยู่ภายใต้การปกครองของการเมือง โดยอาจจะมีการจัดสรรงบประมาณให้ไปเลยตามอัตราส่วนตามความจำเป็นต่อการพัฒนาไปเลยครับ

  2. กระจายแผนต่างๆ ออกมาให้ชัดเจนออกมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เดิมที่มี เป็น

    แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ

    แผนพัฒนาสังคมแห่งชาติ

    แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ

    แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

    แผนพัฒนาการเมืองแห่งชาติ

    และแผนอื่นๆ ที่จำเป็น

  3. สำหรับในส่วนการศึกษานั้น ก็จะได้มาวางแผนกันให้ชัดเจนไปเลยครับว่า มาเป็นแนวทางตาม แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1. กำหนดกันไปเลยว่า จะกี่ปี 5 ปี หรือว่ากี่ปีนะครับ ก็วางแผนไปครับ และแผนอื่นๆ ก็เช่นกันครับ

  4. เรื่องการจัดสรรงบประมาณ ก็จัดการจัดสรรตามอัตราส่วน แล้วให้แต่ละฝ่ายมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนส่งเสริมตามที่จำเป็นไปเลยครับ ซึ่งตรงนี้ก็คงต้องถกและพูดคุยกันต่อไปครับ

   ลองคิดกันดูเล่นๆ นะครับ เป็นเพียงตุ๊กตาเท่านั้นครับ........เอาไว้เป็นการบ้านนะครับ ร่วมถกกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ

ขอแสดงความนับถือทุกความคิดครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

หมายเลขบันทึก: 100642เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)
  • อยากเห็นแผนการพัฒนาการศึกษาที่เป็นรูปธรรม
  • มากกว่าที่จะเขียนไว้ในแผนอย่างเดียวแล้วไม่ปฎิบัติครับน้องบ่าว
  • ขอบคุณครับ

น่าสนใจมากครับ

การพัฒนาการศึกษาน่าจะเป็นประเด็นหลักในการพัฒนา  ทำให้ก่อเกิดความสมดุลย์ในภาคต่างๆ

ผมยังมีความรู้สึกว่า ทำไมความสนใจในการศึกษาได้รับความสนใจจากผู้มีอำนาจน้อยมาก

พวกเราลองไปพิจรณาดูครับ ทุกยุคทุกสมัย การพัฒนาการศึกษาจะไปอยู่อันดับท้ายๆ 

ขอบคุณครับ

  • ผู้มีอำนาจมาแล้วก็ไป
  • ประชาชนเป็นกระโถนรองรับทุกยุคอำนาจ
  • หนุนเก้าอี้ให้
  • ถวายชีวิตให้
  • แต่ฐาน อำนาจความคิด ความรู้ ไม่เคยสนใจให้
  • แม้แต่ฐานความรู้การดำรงค์ชีวิตอย่างสงบสุขยังไม่ให้
  • ถึงเวลาก็จะให้เทคะแนนให้
  • มาเขมือบแล้วก็ไป
  • ไปเตรียมตัวตั้งกลุ่มกันใหญ่ (ที่ปากเหม็นว่าเป็นพรรค)
  • จะมาโกยอีกแล้ว
  • โกยเสร็จก็ผลัดกัน
  • แล้วพวกเราอยู่กันอย่างไร
  • เราต้องอยู่ตลอด
  • เราไปไหนไม่ได้
  • ความรู้ก็ไม่มี
  • ความเข้าใจก็ไม่ชัด
  • อะไร อะไร ก็พัฒนาเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจของใคร
  • ของใคร ????????????
  • ไหนพูดชัดๆไปเลย

ฟิวส์ขาดแล้วครับ ท่าน

P

สวัสดีครับพี่บ่าว

  • สร้างฐานชุมชนเข้มแข็งครับ พ่นการศึกษาเข้าไปให้ชุมชนเข้มแข็ง ทำมาหากินเองได้ คิดได้ว่าอะไรถูกไม่ถูก ควรไม่ควร แล้ววันหนึ่งชุมชนจะประเมินผู้แทนของตัวเองได้ครับ
  • นี่คือการทำให้ระบบทำงานแบบต้องทำ มากกว่าแค่การบัญญัติครับ เพราะฐานคนรอบรู้และรู้ทันจ้องมองอยู่ครับ
  • ขอบคุณมากครับ

P

สวัสดีครับพี่แพนด้าผู้น่ารัก

  • เอาฟิวส์ใหม่มาเติมให้นะครับ เครื่องยังทำงานปกติแล้วนะครับ อิๆๆ
  • ใช่แล้วครับ การศึกษาล้วนสำคัญเป็นอันดับแรก หลังจากการทำให้คนมีกินในระดับพื้นฐาน เพราะการศึกษาจะวกกลับเข้าไปจุนเจือชุมชนให้เข้มแข็งมากขึ้นครับ
  • ทำให้ชุมชนเข้มแข็งด้วยการมีธรรม เป็นแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่เคยมีโครงการนี้ไปเลยครับ ลองฟื้นดูให้ทั่วประเทศครับ ว่าแผ่นดินธรรม แผ่นดินทองมีนโยบายอย่างไร แล้วทำเอาจริงเอาจัง ไปผสมกับแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการศึกษาเป็นเส้นใยสำคัญในการโยงทุกภาคส่วนในชุมชนและระหว่างชุมชนเข้าหากัน
  • ผมเชื่อว่าน่าจะเกิดพลังชุมชนเข้มแข็งได้ครับ ตราบได้ที่ชาวบ้านบอกว่า เราต้องการความรู้ การศึกษา คนที่จะเอาความรู้และการศึกษามาให้ชาวบ้าน ก็ต้องมีความรู้ด้วย นี่เป็นที่มาของการพัฒนาชาติแบบยั่งยืนและถาวร
  • เมืองไทยโชคดีที่มีการเกษตรเป็นรากแก้วแล้วฝังแน่นอยู่กับประชาชน เพราะแม้ว่าไม่สามารถจะผลิตเครื่องยนต์รถได้แต่คนก็ผลิตผู้สร้างอาหารแก่แผ่นดินได้ คนไทยเข้าใจสิ่งแวดล้อมดี เพียงแต่ว่าขาดการพ่นตัวความรู้การศึกษาเข้าไปให้เชื่อมต่อแค่นั้นเอง...
  • ปัญหาที่พี่ว่ามาผมว่ามันจะหายไปครับ
  • คุณธรรม การศึกษา  สังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ การเมือง และ อื่นๆ ก็ตามมาเองครับ
  • นั่นเป็นสาเหตุที่ผมบอกว่า การเมืองมีวาระ แต่การศึกษาต้องมีแผนพัฒนาที่ชัดเจน ผมจึงเสนอให้มีการแยกกันบริหารไงครับ... การศึกษาห้ามล้มเหลว....
  • ขอบคุณมากครับ

 

อาจารย์เม้งครับ

          ก่อนอื่นผมว่า เราต้องทำวิสัยทัศน์ ( วิชั่น ) ของประเทศไทยก่อนนะครับ

          จากนั้นทำ พันธกิจ ( มิชชั่น ) แล้วก็ เป้าประสงค์ ( โกล ) ทำวัตถุประสงค์ ( ออบเจ็คทีป )

          แต่ก่อนหน้านั้นเราก็ต้องวิเคราะห์ประเทศไทยโดยหลักการต่าง ๆ เช่น บาลานซ์สกอการ์ด ซิสเต็มแอนาไลซ์สีส ฯลฯ

           พวกนี้ล้วนเป็นขั้นตอนและ กระบวนการที่สอนผมอยู่ตลอดเวลาครับ

           ผมเคยถามผู้คนที่อยู่ในชุมชน ศรีษะอโศก เครือของ สันติอโสก  ผมถามเขาว่าที่นี่มีการวางแผนการพัฒนาและการรองรับการเติบโตของสังคมไว้หรือไม่ ตามประสานักวางแผนด้านสุขภาพ  แต่เขาบอกว่าไม่  เราไม่วางแผน เราไม่กังวลกับอนาคต  เราทำตามเหตุและผล    ทำเอาผมอึ้ง  อึ้ง ไปเลย

           อาจารย์ครับ    แต่ผมว่าเรากำหนดวิสัยทัศน์ก่อนก็ดีนะครับจะได้เห็นทิศทาง ภาพฝัน เข็มมุ่งของคนไทย  ไง ๆ เราต้องวางแผน ตามเหตุและผลนั้นก็เป็นอีกรูปแบบที่ต้องประมวลการใช้ในแผน

             ผมเคยกำหนดวิสัยทัศน์กันในหน่วยงาน โดยให้แต่ละคนหาคำหรือประโยคที่น่าจะใช้เป็นจุดมุ่งหมายขององค์กร หรือความตั้งใจขององค์กร คล้าย ๆ อุดมการณ์ขององค์กรเหมือนกัน

            สำหรับประเทศไทย ผมของคำนึงเป็น คีย์เวอร์ดสำหรับวิสัยทัศน์ประเทศ  

                 " วัฒนธรรมล้ำค่า"   ท่าน อื่น ๆ ช่วยหน่อยครับ    อาจารย์ว่าไงครับ

              ผมเป็นคนสำคัญ  เพราะมีคนร้องไห้แน่หากไม่มีผม

              ผมเป็นคนดัง   เพราะ มีคนเกิน หนึ่งร้อยคนที่รู้จักผม

              ผมเป็นคนรวย เพราะ ผมรู้สึกกินได้อิ่มเท่า ๆ กับทุกคน

               ผมเป็นคนบ้า  เพราะเริ่มมีคนว่าผมบ้า มากขึ้นเรื่อย ๆ   

                หะหะหะ   ล้อเล่นด้วยครับอาจารย์อย่าโกรธผมนะ

P

สวัสดีครับคุณมิตร

  • คุณทำเอาผมขำไปนานครับ ห้าๆๆๆ
  • คุณลองวางแนวทางมาดูครับ แล้วเราจะเอามาช่วยกันแต่งองค์ดูครับ อาจจะได้แนวทางในการนำไปพัฒนาชุมชนเข้มแข็งด้วยครับ
  • ผมขอลัดไปที่ คีย์ที่สำคัญเลยนะครับ
  •  " วัฒนธรรมล้ำค่า"   ท่าน อื่น ๆ ช่วยหน่อยครับ    อาจารย์ว่าไงครับ
  •  "คนดีมีคุณธรรมนำหน้า" + "การศึกษาตั้งมั่น"+"สุขสันต์ชุมชน"+ "คิดค้นภูมิคุ้มกัน" +......
  • "วัฒนธรรมล้ำค่า"   + "พึ่งพาเศรษฐกิจพอเพียง" + "รู้เที่ยงรู้บ่ายรู้สายรู้มืด" + .........
  • ลำดับเองใหม่นะครับ คุณมิตร ผมเริ่มเพ้อแล้วครับ......
  • ห้าๆๆๆ...ขำๆ มุกเลียนแบบครับ ในประวัติครับ
  • ผมไม่ใช่คนเก่ง หากอยากเก่งก็ต้องศึกษาตลอดเวลา
  • ผมไม่ใช่คนสำคัญ และไม่ต้องเป็นคนสำคัญ ก็ช่วยชาติได้เช่นกัน ไม่ว่าจะนั่งเก้าอี้กี่ขาก็ตาม
  • ผมไม่ใช่คนรวย และไม่อยากจะร่ำรวย เพราะรวยแล้วจะเป็นทุกข์
  • ผมไม่ใช่คนหล่อ เพราะว่าหล่อแล้วจะทำให้ผมลำบากใจ
  • ผมไม่ใช่คนดัง เพราะว่าถ้าดังแล้วจะถูกดัง (ถูกดังเป็นคำใต้)
  • ผมไม่ใช่คนบ้า เพราะถ้าบ้าแล้วก็คงบ้ารักเธอ...(จ๊ากกกกกก)
  • เผ่นก่อนนะครับ ก่อนจะเจอรองเท้า.....

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

เข้ามายิ้มๆกับแผนพัฒนาชาติไทย..และตั้งคำถามค่ะ ( ขอความกระจ่าง )

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เคยทำๆกันมา ( จนจะเข้าไปแผน ฯ 10 แล้วเนี่ย ) ขาดอะไร ? มีสิ่งใดที่ไม่ครอบคลุม ?

แผนพัฒนาเศรษฐิกจและสังคมแห่งชาติเค้าใช้เวลา 5 ปี / แผน..แล้วแผนพัฒนาชาติไทยล่ะคะ จะใช้เวลาเท่าไหร่ / 1 แผน ?..

.............................................................

แผนหนึ่งปี ไม่มีอะไรดีกว่าปลูกธัญพืช..

แผนสิบปี  ไม่มีอะไรดีไปกว่าปลูกต้นไม้ผล

แผนตลอดชีวิต   ไม่มีอะไรดีไปกว่าการสร้างคน

เพราะ...

ปลูกหนึ่งครั้งเก็บเกี่ยวได้หนึ่งครั้งคือธัญพืช...

ปลูกหนึ่งครั้งเก็บเกี่ยวได้สิบครั้งคือต้นไม้ผล ..

และ ปลูกหนึ่งครั้งได้ประโยชน์เกินร้อยครั้งคือ " สร้างคน "...

.............................................................................

การศึกษาจะให้เห็นผลทันตาเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าคงไม่ได้  เพราะการศึกษาเป็นการฝึกฝน เพื่อพัฒนาตนเองต้องใช้ระยะเวลาอันยาวนาน...ประเทศที่เจริญแล้วทั้งหลายจึงล้วนให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อสร้างคนด้วยกันทั้งนั้น...แต่เท่าที่ดู " ไทย " ยังไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่  อย่างนี้จะถือว่าเรา " เจริญ " แล้วหรือยังคะ ? 

เข้ามาปั่นเม้นต์ค่ะ ( แหย่เล่าฮูให้ฟิวส์ขาดใหม่ด้วย ^ ^ )

P

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • สบายดีไหมครับ ขอบคุณมากๆ เลยครับ
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทั้งสิบฉบับครับ เอามาฝากทุกท่านเลยครับ เปิดดูได้คร่าวๆ ครับ แล้วค้นหาคำว่า การพัฒนาการศึกษา http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=139
  • แต่แผนก็คือแผนครับ...มีแผนที่ดีก็ต้องวางแนวทางการปฏิบัติให้ดี แต่หากแผนมีปัญหา...อย่างอื่นที่จะตามมาในเรื่องของการปฏิบัติ ไม่แน่ใจว่าจะออกมาอย่างไรครับ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เคยทำๆกันมา ( จนจะเข้าไปแผน ฯ 10 แล้วเนี่ย ) ขาดอะไร ? มีสิ่งใดที่ไม่ครอบคลุม ?

  • ผมว่าขาดเรื่องการศึกษานี่หล่ะครับ เพราะมาถึงตอนนี้เราก็ยังมีปัญหา...กันอยู่หรือเปล่าครับ
  • แล้วแผนที่จะเอาจริงเอาจังและต่อเนื่องแล้วดูความต่อเนื่องและการรับลูกของแต่ละแผนซิครับ ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา
  • ไม่ใช่จะว่าคนคิดแผนนะครับ แต่การทำงานต้องทั้งระบบ แนวทางในการปฏิบัติก็ต้องเดินไปได้ด้วยและเข้าถึงหัวใจของแผน สรุปว่า คนฝันและคนแก้ความฝัน ต้องทำงานร่วมกันครับ

แผนพัฒนาเศรษฐิกจและสังคมแห่งชาติเค้าใช้เวลา 5 ปี / แผน..แล้วแผนพัฒนาชาติไทยล่ะคะ จะใช้เวลาเท่าไหร่ / 1 แผน ?..

  • สำหรับข้อนี้ คุณเบิร์ดตอบผมไว้แล้วครับ

.............................................................

แผนหนึ่งปี ไม่มีอะไรดีกว่าปลูกธัญพืช..

แผนสิบปี  ไม่มีอะไรดีไปกว่าปลูกต้นไม้ผล

แผนตลอดชีวิต   ไม่มีอะไรดีไปกว่าการสร้างคน

เพราะ...

ปลูกหนึ่งครั้งเก็บเกี่ยวได้หนึ่งครั้งคือธัญพืช...

ปลูกหนึ่งครั้งเก็บเกี่ยวได้สิบครั้งคือต้นไม้ผล ..

และ ปลูกหนึ่งครั้งได้ประโยชน์เกินร้อยครั้งคือ " สร้างคน "...

.............................................................................

  • จากคำตอบที่คุณเบิร์ดชี้ไว้ ผมว่าทุกคนตอบไว้ว่าจะใช้เวลากี่ปีครับ
  • แต่ละคนเกิดมาก็ต้องมีแผนพัฒนาสมองของตัวเองด้วยครับ....แผนนี้เป็นแผนชีวิต ตลอดชีวิต... หินที่กลิ้งบ่อยๆ เค้าบอกว่า มักจะไร้มอสเกาะ ผมไม่อยากให้การศึกษาไทยต้องกลิ้งไปมา มากเกินไป หากมอสที่จะมาเกาะคือตะกอนทองสำหรับการศึกษา
  • คุณเบิร์ดครับ มาช่วยแหย่ท่านเล่าฮูต่อครับ เพราะว่ารู้สึกว่าจะมีก๊อกสองครับ
  • ขอบคุณมากครับ
สวัสดีครับท่านๆ

มาฟิวส์เม้นต์ครับ

อารมณ์เสียจะต้องเป็นพักๆ ไปใช้บ่อยๆเดี๋ยวไม่ขลังตามหลักวิชาการจิตวิทยา

สภาพัฒน์ วางแผนพัฒนาไม่ใช่ไม่ได้ผล  ที่ไม่ได้ผลคือกลไกที่นำไปซึ่งการปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผล

กลไกที่ว่านี้ คือฝ่ายบริหาร คือรัฐบาล  และก็คือ นักการเมือง

เส้นทางที่นักการเมืองเข้าสู่การบริหาร เพื่อที่จะปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลตามแผนพัฒนาฯ

ฐานความรู้ ปัญญา การรับรู้ รวม วิธีคิด ของนักการเมือง   เป็นไง

ถึงตอนนี้เราก็จะพอรู้ว่าทำไม ทำไม

  • แผน หนึ่งปี  เร็วไป
  • แผน ห้าปี  นานไป
  • แผน สิบปี ทำไปทำไม       

 

ขออีกที

  • เรามามองในมุมที่น่าจะทำได้ และเป็นจริง
  • มีสภาองค์กรณ์ชุมชน แล้ววางแผนพัฒนาภายในชุมชน
  • มีหน้าที่ประชุมสภาฯของภายในชุมชน
  • เพื่อที่จะรวบรวมปัญหา และทิศทางการพัฒนาเป็นแนวทางให้ส่วนบริหารในชุมชนนำไปปฏิบัติให้เป็นจริง
  • โดยที่สภาชุมชนไม่มีอำนาจสั่งการ

อย่างนี้ดีไหม  ถ้าไม่ดีเพราะอะไร 

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีค่ะเล่าฮู

  • มีสภาองค์กรชุมชน แล้ววางแผนพัฒนาภายในชุมชน
  • มีหน้าที่ประชุมสภาฯของภายในชุมชน
  • เพื่อที่จะรวบรวมปัญหา และทิศทางการพัฒนาเป็นแนวทางให้ส่วนบริหารในชุมชนนำไปปฏิบัติให้เป็นจริง
  • โดยที่สภาชุมชนไม่มีอำนาจสั่งการ
  • แล้วใครมีอำนาจสั่งการล่ะคะ ?..เท่าเห็นก็ดูจะ " สั่งการ " ไม่เป็นกันทั้งนั้น  เอ ! หรือเป็นแต่ไม่สามารถสั่งการที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติได้

    เอาอีกค่ะเล่าฮู

    P
    P

    สวัสดีครับคุณเบิร์ดและคุณพี่เหลี่ยง

    • ว่าไปแล้วเรื่องสั่ง อำนาจสั่ง และการทำเนี่ย...น่าสนใจครับ ว่าปัญหาเกิดจากอะไร
    • ผมชอบการสั่งด้วยการกระทำมากกว่าครับ คือ ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง คนศรัทธา ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานศรัทธา ก็มาช่วยกันทำ คือแต่ละคนรู้หน้าที่ตัวเองอยู่แล้วครับ
    • ชี้นิ้วตัวเองใครก็ชี้ได้ ง่ายนิดเดียวใช่ไหมครับ แต่ใครกล้าจะชี้นิ้วให้ตัวเองทำบ้าง
    • งานในระดับชุมชน ต้องชี้นิ้วให้ตัวเองทำผมว่างานถึงจะเกิด จริงๆ ก็ระดับอื่นด้วยครับ
    • ตอนช่วงที่ที่บ้านผมมีปัญหาความเดือดร้อนเรื่องฝุ่นจากโรงโม่หิน มีเจ้าหน้าที่ในระดับอำเภอเข้าไปเยี่ยมตรวจสภาพความเดือดร้อน แม่ผมพาท่านๆ เหล่านั้นไปเดินในสวนยาง กางเกงสกปรกหมดเลย อิๆ ต้องเชิญท่านๆ มาจับฝาหม้อข้าว ว่ามีฝุ่นเกาะอยู่เท่าไหร่ แล้วที่เราหายใจเข้าไปหล่ะมันเท่าไหร่
    • ถามว่าใครจะมาเป็นกระบอกเสียงให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อน หากเราไม่เดินเรื่องเอง....
    • เราจะสร้างชุมชนอย่างไรให้คนที่จริงใจอยากจะช่วยเหลือคนในชุมชนออกมาทำงานเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง แล้วได้พลังจากชาวบ้านเป็นแนวร่วมในทางที่ดี เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง
    • เราไม่ได้เลือกนักการเมืองเพื่อเอาไว้กราบไหว้นะครับ แต่เราเลือกเค้าไปทำงานแทนเรา เป็นปากเป็นเสียงเรา ไม่ใช่จะมีโอกาสพูดกับตัวแทนของเรา เราต้องประท้วงล่ารายชื่อ แบบนี้ก็ไม่ไหวครับ
    • จริงๆ แล้วควรจะให้สิทธิ์คนในชุมชน มีสิทธิ์ปลดตัวแทนของตัวเองได้ด้วย แต่คนที่เสนอตัวเองเข้าไปช่วยไม่มีสิทธิ์ปลดตัวเอง...เพราะคุณต้องคิดดีแล้วว่าคุณต้องเข้าไปรับใช้สังคม ไม่ใช่ไม่พอใจอะไรจะอ้างลาออก รับผิดชอบ การรับผิดชอบ ไม่ใช่ต้องลาออก แต่คุณต้องทำให้เต็มที่.... หากจะลาออกก็ได้แต่ต้องจำคุกหรือได้รับโทษ หรือต้องจ่ายภาษีคืนกลับให้กับประชาชนที่คุณไม่ได้ทำงานให้กับเค้าแทน... แบบนี้ มีใครกล้าจะลาออกไหมครับ อิๆๆ
    • ว่าแต่ว่า ผมมาปล่อยฟิวส์ เองแล้ว ฮ๋าๆๆๆ
    • ขอชาเย็นๆ ซักจอก ครับ
    P

    พี่เหลียงเคยจับปลาไหลใช่ไหมครับ

    หากพี่จะจับปลาไหล โดยพรุ่งนี้เราวางแผนจะไปจับปลาไหล เราต้องวางแผนอย่างไรครับ

    แล้วหากเจอปลาไหล เราจะจับตรงไหนของปลาไหลครับ ถึงจะจับได้

    หากจับผิด เราก็เหนื่อย

    หากจับถูกจุด เราก็สบายครับ

    อยู่ที่ว่าเราจะจับที่เหตุหรือปลายเหตุของปัญหา

    ผมแตกปลายต้องบำรุงตรงไหนครับ หากต้องไปเล็มปลายผม เราต้องเล็มกันกีปีครับ....

    ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีค่ะคุณเม้งและเล่าฮู

    เสริฟน้ำเย็นๆให้ก่อนค่ะ...เอาน้ำชากุหลาบเย็นๆกับชิฟฟอนเค้กส้มนะคะ

    เรามาดูกัน...เบิร์ดมองว่าแผน ฯ คือแนวทางการปฏิบัติ ไม่ใช่ " ผล " ของการปฏิบัติ..โดยเฉพาะแผนฯที่เป็นภาพรวมของประเทศจะเป็นแผนกว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเท่านั้น...ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีแผนย่อยๆรองรับลงไปเพื่อเข้าสู่การขับเคลื่อนที่แท้จริง มีหน่วยงานไหนบ้างที่ทำวิสัยทัศน์ และมีแผน ฯ รองรับอย่างชัดเจน ?...ขนาด ก.ศึกษา ฯ วิสัยทัศน์กระทรวงคืออะไรคะ ? และมีแผน ฯ ในการปฏิบัติแค่ไหน ? รวมทั้งสำนักเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆทั่วประเทศมีแผนปฏิบัติอย่างไร ?...ลงไปถึง รร.ในพื้นที่เลย...

    ซึ่งหน่วยงานหรือคนที่จะทำแผนย่อยๆเหล่านี้ต้องลงรายละเอียดเพื่อที่จะสามารถวัดผลได้ ยิ่งองค์กรเล็กเท่าไหร่แผนปฏิบัติต้องชัดและสามารถปฏิบัติได้...มีใครทำแผนแม่บทชุมชนบ้าง ?...มีแต่แผนสำเร็จรูปที่ได้จากอำเภอ ก็อปไฟล์กันมาแล้วสิ่งไหนคือความต้องการของประชาชน ?

    ที่เล่าฮูบอกว่า " สภาองค์กรชุมชน " ..เบิร์ดขอคำอธิบายค่ะว่ามีสิ่งใดแตกต่างจากประชาคมหมู่บ้าน ? และถ้าไม่มีอำนาจใดๆตั้งขึ้นมาทำไม ? ถ้าเพื่อรวบรวมความเห็นแล้วส่งต่อใช้ไปรษณีย์ก็ได้มั้งคะ ไม่เห็นต้องมีสภาเลย...อรรถาธิบายหน่อยค่ะเล่าฮู ^ ^

    สวัสดีดี๋ดี

    ท่านผู้รู้ ท่านผู้แก่กล้า ท่านผู้มีวิสัยทัศน์ ท่านผู้มีความรัก ท่านผู้มีจิตศรัทธา และท่าน........................จิตวิทยา

    บางครั้งคนเรามองปัญหา การแก้ปัญหา จะใช้มาตรฐานเดียวกันไม่ได้ แม้แต่การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องคล้ายๆกันก็ยังไม่ได้

    ปัญหาชุมชน การแก้ปัญหาชุมชน การยกระดับการรับรู้ของชุมชน วันเวลาผ่านไป ปัญหาก็เปลี่ยนไป

    จำได้ไหมว่า ที่คุณพูดถึงประชาคมหมู่บ้าน ลองย้อนหลังถึง เมื่อตะก่อน ไม่มี อบต. อบจ. ปัญหาชุมชนเป็นอย่างไร

    วันเวลาเปลี่ยนไป การเคลื่อนไหวทางสังคมเปลี่ยนไป การค่อยเป็นค่อยไป ในชุมชนได้แปรเปลี่ยนสู่การเมืองที่ซับซ้อนขึ้น  การได้มาของ อบต. อบจ. กับอำนาจการปกครอง การใช้งบประมาณ การรักษาผลประโยชน์ถูกโยกย้ายถ่ายเท  จากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง การมองปัญหาก็ได้เปลี่ยนแปลงไป  การใช้ผลประโยชน์ในชุมชน จากเป็นลักษณะของประชาคมได้แปรเปลี่ยนสู่อำนาจของการปกครอง

    การพัฒนาต่างๆของสังคมเมืองกับสังคมชนบท ได้เชื่อมโยงกัน  การพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจชุมชนกำลังไปสู่เศรษฐกิจทุน

    อำนาจชี้เป็นชี้ตายกำลังเข้าสู่ระบบ

    สภาชุมชน ทำไมน่าจะช่วยได้

    บางครั้งเหมือนกับว่าไม่มีอำนาจ ก็ไม่น่าเป็นไปได้ในการนี้

    การไปสู่อำนาจของ อบต.อบจ. เป็นยังไง

    การเข้าร่วม สภาชุมชน เป็นอย่างไร

    เส้นทางเดิน จุดมุ่งหมายต่างกัน  เป้าหมายต่างกัน

    ปราชญ์ชาวบ้านพอใจในสภาชุมชน

    ปราชญ์ชาวบ้านไม่ต้องการแหล่งอำนาจ เส้นทางอำนาจ ไม่ต้องการการเลือกตั้งสู่กองผลประโยชน์

    การวางนโยบายความต้องการในชุมชน เป็นสภาพัฒน์น้อยๆ  พร้อมกับ วางแนวการพัฒนาชุมชนอย่างมีแบบแผน ความต้องการ 1 , 2, 3, 4   ไม่มีอำนาจสั่งการแต่มีอำนาจตรวจสอบ

    ไม่ต้องการสร้างแต่ถนน  สร้างที่ทำการหรูๆ ติดแอร์เยอะๆ แต่ต้องการสร้างโรงเรียน ต้องการสร้างห้องสมุด

    ผลที่ตามมา การเลือกตั้งครั้งต่อๆไปมีผลแน่นนอน

    การมีสภาชุมชนอย่างมีกฏหมายรองรับ ถึงแม้จะไม่ได้ผลเด่นชัดแต่มีผลต่อการพัฒนาการรับรู้ ปัญญาให้แก่ชุมชน  ติดอาวุธทางปัญญา 

    กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆทาง การเมืองก่อป้ญหามากมาย  แต่การพัฒนาการทางการเมืองภาคประชาชน และชุมชนจะต้องพัฒนาไป  ไม่ใช่อันไหนดีหรือไม่ดีกว่ากัน แต่พัฒนาการการรับรู้และกระบวนการแก้ปัญหาจะต้องตามให้ทัน

    ขอบคุ๊ณ ขอบคุณ  ข้าผู้น้อยมิบังอาจ

    ดื่มน้ำชาสักจอกเป็นไง ..............น้อรก.................

     

    P

    สวัสดีค่ะเล่าฮูแพนด้า

    เอาน้ำชามาคารวะ แถมกอดอีกที..เพราะจะถามต่อค่ะ

    เบิร์ดชอบคำว่า " อำนาจตรวจสอบของสภาประชาชน "..

    ตามร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังเสนอกันอยู่ในขณะนี้  สภาประชาชนมีเงินเดือนให้มั้ยคะ  ถ้ามีเงินเดือนมาจากไหน ? และจำนวนสมาชิกเท่าไหร่ ? เลือกอย่างไร ? แล้วชนกลุ่มน้อยล่ะคะจะมีสภานี้ได้มั้ย ?

    ขยายความอีกค่ะเล่าฮู..

     

     

    ไว้ติดตามตอนต่อไป

    น้อรก  ............................ชื่นใจ......................

    ไม่ได้เข้ามาบันทึกนี้นานแล้ว แหมออกรส ๆ

             ผมเห็นด้วยกับ สภาองค์กรชุมชน หรือถ้า อ.ประเวศเสนอว่าให้เป็น สภาผู้นำชุมชน ก็คงชัดเจนขึ้นไปอีก  เพราะไม่ต้องตีความว่าองค์กร คำว่าผู้นำชัดเจนกว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำทางการแต่งตั้ง เลือกตั้ง แต่ผู้นำทางธรรมชาติ หรือผู้ที่ประชาชนทัวไปให้ความเคารพเช่น ไวยาวัจกรในวัดก็น่าจะใช่

             การเมืองภาคประชาชนอย่างไรเสียก็ต้องเกิด เพื่อ

              1. สร้างระบบอำนาจที่สมดุลให้ได้ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ  เห็นมั้ยครับมันสามเศร้า  มันเศร้าครับ  ระบบการปกครองประชาธิปไตยพวกนักเลือกตั้งอ้างว่าเป็นอำนาจตัวแทนคือการเลือกตั้ง แต่ปัญหาคือการผูกขาดตามมา ยิ่งในสังคมที่ระบบตรวจสอบอ่อนแอด้วยแล้ว ก็เป็นใบ้ เป็นง่อยกันไปหมด  คราวนี้เราจะไปหาช่องทางไหนที่จะดูแลผลประโยชน์เรา ประเทศเรานอกจาก สส.ไม่กี่คนนั่น

               มีสภาที่มาจากภาคประชาชน แม้ไม่ใช่อำนาจในระบบโดยตรง  หรอกครับเพราะโดนตัดข้อความที่เป็นอำนาจของสภานี้ออกหมดแล้ว  แต่อำนาจความคิดเห็น กับอำนาจความถูกต้อง ( เชื่อว่าในสภาที่ไร้ผลประโยชน์คงมีคนเสียสละซะส่วนใหญ่ ) ของประชาชน ก็จะช่วยให้สังคมมีทางออกได้ครับ

               2. สร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบก้าวกระโดดและเป็นรูปธรรม  ตรงนี้ผมว่าก็ดีกว่าการไปสังกัดพรรคการเมืองได้บัตรมา แล้วก็ได้ค่าจ้างเวลาต้องการมวลชนจัดตั้ง

               3. สร้างเครือข่ายความรู้ทางการเมืองการปกครองและความรู้เรื่องอื่นๆ ด้วย รวมทั้งการศึกษา วัฒนธรรม  เพราะว่าเนื้อหาเรื่องราวในสภานี้ถกกันได้ครอบคลุมทั้งหมดครับ  แม้ว่าข้อสรุปจะไปบังคับสั่งการอะไรได้ แต่ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนจะถ่ายทอดออกมาได้

                ปัจจุบันแม้มีประชาคมหมู่บ้านแต่ก็ถูกเคลื่อนโดยระบบราชการสุดท้ายกลายเป็นเครื่องมือซักฟอกผู้บริหารให้ตัวเองสะอาด เป็นข้ออ้างความชอบธรรมโดยมีลายเซนต์กับบันทึกการประชุม  ประชาชนในประชาคมไม่กล้าพูดเสียงดังมากเต็มที่นักครับเพราะไม่มีเอกสิทธิคุ้มครองใด ๆ

                4. เป็นการจัดการเครือข่ายภาคประชาชนต่าง ๆ ครับ เพราะทุกวันนี้มั่วมากๆ ครับ นั่นก็องค์กรนี่ก็องค์กร  ถูกกฎหมายบ้างไม่ถูกบ้างนึกตั้งกันเอาเองก็มี

                 ต่อไปองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ จะมีระบบการตรวจสอบกันเองและเปิดเผยมากขึ้น

    P
    สิทธิรักษ์
    เมื่อ จ. 11 มิ.ย. 2550 @ 14:21 จาก 222.123.212.77 ลบ [289191]
    Pviolet
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    ร่าง พรบ. สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น

                เกี่ยวเนื่องมาจาก blog ของคุณภีม ที่ได้เกริ่นนำในเรื่องนี้ไปแล้ว จึงขอนำเสนอในส่วนของเนื้อหาของ พรบ. นี้กันเลยนะคะ  เนื้อหาของ พรบ.ฉบับนี้ได้แบ่งหมวดไว้ 4 หมวด คือ หมวด 1 สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบล  หมวด 2 สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นจังหวัด  หมวด 3 สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ  หมวด 4 สำนักงานสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ ขอนำเสนอเนื้อหาสาระของ ร่าง พรบ. เป็นหมวด ทั้ง 4 หมวด แบ่งเป็นตอนทั้งหมด 4 ตอน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในเนื้อหาสาระ(ที่ค่อนข้างเป็นวิชาการ) ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านได้ทั้ง 4 ตอนคะ            

                     วันนี้มาเริ่มตอนแรกกันเลย  คือ หมวด 1 ว่าด้วยเรื่อง สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบล ประกอบไปด้วยมาตรา ๕ ถึง มาตรา ๒๐ เนื้อหาใจความหลัก กำหนดให้ในตำบลหนึ่ง มีสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น 1 สภา ต้องมีผู้เข้าร่วมจากหมู่บ้านในตำบล อย่างน้อยร้อยละ 60 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดในตำบล สมาชิกของสภาฯ ประกอบด้วย

             1.      สมาชิก ซึ่งเป็นผู้แทนขององค์กรหมู่บ้าน ชุมชน ในตำบล ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกสมาชิก และได้มาโดยการเลือกกันเองของที่ประชุมสมาชิก / ตามจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี / ตามวิถีของชุมชนหรือหมู่บ้านที่มีอยู่เดิม ให้มีจำนวนตามที่ชุมชนท้องถิ่นเห็นว่าเหมาะสม แต่ไม่เกิน 100 คน

               2.      สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ให้สมาชิกตาม (1) ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้ง ให้มีจำนวนตามที่สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นเห็นเหมาะสม แต่ไม่เกิน 1 ใน 5 ของสมาชิกในข้อ (1) ทั้งนี้การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ  ต้องพิจารณามาจากบุคคลซึ่งเป็นข้าราชการ ปราชญ์ชาวบ้าน พระภิกษุ  ผู้นำทางศาสนา หรือบุคคลที่เป็นที่เคารพของชุมชน

                 วาระ: กำหนดให้สมาชิกอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกสมาชิก เมื่อตำแหน่งสมาชิกว่างลง จากการครบวาระ ให้สรรหาสมาชิกใหม่ภายใน 45 วัน หากว่างจากเหตุอื่น ให้สรรหาภายใน 60 วัน

                อำนาจหน้าที่: ให้สภาฯ มีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 2 คน โดยเลือกจากสมาชิกในคราวที่ประชุมสภาฯ ครั้งแรก โดยอำนาจหน้าที่ของประธานสภา มี 6 ประการ คือ เรียกประชุมสภาฯ และดำเนินการประชุม, ควบคุมและดำเนินกิจการของสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของสภาฯ , ออกคำสั่งเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในการประชุม , เป็นผู้แทนสภาในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก , แต่งตั้งเลขานุการสภาโดยความเห็นชอบของสมาชิก และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้  สำหรับอำนาจหน้าที่ของรองประธานสภา คือ ช่วยประธานสภาในกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย  ส่วนอำนาจหน้าที่ของเลขานุการ คือ รับผิดชอบงานธุรการ  จัดการประชุมและงานอื่นใดตามที่สภามอบหมาย

                   ทางด้านอำนาจหน้าที่ของ สภาฯ ประกอบด้วย 10 ประการ คือ 1) จัดทำแผนแม่บทชุมชนในเขตพื้นที่ตำบล 2) ให้คำปรึกษา แนะนำ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติ 3) จัดประชุมสมัชชาชุมชนท้องถิ่นตำบล เพื่อพิจารณายับยั้ง ยกเลิก แผนงาน โครงการ กิจกรรม หรือการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลกระทบเสียหาย หรือพิจารณาเรื่องอื่นที่สภาเห็นสมควร 4) พัฒนาองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง รวมถึงรับรองหรือยกเลิกสถานภาพองค์กรชุมชนท้องถิ่นในตำบล 5) ประสานและร่วมมือกับสภาฯตำบลอื่น สภาฯจังหวัด และสภาฯแห่งชาติ 6) วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาฯตำบล 7) ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นตำบลนั้น 8) จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ ตำบล รวมถึงสถานการณ์ชุมชนท้องถิ่นตำบลด้านต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบ 9) เสนอรายชื่อสมาชิกสภาฯ ตำบล ให้เป็นสมาชิกสภาฯ จังหวัด จำนวนไม่เกิน 2 คน 10) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตาที่สภาฯแห่งชาติ และสภาฯ จังหวัดมอบหมาย ทั้งนี้สภาฯตำบล อาจมีหนังสือเชิญส่วนราชการ / หน่วยงานของรัฐ / รัฐวิสาหกิจ / ราชการส่วนท้องถิ่น / องค์กรอื่นของรัฐ มาร่วมแสดงความคิดเห็น หรือให้เอกสารได้ตามที่เห็นควร

                    การประชุม: สภาฯ ต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง และประชุมในกรณีที่สมาชิกเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ร้องขอให้เปิดการประชุม การประชุมต้องมีสมาชิกเข้าร่วมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด  การลงมติให้ถือเสียงข้างมาก  สมาชิกสภาตำบลคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน หากมีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียง เป็นเสียงชี้ขาด

                  สุดท้ายในเนื้อหาสาระของหมวด 1 กล่าวถึง  คณะกรรมการสภา ให้สภาฯตำบลเลือกกันเอง ตามจำนวนที่เหมาะสม ไม่เกิน 25 คน และให้คณะกรรมการสภา เลือกกันเอง เป็นประธานคณะกรรมการสภา รองประธานคณะกรรมการสภา และกรรมการเลขานุการ คณะกรรมการสภา ต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อที่ประชุมสภาฯในคราวที่มีการประชุมทุกครั้ง และให้มีการประชุมคณะกรรมการสภาอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง http://gotoknow.org/blog/rviolet/101814

     หมวด 2  ว่าด้วยเรื่อง สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นจังหวัด ประกอบไปด้วย มาตรา  21 ถึง มาตรา 25 เนื้อหาสาระกล่าวถึง

                  การจัดตั้งสภาฯ จังหวัด  ได้นั้น  มีหลักเกณฑ์ คือ จังหวัดนั้นต้องมีการจัดตั้งสภาฯ ตำบล ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนตำบลที่มีอยู่ในจังหวัด  จังหวัดหนึ่งให้มีสภาฯ จังหวัดได้ 1 คณะ และในสภาฯ จังหวัด ประกอบด้วย

                 1)      สมาชิก ได้รับการเสนอชื่อมาจากสภาฯ ตำบล ตำบลละไม่เกิน 2 คน

                2)      สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มาโดยสมาชิกตาม 1) ดำเนินการสรรหาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสภา จำนวนไม่เกิน 1 ใน 5 ของสมาชิกตาม 1) ทั้งหมด โดยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาสมาชิกให้เป็นไปตามระเบียบที่สภาฯ จังหวัดกำหนด โดยความเห็นชอบของสภาฯ แห่งชาติ

                 การประชุม สภาฯ จังหวัดต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง

                 อำนาจหน้าที่ของสภาฯ จังหวัด ประกอบด้วย 9 ประการ ดังนี้ 1) จัดทำแผนแม่บทชุมชนระดับจังหวัด เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการระดับจังหวัดนำไปทำแผนปฏิบัติการ 2) ให้คำปรึกษา แนะนำ แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด  ผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการระดับจังหวัดในการจัดทำแผนปฏิบัติการ 3) จัดประชุมสมัชชาชุมชนจังหวัดเพื่อพิจารณา ยับยั้ง ยกเลิกแผนงานโครงการ กิจกรรม หรือการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลกระทบ เสียหายแก่ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดมากกว่าหนึ่งตำบล หรือพิจารณาเรื่องอื่นใดที่สภาเห็นสมควร 4) ประสานและร่วมมือกับสภาฯ ตำบล สภาฯ จังหวัดอื่น และสภาฯ แห่งชาติ 5) วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาฯ จังหวัด 6) ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นจังหวัดนั้น 7) จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ จังหวด รวมถึงสถานการณ์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดด้านต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบ 8) เสนอรายชื่อสมาชิกเพื่อเป็นสมาชิกสภาฯ แห่งชาติจังหวัดละ 2 คน 9) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตาม พรบ. นี้

                    การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของ ประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการสภา การประชุมสภาฯ จังหวัด การเลือก และการดำเนินงานของคณะกรรมการสภาฯ จังหวัด ที่มิได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ให้นำบทบัญญัติในหมวด ๑ มาบังคับโดยอนุโลม http://gotoknow.org/blog/rviolet/102401

      หมวด 3 สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ ประกอบด้วย มาตรา ๒๖ ถึง มาตรา ๓๐ กล่าวถึงเรื่อง

                   การจัดตั้งสภาฯ แห่งชาติ เมื่อจัดตั้งสภาฯ จังหวัดไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนจังหวัดที่มีอยู่ ให้จัดตั้งสภาฯ แห่งชาติได้ และให้มีสภาฯ แห่งชาติ ได้ 1 คณะ ประกอบด้วย

                          1)      สมาชิก ได้รับการเสนอชื่อจากสภาฯ จังหวัด จังหวัดละ 2 คน

                         2)      สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มาโดยสมาชิกตาม 1) ดำเนินการสรร จำนวนไม่เกิน 1 ใน 5 ของสมาชิกตาม 1) ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาให้เป็นไปตามระเบียบที่สภาฯ แห่งชาติกำหนด

                   การประชุม สภาฯ แห่งชาติต้องจัดประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

                  อำนาจหน้าที่ของสภาฯ แห่งชาติ ประกอบด้วย 11 ประการ คือ 1) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้ง และพัฒนาสภาฯ 2) จัดทำแผนแม่บทชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ 3) ให้คำปรึกษา เสนอแนะ คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ในการบริหารราชการแผ่นดิน 4) จัดประชุมสมัชชาชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ เพื่อกำหนดแนวนโยบายของสภาฯ แห่งชาติ 5) ประสานและร่มมือกบสภาฯ ตำบล และจังหวัด 6) วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาฯ แห่งชาติ หรือตามที่ พรบ.นี้กำหนด 7 ) วางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติงานของสำนักงานสภาฯ แห่งชาติ 8) วางระเบียบเกี่ยวกับการเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานสภาฯแห่งชาติ 9) วางระเบียบการพิจารณาอนุมัติจ่ายเงิน เพื่อสนับสนุนสภาองค์กรชมชนท้องถิ่น 10) ติดตามผลการดำเนินงานของส่วนราชการ องค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ 11 ) จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ แห่งชาติ รวมถึง สถานการณ์ชุมชนท้องถิ่นด้านต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ

                  การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ ของประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการสภา การประชุมสภาฯแห่งชาติ การเลือก และการดำเนินงานของคณะกรรมการสภาฯ แห่งชาติ ที่มิได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ให้นำบทบัญญัติในหมวด 1 มาบังคับใช้โดยอนุโลม            http://gotoknow.org/blog/rviolet/102425

     หมวด ๔  สำนักงานสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ ประกอบด้วยมาตรา ๓๑ ถึง มาตรา ๔๑ มีสำระสำคัญ ดังนี้สำนักงานฯ ถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ และกิจการของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์

              อำนาจหน้าที่ของสำนักงานฯ 1) ปฏิบัติงานธุรการของสภาฯ แห่งชาติ 2) ประสานและดำเนินการให้มีการจัดตั้งสภาฯท้องถิ่นระดับต่าง ๆ รวมทั้งเผยแพร่ กิจการของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น 3) รวบรวมข้อมูล ศึกษาวิจัย/พัฒนาเกี่ยวกับงานของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น 4) ประสานและร่วมมือกับราชการส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชนและภาคประชาคม ในการดำเนินการตาม พรบ. 5) จัดทำงบประมาณเสนอเพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเกี่ยวกับภารกิจของสภาฯ แห่งชาติ จังหวัด และตำบล

                ทุนและเงินทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของสำนักงาน ได้มาจาก 1) เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม 2) เงินอดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี 3) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งรัฐต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ และเงิน/ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ 4) ค่าธรรมเนียม บำรุง ตอบแทน บริการหรือรายได้จากการดำเนินการ 5) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน 6) รายได้อื่น ๆ

                  นอกจากนี้ยังมี บทเฉพาะกาล ที่ระบุถึง คณะกรรมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่แทนสภาฯ แห่งชาติ ในระหว่างที่ยังไม่มีสภาฯแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ให้สำนักงาน พอช. ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น  และให้ผู้อำนวยการ พอช. เป็นผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น จนกว่าจะมีการจัดตั้งสำนักงานสภาฯ แห่งชาติ

    http://gotoknow.org/blog/rviolet/102435

    ผมว่า...น่าจะเริ่มต้นที่แผนพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ครับ...

    สร้างความเข้มแข็งและมั่นคงทางความคิดให้เกิดขึ้นกับคนในสังคม กระตุ้นให้ทุกคนคิดเป็นจะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มหรือองค์กรใด...

    ปลูกฝังคุณธรรมขั้นพื้นฐานให้เกิดขึ้นกับคนทุกระดับในสังคม เพราะหากคนในสังคมขาดคุณธรรมพื้นฐานแล้ว การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขย่อมเกิดขึ้นไม่ได้...

    ส่งเสริมให้เกิดแนวร่วมและเครือข่ายความสามัคคีของคนในสังคม เพราะพลังที่เข้มแข็งย่อมสามารถขับเคลื่อนและมีกำลังที่จะต่อต้านความไม่ดีต่าง ๆ ได้...

    เมื่อศักยภาพความเป็นมนุษย์ของคนในสังคมเพิ่มขึ้น การเห็นคุณค่าและความศรัทธาในตัวเองย่อมเกิดขึ้น เมื่อนั้นศักยภาพของสังคมเราก็จะเพิ่มขึ้นด้วย...

    ขอเอาข้อความนี้มาเสริมครับ มาจากท่าน

    P
    mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง
    เมื่อ อ. 12 มิ.ย. 2550 @ 01:56 [289758]

      ปัจจุบันแม้มีประชาคมหมู่บ้านแต่ก็ถูกเคลื่อนโดยระบบราชการสุดท้ายกลายเป็นเครื่องมือซักฟอกผู้บริหารให้ตัวเองสะอาด เป็นข้ออ้างความชอบธรรมโดยมีลายเซนต์กับบันทึกการประชุม  ประชาชนในประชาคมไม่กล้าพูดเสียงดังมากเต็มที่นักครับเพราะไม่มีเอกสิทธิคุ้มครองใด ๆ

       ต่อไปองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ จะมีระบบการตรวจสอบกันเองและเปิดเผยมากขึ้น

    เพิ่มอีกครับ จากPนายศักดิ์ณรงค์
    ท้องถิ่นอำเภอปางมะผ้า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

     http://gotoknow.org/blog/66489/102760

    ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนอื่น สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับจังหวัด สภาองค์กรชุมชนระดับชาติ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ดำเนินการอยู่ในตำบล รวมทั้งตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    สวัสดีค่ะทุกๆท่าน

     

    P

    เล่าฮูคะ...สภาชุมชนที่เล่าฮูว่ามาดูดีและน่าทำ ( แต่ไหงไปโพสต์ไว้ที่อื่นล่ะคะ ^ ^ )

    แต่ในช่วงที่ไม่มีสภานี่ล่ะคะเราจะทำอย่างไร ? หรือกว่าสภาชุมชนที่ดูเหมือนเป็นยาวิเศษที่จะมาช่วยรักษาโรคทั้งหลายในชุมชนออกฤทธิ์ เราควรทำอย่างไร ?

    อย่างเล่าฮูอยาก พัด - กะ - นา หมู่บ้านที่เล่าฮูอยู่ เล่าฮูควรเริ่มยังไง ?...

    เพราะเบิร์ดไม่ค่อยชอบภาวะที่เฝ้าแต่รอให้มีซุปเปอร์แมนมากู้โลกน่ะค่ะ....เลยถามกลวงๆอย่างนี้แหละซุปเปอร์แพนด้าช่วยแถลงทีเถอะค่ะ

     

     สวาดดีท่านผู้ทรงรู้  มีวินัย

    P

    วินัยดีไม่ดีอยู่ที่สถานะการณ์นะจ๊ะ จะบอกให้

    เรื่องการศึกษา เป็นเรื่องเหนื่อย

    เรื่องชุมชนเหนื่อยกว่าอีก

    ติดน้ำชามาหรือเปล่า.......  ว๊า .........ไม่ได้ติดมา ไปดีกว่า

    P

    P
     

    คนละแก้วนะครับ สำหรับท่านต่อไปที่เข้ามาครับ

    น้อรก...ก

    ผมขอเข้ามาดื่มน้ำชากับอ.เม้งและคุณเบิร์ดด้วยคน แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะถูกเตะออกจากวงหรือเปล่า?

    ผมเห็นว่าหลังจากที่ร.5รวบอำนาจเข้าส่วนกลาง   เพื่อต้านภัยจักรวรรดินิยมนั้น ชุมชนท้องถิ่นยังไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไรนัก (อำนาจส่วนกลางยังลงมาไม่ถึงท้องถิ่น) ปัจจัยเปลี่ยนแปลงให้ชุมชนท้องถิ่นอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัฐส่วนกลางคือ
    1)ปฏิวัติ2475เริ่มระบอบประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง
    2)เริ่มศักราชแผนพัฒนาฉบับที่1เป็นต้นมา 
    3)เทคโนโลยี ถนน ไฟฟ้า ปฏิวัติเขียว ฯลฯซึ่งเป็นกลไกของตลาดที่เชื่อมโยงทุนเข้ากับอำนาจรัฐ

    แม้อำนาจจะถ่ายโอนสู่ท้องถิ่นตามพรบ.กระจายอำนาจ แต่ก็ยังอยู่ในวังวนของระบอบการเมืองใหญ่ที่อิงอยู่กับอำนาจรัฐจากส่วนกลาง

    พรบ.สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นน่าจะเป็นกฏหมายที่ย้ายน้ำหนักกลับมาอยู่ที่ชุมชนท้องถิ่นโดยขึ้นต่อรัฐส่วนกลางน้อยที่สุด จึงเป็นพรบ.เชิงกระบวนทัศน์หรือการช่วงชิงพื้นที่ นิยามความหมายของการพัฒนาครับ

    P

    สวัสดีครับคุณภีม

    • ยินดีต้อนรับครับ เชิญดื่มชากันก่อนครับ
    • ที่นี่ไม่มีเตะออกจากวงครับ ซัดได้เต็มที่ครับ
    • พี่สบายดีนะครับ
    • เห็นด้วยครับ ว่าการกระจายในทุกๆ อย่างลงไม่ถึงท้องถิ่นซักทีนะครับ เสมือนว่าจะถึงแต่ไม่ถึง เหมือนฝนตกไม่ถึงพื้นดินนะครับ หรือไม่ก็ไอน้ำระเหยไม่ถึงเมฆนะครับ
    • อยากให้ไอน้ำระเหยถึงชั้นเมฆจะได้ตกเป็นฝนที่ตกถึงพื้นดินจริงๆ ครับ จะได้เกิดประโยชน์เป็นวงจรที่แท้จริงครับ
    • มาถกกันไว้ต่อไปนะครับ ขอบพระคุณมากๆ เลยครับ มีโอกาสจะไปเยี่ยมครับ

    เข้ามา เห็นชาตั้งอยู่ก็ดื่มเลย ไม่รอให้ชวน

    แต่ชาตั้งไว้ตั้งแต่เมื่อวานจึงไม่ร้อน แต่ก็พอดื่มได้

    ผมสบายดี ขอบคุณมากครับ

    ถ้ามีโอกาสแวะมาทางนี้ก็เรียนเชิญครับ

    P
    เบิร์ด
    เมื่อ อ. 12 มิ.ย. 2550 @ 19:39 [290610]

    สวัสดีค่ะทุกๆท่าน

      เล่าฮูคะ...สภาชุมชนที่เล่าฮูว่ามาดูดีและน่าทำ ( แต่ไหงไปโพสต์ไว้ที่อื่นล่ะคะ ^ ^ )

    แต่ในช่วงที่ไม่มีสภานี่ล่ะคะเราจะทำอย่างไร ? หรือกว่าสภาชุมชนที่ดูเหมือนเป็นยาวิเศษที่จะมาช่วยรักษาโรคทั้งหลายในชุมชนออกฤทธิ์ เราควรทำอย่างไร ?

    อย่างเล่าฮูอยาก พัด - กะ - นา หมู่บ้านที่เล่าฮูอยู่ เล่าฮูควรเริ่มยังไง ?...

    เพราะเบิร์ดไม่ค่อยชอบภาวะที่เฝ้าแต่รอให้มีซุปเปอร์แมนมากู้โลกน่ะค่ะ....เลยถามกลวงๆอย่างนี้แหละซุปเปอร์แพนด้าช่วยแถลงทีเถอะค่ะ

    สวัสดีครับ จอมยุทธเหิรฟ้า

    • กลไกสภาฯ เป็นกลไกในการรวบรวมผู้คน ภายใต้กฏหมายรองรับ
    •  กลไกสภาฯรวบรวมปัญหา รวบรวมผู้รู้  รวบรวมปัญญา รวบรวมชุมชน
    • เป็นกลไกที่เป็นเวทีที่ทรงคุณค่า
    • เป็นแหล่ง ควบรวมองค์ความรู้และปัญหา
    • เป็นแหล่งรวมหมู่ปราชญ์ชาวบ้าน

    ก่อนที่ พรบ. จะผ่าน เราคงจะต้องให้ชุมชนเตรียมความพร้อม โดยที่ต้องให้รู้ว่าเวทีนี้มีประโยชน์อะไร

    ต้องทำความเข้าใจกันว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้อง ออกมาร่วมแก้ปัญหาที่หมักหมมกันมา ถ้าชุมชนไม่ออกมาแสดงความเห็นก็จะไม่มีเวทีไหนอีกแล้วที่จะพื่ง 

    ชุมชนจะสามารถแก้ปัญหาโดยตัวชุมชนเอง

    ชุมชนจำต้องเข้มแข็ง

    ชุมชนจะต้องสามัคคี

    ชุมชนจะต้องเสริมการรับรู้ ความรู้พื้นฐาน

    ชุมชนจำต้องแสดงออกในความรับผิดชอบต่อชุมชนเอง

    คุณ เบิร์ต ว่าพวกเราต้องทำอะไรบ้าง

    • การกระตุ้นความรับรู้
    • กระตุ้นถีงความรับผิดชอบตัวเอง
    • กระตุ้นเตือนถึงสัญญานที่ดีต่อชุมชน
    • ให้การศึกษาเบื้องต้น
    • ทำเอกสารที่จำเป็น ให้ชาวบ้านศึกษา
    • จัดวงสนทนา แลกเปลี่ยนความเข้าใจ จัดวงสนทนาจากเล็กสู่วงใหญ่
    • เป็นพี่เลี้ยงในเบื้องต้น

    เหล่าผู้ที่เคลื่อนไหวพัฒนาชุมชน เป็นโอกาสแล้วครับ ลองสู้กันสักตั้ง สู่หนทางที่ดีกว่า

    ขอบคุณมากๆครับ  โลกกว้างแต่ทางแคบครับ เราคงได้ทำงานร่วมกันในโอกาสต่อไป

     

    P

    สวัสดีครับคุณมิตร

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ อิๆ ที่มาช่วยเติมรส ให้ออกรส ครับ อิๆๆ
    • ระบบอำนาจในชุมชนตอนนี้เป็นอย่างไรครับ สมดุลไหมครับ ขาดอะไรบ้างครับ..... เราจะต้องอย่างไรไม่ให้เป็น สามเส้า (เศร้า) ครับ
    • คนในชุมชนพร้อมหรือยังที่จะตรวจสอบระบบเศร้าในชุมชนขอตนเอง
    • ประชาชนต้องการอะไรกันแน่ในชุมชน การศึกษา การทำมาหากิน หรือความอยู่รอด หรือว่าทรัพย์สินเงินทอง.....
    • ระบบการซักฟอกให้ผุ้บริหารขาวสะอาด จะแก้ไขอย่างไร ให้คนกล้าพูดแล้วต้องดึงคนระดับมาให้เป็นคนรับใช้และทำงานให้กับชุมชน....
    • องค์กรที่ตั้งขึ้นมาในชุมชนทั้งหมด มีอะไรบ้างครับ แล้วจะเชื่อมโยงทั้ง GO, NGO ให้เข้ากันได้อย่างไร แบบไหนคือจุดที่ชาวบ้านต้องการครับ
    • ข้อสำคัญ คนในชุมชนพร้อมแล้วหรือยังที่จะทำ...เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากไอน้ำที่ระเหยขึ้นท้องฟ้า เพื่อรอเวลาให้ตกลงมาเป็นฝนที่ชุ่มฉ่ำเย็น......
    • ขอบคุณมากนะครับ เข้ามาช่วยเติมรสกันต่อนะครับ
    P

    สวัสดีครับคุณดิเรก

    • ขอบคุณมากครับ
    • เราควรจะมีแผนพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์แห่งชาติ กันเลยดีไหมครับ น่าสนใจนะครับ
    • การพัฒนาคนต้องค่อยๆ ใส่ ค่อยๆ ปลูกหรือเปล่าครับ คราวนี้มันจะเกี่ยวโยงกับการศึกษาและคุณธรรมใช่ไหมครับ
    • ที่ผ่านๆมา มีแผนในการพัฒนาคน อยู่ด้วยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินะครับ ผมไม่แน่ใจว่า แนวทางในการนำไปปฏิบัติเราทำต่อเนื่องไหม
    • การทำสิ่งเหล่านี้ ความต่อเนื่องน่าจะสำคัญมากเหมือนกันครับ....
    • หากเราทำต่อเนื่องก็จะเข้าสู่คำตอบที่คุณดิเรกว่าคือ เมื่อศักยภาพความเป็นมนุษย์ของคนในสังคมเพิ่มขึ้น การเห็นคุณค่าและความศรัทธาในตัวเองย่อมเกิดขึ้น เมื่อนั้นศักยภาพของสังคมเราก็จะเพิ่มขึ้นด้วย...
    • ขอบคุณมากครับ

    สวัสดีค่ะทุกๆท่าน

     

    P

    เล่าฮูที่เคารพอย่างสูงสุดยอดไม้

    ร่าง พรบ.อันนี้เป็นที่ถกและเถียงกันมากมาย จนถึงกับจะแยกทางกันเดินถ้าพูดไม่ลงรอยกันระหว่างมหาดไทยกับพัฒนาสังคม ฯ..

    ซึ่งสิ่งที่เป็นประเด็นคือ " อำนาจ " และ " โครงสร้าง " ของสภาที่เป็นส่วนราชการใหม่ขึ้นมาซ้อนอันเดิม..

    เล่าฮูตอบในเรื่องของอำนาจว่า..สภาไม่มีอำนาจ " สั่งการ " แต่มีอำนาจตรวจสอบ ( น่าจะมีอำนาจถอดถอนด้วยมั้ยคะ ? แบบ กลต.ไง )...

    แล้วเรื่องโครงสร้างล่ะคะที่มหาดไทยท่านค้านหัวชนฝาในวันวานที่ผ่านมาจนถึงวันนี้คืออะไร ?  มีเงินเดือนสำหรับผู้ที่อาสาเข้ามาเหล่านี้หรือไม่ ? ถ้าเป็นส่วนราชการใหม่ที่ตั้งมาซ้ำซ้อนตามคำที่ " ท่าน " ว่า..คำว่าราชการแสดงว่าต้องมีเงินเดือน มีเบี้ยเลี้ยง มีสิทธิต่างๆ ฯลฯ หรือไม่ ?

    เชิญเล่าฮูและท่านนักคิดทุกท่านช่วยสงเคราะห์อธิบายให้เข้าใจด้วยเถอะค่ะ...

    เจ้าของบ้านเค้าเอาน้ำชามาเสริฟแล้วค่ะ เพราะงั้นเบิร์ดมาดื่มอย่างเดียว อิ อิ

    P

    สวัสดีครับพี่ภีม (ขอเรียกพี่แล้วกันนะครับ)

    • ด้วยความยินดีครับ ตราบใดที่ประเด็นนี้ยังร้อน น้ำชาจะไม่เย็นครับ เป็นชาพิเศษครับ
    • มีโอกาสจะแวะไปนะครับ บ้านผมอยู่ อ.จุฬาภรณ์ครับ
    • ขอบคุณมากครับ

    ขอบคุณอ.เม้งที่เชิญชวนเสวนาต่อครับ

             ปกติผมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสภาชาวบ้านอยู่บ่อยๆ(ตั้งเอาเอง)  ส่วนเครื่องดื่มที่จิบไปด้วยแบบร้อน ๆ คอ ก็สุราขาว 40 ผสมเครื่องดื่มชูกำลัง ดูหรูมาหน่อยก็เบียร์ที่ได้รางวัลจากสถาบันต่างๆในเยอรมันนั่นล่ะครับ

             ก็เป็นด้านอบายมุข ภายหลังผมได้เรียนรู้กับชุมชนบ้านหนองไห ต.หนองแปน อ.มัญจาคีรี ขอนแก่น ร่วมกับ สสส. จัดเวทีชาวบ้านถกกันเรื่องเหล้า ในชุมชนแห่งนี้ ปรากฎได้มาตรการ

             1. ห้ามร้านค้าในหมู่บ้านจำหน่ายเหล้า เบียร์ทุกชนิดในวันพระ และงดจำหน่ายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี

             2. ห้ามนำเหล้า บุหรี่เข้าไปกินไปสูบในวัด

             3. ห้ามนำเหล้า บุหรี่เข้าไปกินไปสูบในโรงเรียน

              ชุมชนเห็นวิกฤติและเริ่มแก้โดยมีกฎหมายของประเทศไทยเป็นกรอบ แต่การบังคับในพื้นที่ ต้องอาศัยการยอมรับของคนในสังคม ไม่งั้นกฎหมายก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ และเกิดปัญหาดื้อแพ่ง

              ผมปรึกษาเจ้าหน้าที่รัฐและเชิญเข้าร่วมกับชุมชนหลาย ๆ ส่วน ทั้งตำรวจ ปลัด หมอพยาบาล ผู้นำ หลายส่วน  ในด้านที่มีปัญหาอย่างหนึ่งก็คืออำนาจของประชาชนที่จะจับ ปรับ ออกคำสั่งห้าม

              ซึ่งคำตอบคือได้ เป็นประชามติในชุมชน ตราบที่ไม่กระทบสิทธิของบุคคล นั่นคือสุ่มเสี่ยงกับกฎหมายแพ่งและอาญาด้วย  แต่เมื่อพูดถึงประชามติในชุมชนแบบปลัดให้ข้อคิดเห็นในทางปกครองแล้วทำได้  เพราะประชาชนทุกคนในหมู่บ้านได้ร่วมรับรองปฏิบัติ  การทำตามกฎระเบียบในหมู่บ้านโดยมีกฎหมายบ้านเมืองรองรับอยู่แล้วสามารถทำได้

                เบื้องต้นจะชัดเจนหรือไม่ประการใดก็ตาม แต่สรุปว่านั่นเป็นการทำงานควบคู่กันระหว่าง อำนาจรัฐและอำนาจของประชาชน ส่งเสริมกันและกัน หาได้ขัดแย้งกัน

                ............กลับมาสู่เรื่องของวงน้ำชาเรา  คำถามจากมหาดไทยกลัวเรื่องการทับซ้อน และขัดแย้งของอำนาจหน้าที่  ซึ่งเห็นว่าร่าง กม.ตัดออกไปแล้ว เรื่องอำนาจยับยั้งโครงการหรือกิจการที่มีผลกระทบชุมชน

               ส่วนใหญ่แล้วเหลือเพียงการตรวจสอบ เท่านั้นและเป็นลักษณะเสนอข้อมูลก็เท่านั้นไม่มีอำนาจเข้าไปรื้อค้นตรวจสอบแต่อย่างใด แต่อำนาจตรวจสอบก็มีอยู่แล้วเช่น พรบ.ข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น และนี่ก็คือกลไกหนึ่งที่จะใช้ กฎหมายต่าง ๆ ได้จริง เพราะประชาชนทั่วไปแม้มีสิทธิแต่ไม่กล้าใช้  หากเป็นลักษณะสภา  หรือองค์กรนิติบุคคล จะมีศักยภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น มูลนิธิปวีณา มีศักยภาพสูงมากที่จะตรวจสอบและใช้สิทธิตามกฎหมาย

              ดังนั้นเรื่องอำนาจหน้าที่ไม่น่ามีปัญหา

              ส่วนเรื่องโครงสร้างนั้นไม่มีปัญหาแน่นอนครับ เปรียบเหมือนสภาวัฒนธรรมแห่งชาติก็มีรูปแบบจัดการ หรือ สภาพัฒน์ ก็มีการจัดโครงสร้างขึ้นใหม่ได้ สภานักวิจัย  ฯลฯ มากมายครับ  ไม่มีปัญหาแน่นอนเรื่องโครงสร้าง

               แค่นี้ก่อนเดี๋ยวตอบ อ.เม้งต่อ ว่าชุมชนเขาคิดอะไร

                             ก่อนอื่นขอยกวลีเท่ห์ ๆ ของผมที่ได้เรียนรู้มาจากรุ่นพี่คนหนึ่งระดับอาจารย์ผม

                 "คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน เป้าหมายจึงอยู่ที่หมู่บ้าน"

      ขอภาษาอังกฤษเท่ห์ๆ หน่อย มั่วๆ นิด " The anwer is community  so target are there"  ใช้ได้มั้ยอาจารย์ช่วยผมหน่อย

                มีอีกคำที่วงการเมืองชอบใช้ " คนบ้านนอกตั้งรัฐบาล แต่คนในเมืองล้มรัฐบาล"

                จากท่านอุทัย นักการเมืองใหญ่ "ผู้แทนราษฎร คือเงาสะท้อนของประชาชน"

  • ระบบอำนาจในชุมชนตอนนี้เป็นอย่างไรครับ สมดุลไหมครับ ขาดอะไรบ้างครับ..... เราจะต้องอย่างไรไม่ให้เป็น สามเส้า (เศร้า) ครับ
  • ตอบ ระบบอำนาจในชุมชนตอนนี้เป็นการผสานกันระหว่างอำนาจในระบบกับนอกระบบ  อำนาจในระบบและอำนาจทั้งสองนั้นก็มีฝ่ายผลประโยชน์มาก ผลประโยชน์น้อย ปานกลาง และไม่สนผลประโยชน์  เช่น อำนาจทางการเมืองการปกครองเป็นอำนาจในระบบ อำนาจเงิน อิทธิพล ข้าราชการ เครือญาติ  คนเก่าแก่ วัด สมภาร มัคนายก ตาปู่บ้าน ผีปอบ ฯลฯ เป็นอำนาจนอกระบบ   ทั้งระบบ บางอำนาจเอื้อต่อกันและสถาปนากลุ่มของตนขึ้นมาได้อย่างเงิน อิทธิพล นักการเมือง เป็นต้น บางอำนาจขัดแย้งกันอย่าง อิทธิพลกับวัด ข้าราชการกับคนเก่าแก่ ข้าราชการกับการเมือง บางอำนาจตรวจสอบกันสมดุลกัน อย่างวัดกับมัคนายก คนเก่าแก่   สรุปว่าอำนาจในหมู่บ้านนั้นมักจะสมดุลกันได้ และมักจะสมานฉันท์กันได้ แต่ภายหลังอำนาจการเมืองเข้ามาเยอะก็ทำให้ระบบอำนาจมีปัญหามาก
  • ที่ขาดไปก็คืออำนาจตรวจสอบที่ ช่างไม่ตรงกับนิสัยคนไทยเราไม่ว่าภูมิภาคไหนเอาซะเลย
  • คนในชุมชนพร้อมหรือยังที่จะตรวจสอบระบบเศร้าในชุมชนขอตนเอง
  • นี่ล่ะครับที่ขาดไปพร้อมหรือไม่ผมไม่แน่ใจต้องลองดู แต่ว่าแนวโน้มก็น่าจะดีขึ้นจากการที่มีข้อร้องเรียน มีนักประท้วง มีดาวสภาท้องถิ่นมากขึ้น
  • ประชาชนต้องการอะไรกันแน่ในชุมชน การศึกษา การทำมาหากิน หรือความอยู่รอด หรือว่าทรัพย์สินเงินทอง.....
  • ผมจำได้ว่าเคยคุยกับอาจารย์เม้งไปแล้วว่าชาวบ้านต้องการทุกอย่างนั่นล่ะครับ แต่การจัดการยังแย่อยู่ ทั้งนี้ก็ด้วยความแตกต่างกันมากขึ้นในทางเศรษฐกิจ
  • ระบบการซักฟอกให้ผุ้บริหารขาวสะอาด จะแก้ไขอย่างไร ให้คนกล้าพูดแล้วต้องดึงคนระดับมาให้เป็นคนรับใช้และทำงานให้กับชุมชน....
  • เรื่องเงินผลประโยชน์แล้วก็ต้องยอมรับว่าเรื่องความรู้ด้วย ผู้บริหารก็มักจะเป็นคนมีศักยภาพที่สูง ผู้มีความรู้โดยทั่ว ๆ ไปก็ไม่ค่อยอยู่ในชุมชนมากนัก แต่แนวโน้วดีขึ้นก็เห็นได้เหมือนกันว่าตอนหลังมีคนมีความรู้มากขึ้นในชุมชน อย่าง อบต.ที่รับพนักงานเพิ่มขึ้น ก็ส่งผลการจัดการความรู้ที่ดีขึ้นในชุมชน ลูกหลานชาวบ้านทำงานในท้องถิ่นมากขึ้น  อันนี้ต้องยอมรับกันว่าด้านดีของการกระจายอำนาจนั้นมีมหาศาล
  • องค์กรที่ตั้งขึ้นมาในชุมชนทั้งหมด มีอะไรบ้างครับ แล้วจะเชื่อมโยงทั้ง GO, NGO ให้เข้ากันได้อย่างไร แบบไหนคือจุดที่ชาวบ้านต้องการครับ
  • องค์กรในชุมชน ภาครัฐเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เหล่านี้รวมเรียกองค์กรผู้นำชุมชน โรงเรียน สถานีอนามัย วัด (เจ้าอาวาสถือเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย) ศูนย์เทคโนเกษตร การศึกษานอกโรงเรียน อบต.  องค์กรเอกชนที่ตั้งขึ้นแต่อยู่ในการดูแลของหน่วยงานเหล่านี้เช่น อปพร. อสม. อพช. อาสาปศุสัตว์ หมอดินอาสา กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรสหกรณ์ของธกส. กลุ่มออมทรัพย์ ธนาคารหมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ    ส่วนองค์กรเอกชนจ๋าไปเลย ก็เช่น กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน มูลนิธิเกี่ยวกับโรคเอดส์ มุลนิธิต่างประเทศ ฯลฯ ส่วนใหญ่พวกนี้อยู่ในพื้นที่มีปัญหาพิเศษเช่น ยากจน ทรัพยากรถูกทำลาย
  • การเชื่อมโยงโดยปกติก็ไม่ค่อยคุยกันนัก แต่บางครั้งก็มีองค์กรบางองค์เป็นเจ้าภาพให้ก็มีเช่น มหาลัยขอนแก่นก็เคยนำองค์กรเหล่านี้มาคุยกัน  ส่วนกลุ่มที่จะเชื่อมกันโดยภาครัฐนั้นยาก  ยกเว้นใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวที่อาจเคยพบกันพูดคุย ถูกคอกันก็เอาแผนมาคุยกันแล้วก็จอยกันได้บางครั้ง
  • จุดที่ชาวบ้านเขาต้องการนั้นก็คือเขาไม่อยากไปประชุมอะไรบ่อย ๆ หรอกครับ อะไรรวม ๆ กันได้น่ะดี แต่บางทีก็รวมกันโดยปริยาย เพราะเวทีประชุมงานไหนก็เจอชาวบ้านคนนี้อีกแล้ว มันเลยบูรณาการกันด้วยตัวมันเอง  แต่ที่จริงส่วนหนึ่งเขาก็ต้องการให้มีกลุ่มอะไรพวกนี้เยอะ ๆ มันเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ร่วมพัฒนา และร่วมได้ค่าจัดการไปด้วย อาจได้เงินทุนเพิ่มขึ้นมาจัดการงานอาชีพของเขา แล้วไม่มีดอกเบื้ย  ได้พันธุ์ต้นไม้ พันธุ์เป็ด ไก่ ปลา เอกสารแผ่นพับก็ดี   ชาวบ้านชอบอยู่แล้วครับ
  • ข้อสำคัญ คนในชุมชนพร้อมแล้วหรือยังที่จะทำ...เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากไอน้ำที่ระเหยขึ้นท้องฟ้า เพื่อรอเวลาให้ตกลงมาเป็นฝนที่ชุ่มฉ่ำเย็น......
  • ผมฟันธงได้เลยว่าชุมชนมีความพร้อม แม้ยังไม่มากพอแต่ ผู้คนในสังคมชนบทบ้านนอกวันนี้ เข้าใจอะไรมากขึ้น พัฒนาตนเองมากขึ้น  ผมเชื่อในศักยภาพภายในของคน   หากมีนโยบายดี ๆ และการสนับสนุนดี ๆ ไปได้แน่นอน 
  • งานของ สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส. ) เป็นกิจกรรมที่น่าศึกษามา องค์กรนี้ให้ทุนชาวบ้านไปจัดการและสอนการบริหารจัดการให้ชาวบ้านเข้าใจระบบการทำงานมากขึ้นและเข้าใจในระบบตรวจสอบให้โปร่งใสมากขึ้น
  •  ขอบคุณมากครับที่ให้โอกาสผมตอบยาวขนาดนี้
  • P

    สวัสดีครับคุณมิตร

    • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สมชื่อจริงๆครับ เป็นมิตรที่ผูกพันมั่นเกลียว เอาอาหารสมองดีๆ มาแจกกันแบบนี้ ถกกันได้ยืดยาวครับ
    • ผมจะมาแสดงความเห็นต่อนะครับ ตอนนี้ มาบอกว่าได้รับข้อความแล้ว อ่านแล้วปลื้มใจที่มีคนอย่างคุณเอาจริงเรื่องนี้ ตั้งกันเองเพื่อให้ชาวบ้านมีภูมิคุ้มกัน รู้ทันเกมส์สารพิษนอกชุมชนนะครับ
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท