จากชุดบทเรียนสู่การเขียน : ชมรมพยาบาลชุมชนเเห่งประเทศไทย


ถอดบทเรียนสู่การเขียนเพื่อการสื่อสาร (๑)

ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทย

 

ชมรมพยาบาลชุมชนแห่งประเทศไทยได้ติดต่อมาให้ช่วยทำ Workshop ให้กับแกนนำพยาบาลชุมชนที่ทำงานในพื้นที่ ในประเด็น “การถอดบทเรียน” และ “การเขียนเพื่อสื่อสารจัดการความรู้” เบื้องต้นโจทย์แบบนี้ก็เป็นประเด็นความต้องการเริ่มต้นในการออกแบบกระบวนการ คือ จะถอดบทเรียนอย่างไร? หลังจากนั้นจะเขียนอย่างไร? สองประเด็นนี้สำคัญเพราะหลายคนทำกระบวนการถอดบทเรียนได้ แต่เขียนสื่อสารไม่เป็นบทเรียนที่ดีจึงไม่ได้ถูกนำมาเผยแพร่

Workshop ดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ ๒๐ - ๒๓ พ.ค.๕๔ ที่ผ่านมา ณ บ้านท้ายหาดรีสอร์ท,อัมพวา,สมุทรสงคราม

 

กระบวนการในเวทีถูกออกแบบแยกออกเป็น ๒ ส่วนคือ  

  • ส่วนของ “การถอดบทเรียน” (วิธีคิด เทคนิค วิธีการ ตลอดจนการฝึกทักษะ)  ส่วนนี้แน่นอนว่าการเรียนรู้ทฤษฏีแต่เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถลงลึกในการถอดบทเรียนได้ ดังนั้นอาจต้องมีการฝึกปฏิบัติการถอดบทเรียนเพื่อเสริมความมั่นใจ
  • ส่วนที่สองคือ “การเขียน” ครั้งนี้มีทีมนักเขียนรุ่นใหม่ที่มาช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับชมรมพยาบาลด้วย คือ คุณบัส ศรัทธา ลาภวัฒนเจริญ เป็นนักเขียนรางวัลแว่นแก้ว อีกทั้งคุณบัสยังเปิดโรงเรียนนักเขียน อีกด้วย ประสบการณ์การฝึกเขียน จึงเป็นภารกิจหลักๆของคุณศรัทธาใน Workshop นี้ต่อจากการถอดบทเรียน มีน้องนักเขียนอีกกลุ่มที่มาจากสำนักพิมพ์ปิ่นโต พับลิชชิ่ง นำโดยคุณวรเชษฐ์ เขียวจันทร์ และคณะมาช่วยเสริมทัพ ช่วยในกระบวนการเรียนรู้ มีสีสันมาเป็นทีมใหญ่เลยทีเดียว

เพื่อให้การ Workshop เป็นไปด้วยความสนุกสนาน ทางทีมวิทยากรได้เติม การเรียนรู้ “ร้องและเต้น” โดยครูเก๋ ณ หทัย บัวแย้ม หนึ่งในทีมวิทยากร ที่มากด้วยความสามารถในการสอนเต้น และร้องเพลง เป็น Workshop สำหรับภาคกลางคืน

สามวันสองคืนที่อัมพวา กับผู้เข้าร่วม Workshop กว่า ๕๐ คน บรรยากาศเป็นไปด้วยความสุข เบื้องต้นก็คือกลุ่มคนทำงานกลุ่มดังกล่าวมีความคุ้นเคยกันในเบื้องต้นอยู่แล้ว ดังนั้นการออกแบบกิจกรรม จึงเป็นไปด้วยความราบรื่น จุดไปติดก็เดินต่อได้เลย

-------------------------------------

ถอดบทเรียน??

 (ผมขอถอดประสบการณ์ในการทำ Workshop ในวันดังกล่าวมาเล่าสู่กันฟังครับ)

การถอดบทเรียน  ผมนำเสนอเป็นชุดความรู้ ประสบการณ์ผ่านตัววิทยากร คือตัวผมเอง และ เสนอโดยการแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมจากประสบการณ์เดิมที่กลุ่มมีอยู่ พบว่า คนทำงานกลุ่มนี้มีทักษะ การถอดบทเรียนอยู่แล้วระดับหนึ่ง (จากประสบการณ์การทำงาน การฝึกอบรม ตามแนวทางการสร้างความรู้ต่างๆ) ดังนั้นเรื่องวิธีวิทยาการถอดบทเรียน จึงไม่ใช่ประเด็น เพียงแต่มารื้อฟื้นกระบวนการให้เห็น รวมไปถึงข้อจำกัดบางอย่างในการทำเวทีถอดบทเรียน

ถอดบทเรียน ทำได้ง่ายๆ แต่หากไม่ลงลึกและรอบด้านเพียงพอก็ได้เพียงปรากฏการณ์ที่เป็นเปลือกนอก ถือว่าเป็นบทเรียนที่ไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่เป็น “บทเรียน” สักเท่าไหร่ 

ดังนั้นการถอดบทเรียน นอกจากมีเป้าหมายในการได้บทเรียนแล้ว ลึกไปกว่านั้น คือการได้    “ชุดความรู้” ชุดหนึ่ง ที่มีคุณค่าจากการสรุปแบบบูรณาการ ที่ประกอบด้วยมุมมอง วิธีคิด ไปจนถึงปรากฏการณ์อันเนื่องมาจากมุมมอง วิธีคิดเหล่านั้น อาจกล่าวได้ว่า Right View,Right Concept ถึงจะเกิด Right Action และได้ชุดความรู้ใหม่ที่มีประสิทธิภาพที่จะเป็นข้อมูลต้นทุนในการสร้างสรรค์งานอย่างต่อเนื่องและเกิด ความเข้าใจ (Comprehension) ก่อเกิดวิธีคิดใหม่ มุมมองใหม่ๆ การถอดความรู้ที่ได้เพียงประสบการณ์ผิวเผินในมุมมองของวิทยากรกระบวนการแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่มีพลังเพียงพอที่จะกะเทาะความจริงที่ซ้อนอยู่เบื้องหลังได้ ความสำคัญและความประณีตของ “การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม” ที่ได้มาซึ่งบทเรียน จึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมไปถึงผู้ที่ทำหน้าที่ถอดบทเรียนที่เรียกว่า “วิทยากรกระบวนการ” หรือ Facilitator” และ ผู้เข้าร่วมเวที (Participants)ในกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมด้วย

เริ่มต้น...ถอดบทเรียน 

การถอดบทเรียนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ สิ่งที่สำคัญและส่งผลต่อการได้มาซึ่ง “บทเรียน” ที่ดี ก็คือ การเตรียมกระบวนการ การเริ่มต้นและการเตรียมการที่ดีทำให้การถอดบทเรียนประสบความสำเร็จแล้วกว่าครึ่ง

องค์ประกอบของผู้เข้าร่วมถอดบทเรียน 

            องค์ประกอบนี้สำคัญมาก เพราะผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนล้วนแต่เป็น “คนต้นเรื่อง” ที่มีประสบการณ์การทำงานด้านนั้นตลอดทั้งกระบวนการ โดยเฉพาะนักปฏิบัติที่คลุกคลีกับการงาน ประเด็นไม่ว่าจะมีส่วนร่วมในระดับใดก็ตาม หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมเวทีถอดบทเรียน จึงต้องให้ความสำคัญหากผู้เข้าร่วมถอดบทเรียนไม่ใช่ “ตัวจริงเสียงจริง” ส่งผลให้การถอดบทเรียนก็ไม่สามารถได้ข้อมูลที่แท้จริง รวมไปถึงการเจาะประเด็นเชิงลึกได้  จำนวนผู้เข้าร่วมจะอยู่ที่ประมาณ ๖ – ๑๐ คน ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป หากจำนวนคนน้อยอาจได้บทเรียนที่ไม่ค่อยครอบคลุม แต่หากจำนวนคนมากไปส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ที่ดี แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างทั่วถึง ยกเว้นในกรณีการถอดบทเรียนที่เป็นการถอดบทเรียนเชิงลึก ถอดบทเรียนบุคคลที่จำเพาะเจาะจงมาแล้ว กรณีนี้จะเหมือนการทำกรณีศึกษา ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่มีผู้ถอดบทเรียนและผู้ทำการถอดบทเรียนเท่านั้น

องค์ประกอบด้านกลไกการเรียนรู้ 

การถอดบทเรียนเป็น “กระบวนการ” ที่ประกอบด้วยวิธีวิทยาชุดหนึ่ง กลไกสำคัญหนึ่งคือ วิทยากรกระบวนการ หรือ Facilitator จะทำหน้าที่เป็นผู้ที่คอยกระตุ้น สร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนทัศนะ ข้อมูล อย่างบูรณาการ โดย Facilitator เองก็ต้องมีทักษะในการเป็นวิทยากรกระบวนการ (อ่านได้ในบทที่ ) ผสมเกสรด้านความคิด ผลิดอกออกผลในวงสนทนาเป็นองค์ความรู้ใหม่ ชุดบทเรียนใหม่ ตลอดจนมุมมองและทางเลือกใหม่ ผ่านการประมวลความคิด (Conceptualize) สรุป วิเคราะห์  สังเคราะห์ให้เกิด “บทเรียน” คลี่คลาย กระจ่างชัดในประสบการณ์ที่มีร่วมกัน

สำหรับการถอดบทเรียนคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับวิทยากรกระบวนการก็คือ ต้องเป็นผู้มีความรู้เชิงลึกและกว้างในประเด็นที่จะถอดบทเรียนพอสมควร เพราะชุดความรู้เริ่มต้นของ Facilitator จะเป็นต้นทุนในการตั้งคำถาม ต่อยอดคำถาม รวมไปถึงการนำเสนอมุมมอง ทัศนะที่หลากหลาย เพื่อเอื้อให้ผู้คนในวงเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างเต็มที่และมีคุณภาพ ดังนั้นการเตรียมตัวของวิทยากรกระบวนการจำเป็นต้องศึกษาบริบทของงานเชิงประเด็นให้ถ่องแท้ อีกส่วนหนึ่งก็คือข้อมูลของผู้เข้าร่วมวงเรียนรู้ ต้องเรียนรู้เบื้องหลัง พื้นฐานจุดแข็ง และข้อจำกัดของผู้เข้าร่วมวงเรียนรู้ จะช่วยทำให้การสร้างบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของวิทยากรกระบวนการเป็นไปด้วยความราบรื่นและเกิดผลสำเร็จ

ในหนังสือ “ถอดบทเรียน (นอกกรอบ)” ที่ผมเคยเขียนไว้เป็นหนังสือที่ถอดประสบการณ์การทำงานของตัวเองมาเป็นกรณีตัวอย่าง “คนถอดบทเรียน” มีคุณสมบัติอย่างไร? (ในที่นี้หมายถึง Facilitator หรือ วิทยากรกระบวนการ)

กระบวนการถอดบทเรียน ไม่ได้เจาะจงในการเลือกใช้เครื่องมือ หรือวิธีการใดวิธีการหนึ่ง แต่การถอดบทเรียนขึ้นอยู่กับ “โจทย์” และ “กลุ่มเป้าหมาย”  สองสิ่งนี่เองที่เป็นตัวกำหนดว่าเราจะใช้กระบวนการถอดบทเรียนอย่างไร? แต่อย่างไรก็ตามเราก็สามารถยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนตลอดเวลานะครับ ถ้าพอว่าวิธีการที่เราใช้นั้นไม่เวิร์กเอาซะเลย ดูฝืดๆฝืนๆ ก็ลองปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ ก็ไม่ผิดกติกาใดๆทั้งสิ้น

ผมเคยทราบมาและบางทีผมก็ใช้วิธีการ “ถอดบทเรียนที่ไร้กรอบ”  ที่บอกว่าไร้กรอบคือ ไม่ได้แสดงตัวว่าผมหรือผู้ที่ทำหน้าถอดบทเรียนกำลังปฏิบัติการ  “ถอดบทเรียน” อยู่ทำให้เนียน ทำให้เป็นธรรมชาติ แต่ภายใต้ความเป็นธรรมดานั้น นักถอดบทเรียนกำลังใช้วิธีการถอดบทเรียนอยู่เงียบๆ เช่น วิธีการสังเกต,การจับประเด็นการพูดคุย,การซักถามทุกข์ สุกดิบ หรือบางครั้งก็ลงไปสัมภาษณ์พูดคุยในประเด็นที่เราสนใจเมื่อมีประเด็นที่น่าสนใจ เราก็ลงลึกในประเด็นเหล่านั้นทันที  แต่ทุกอย่างเป็นไปแบบธรรมชาติ ในบรรยากาศกัลยาณมิตร

เห็นไหมครับว่า...  “การถอดบทเรียนที่ดี”  ควรจะทำให้เนียนกับวิธีชีวิต  ข้อมูลที่เราได้ก็จะเป็น ข้อเท็จจริง ที่หายากมากในวงสนทนาสาธารณะทั่วไป วิธีการนี้ทำได้ดีแบบคนต่อคน หรือกลุ่มเล็กๆ ที่เราคุ้นเคยระดับหนึ่งมาแล้ว ความสำเร็จในการถอดบทเรียนแบบไม่เป็นทางการนี้ อยู่ที่เราสามารถทลายความเป็นคนแปลกหน้า เราสามารถทลายความหวาดระแวง กระชับความสัมพันธ์นำไปสู่การไว้ใจ และเปิดใจในที่สุด แล้วทุกอย่างก็ไปได้ดี

“การถอดบทเรียน”  เป็นกระบวนการหนึ่งที่อยู่ภายใต้ “การจัดการความรู้” (Knowledge management) ดังนั้นความรู้ที่ถูกจัดการอย่างเป็นระบบสามารถนำไปใช้ได้ ก็หมายถึงเราก็ได้บทเรียนพร้อมใช้ไปด้วย ความรู้และบทเรียน คือสิ่งเดียวกัน 

เราทราบกันดีว่าความรู้มีสองชนิด ความรู้ภายนอก (Explicit knowledge) ที่เป็นความรู้หาได้จากตำรา ทฤษฏี งานเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เราสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ พร้อมใช้ได้ในทันที การจัดการความรู้ประเภทนี้ไม่ค่อยท้าทายความสามารถเท่าไหร่ครับ แต่ความรู้ประเภทหลังที่ผมจะพูดถึงนี่สิครับ ท้าทายมาก

สำหรับนักถอดบทเรียน นักจัดการความรู้ ความรู้ที่บอกว่าท้าทายคือ “ความรู้ฝังลึก” (Tacit knowledge)ครับ ...ยากมากสำหรับการดึงความรู้เหล่านี้ออกมา เพราะนักถอดบทเรียนไม่ได้มีทักษะ ที่แกร่งศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีศิลปะด้วย

>

>

>

บรรยากาศทีมงาน


 

ติดตามตอนต่อไปครับ ....

แล้วเราจะทำกระบวนการถอดบทเรียนกันอย่างไร?

หมายเลขบันทึก: 441423เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 08:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ทีมงานที่เข้มเเข็ง ต้องขอบคุณสำหรับความตั้งใจเเละความรักที่มอบให้กับกันเเละกัน

น้องเอก 20-23 มิถุนายนนะครับ เห็นทีมงานแล้ว วัยรุ่นมาก รออ่านต่อนะครับ...

ครับใช่ครับพี่ครับ ช่วง ๒๐ - ๒๓ มิย.

ทีมงานส่วนใหญ่เป็นวัยทีนหมดเลยครับ ;)

แก้ไขครับ...

เราจัดผ่านมาเเล้ว ๒๐ - ๒๓ พค. ๕๔ ครับ  ผมลงวันที่-เดือน ผิด (เป็นประจำ) ต้องขออภัยครับ

ดีครับ...

ดีมากเลยครับ สำหรับทีมงานนะครับ เเต่ผลลัพธ์นั้น จะมาเขียนอีกครั้ง ไปทำ workshop เเม้เป็นประเด็นที่เคยทำมาตลอด บทเรียนชุดใหม่ก็ยังมีมาให้ได้เรียนรู้เรื่อยๆ ติดตามต่อครับผม

โหน้องเอกพี่นึกว่ายังไม่ได้จัด เผื่อแอบไปแจม 555

ผมขออภัยครับพี่ขจิต ผมลงวันที่ผิดไป ... หากจัดไม่ไกลจาก กทม. เเละ พุทธมณฑล

ผมจะเเจ้งไปที่พี่นะครับ เผื่อว่า พี่จะได้สำแดงอิทธิฤทธิ์ช่วยผมด้วย :))

สวัสดีค่ะอาจารย์เอก

แนะนำตัวก่อนนะค่ะ พี่นกเทพาหนึ่งในสมาชิกทีมพยาบาลที่เข้าร่วมการประชุมเรื่องการถอดบทเรียนที่บ้านท้ายหาด สมุทรสงครามค่ะ ขอบุณที่ได้ช่วยเติมไฟฝัน และพลังในการเรียนรู้ นำทีมวิทยากรผู้น่ารักมาช่วยให้พวกพี่สามารถถอดบทเรียนและหัดเดินสู่เส้นทางนักเขียน ถ้ามีเรื่องราวดีๆ เชิญแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าสู่กันฟังบ้างนะค่ะ

ฝากความคิดถึงให้ทีมวิทยากรด้วยนะค่

รักและคิดถึง

พี่นก

น้องเอก อยากรู้จักพี่นกนฤมล อยู่ใกล้พี่แอน เทพาเลย

ไปช่วยจัดกิจกรรมครับ ไม่ใช่หนุมาน จะได้ สำแดงอิทธิฤทธิ์ 555 เจี๊ยก

สวัสดีค่ะอาจารย์เอก

อาจารย์เอกฝากขอบคุรคุณ ขจิต ด้วยนะค่ะ ที่อยากรู้จักพี่ เผื่อว่าคุณขจิตสนใจได้เข้ามาร่วมกระบวนการถอดบทเรียนให้กับทีมพยาบาล NODE ใต้ ซึ่งพวกพี่มีโครงการที่จะสอนวิจัยแบบบ้านๆ รวมไปถึงการถอดบทเรียน ชาวบ้านที่มารวมตัวกัน จาก รพร.สายบุรี รพสต.ยาบี (ปัตตานี) เทพา (สงขลา) ละงู ควนโดน(สตูล) เพื่อให้พวกเค้าสามารถค้นหาปัญหาของชุมชนตนเอง สามารถหาแนวทางแก้ไข คืนข้อมูลให้แก่ชุมชน นำไปสู่การแก้ปัญหาโดยภาคีเครือข่าย พวกพี่จัดทำกันเองสไตล์ง่ายๆอิงวิถีชาวบ้าน กะว่าจะจัดที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา เกาะยอ สงขลา (งบน้อยค่ะ ต้องช่วยกัน SAVE)

ยินดีที่ได้รู้จักกันผ่านบล๊อก อาจารย์เอกนะค่ะ

พี่นกเทพา สงขลา

พี่นก เทพา

มี Workshop อยากให้ทีมงานเราไปช่วย ก็บอกมาได้นะครับ อย่ากังวลเรื่องค่าใช้จ่ายครับ บอกมาได้เลย :)

โอ้โห เป็นบันทึกที่สำคัญมากๆ ค่ะคุณเอก ขอบคุณมากค่ะ :)

  • น้องเอกครับ
  • ขออนุญาตคุยกับพี่นกนะครับ
  • พี่นกลองไปอ่านที่นี่นะครับ
  • http://portal.in.th/kha-ku/pages/6363/
  • ขอบคุณครับ

รอเวลาการเรียนรู้ร่วมกันอีกรอบ..
แต่ตอนนี้ ขอเวลาพักฟื้นความคิด ความฝันและทุ่มให้ภารกิจภายในก่อนนะครับ
เพราะวิชาที่จะสอนนั้น เป็นความฝันของผม
เป็นพื้นที่ในการนำกระบวนการเหล่านี้ไปบรรจุไว้ในชั้นเรียน-ครับ

ฟา อ้ายเท่วมาร่วมเรียนรู้ด้วย

ฝากน้อง นก คิดถึงคนเทพาที่ชื่อน้อง ฮะ บังหีมถามหาอยู่

และพรุ่งนี้ จิตอาสาGotoKnow ลงพื้นที่จัดค่ายเยาวชน ที่เกาะหมากน้อย ขอกำลังใจหน่อยครับ

นำอาหารสุขภาพมาฝากทดลองทำและฝากบอกสอนต่อด้วยนะคะ 

 

http://gotoknow.org/blog/kanda02/441361    น้ำผักปั่น

 

     ใช้เครื่องปั่นธรรมดาไม่ต้องแยกกากนะคะ  ใช้น้ำเย็นจากตู้เย็นมาปั่นก็จะดื่มได้ดีกว่าน้ำไม่เย็น ดื่มตอนท้องว่างจะเยี่ยมมากนะคะ  ผู้ที่มีพุงๆยุบได้เลยค่ะ  ดื่มแล้วอิ่มนาน     ตัวเบา ผิวสวยค่ะ ฯลฯ

 

 

http://gotoknow.org/blog/kanda02/441642   นมธัญพืช

 

 

อยากมีโอกาสไปบ้างจังค่ะ

มีที่เหลือให้ชาวร.พพิจิตรไหมค่ะ

6-8 ก.ค54ที่เชียงใหม่น่ะค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์เอก

อยากทราบว่าถ้าจะรบกวนให้ทีมวิทยากรของอาจารย์ ช่วยสอนด้านการถอดบทเรียนให้กับแกนนำเครือข่ายการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อนำไปใช้ในการถอดบทเรียนการทำงาน ของแต่ละเครือข่าย ประมาณไม่เกิน 30 คน ระยะเวลา ประมาณ 3 วัน 2 คืน จัดในพื้นที่กทม.หรือจังหวัดใกล้เคียง อาจารย์คิดค่าวิทยากรประมาณเท่าไรครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท