ไปเปิดบ้าน KM กันเถอะ (2) มาดูทางเดิน KM ของศูนย์ฯ 8 กันก่อน


 

ศูนย์ฯ 8 ไม่ได้ทำ KM มาประเดี๋ยวประด๋าว แต่ว่ามีประวัติการเดินทางมายาวนาน กว่าจะเป็น KM แบบเนียนในเนื้องาน ... มาลองฟังเรื่องราวกันดูนะคะ

คุณหมอก้องและทีมงาน เล่าเรื่องราวไว้ว่า

... ศูนย์ฯ 8 มีการพัฒนาองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2542 ที่ได้จัดให้มีการอบรมเรื่องพัฒนาองค์กร ด้วยกระบวนการ TQM ปี 2544 จัดการอบรมพัฒนาองค์กรแก่เจ้าหน้าที่ทุกคน และในปี 2546 จัดอบรมเจ้าหน้าที่ทุกคนเรื่อง การเสริมสร้างพลังอำนาจ

จุดเริ่มต้นของการจัดการความรู้ของศูนย์ฯ ก็คือ การจัดทำโครงการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ เมื่อปี 2548 ภายใต้การนำองค์กรของท่าน ผอ.ศูนย์ฯ นพ.ชาญชัย พิณเมืองงาม

ในครั้งนั้น ได้มีการจัดอบรมการพัฒนาองค์กรเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ทั้งหมด ด้วยโครงการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีลักษณะเหมือนการทำกระบวนการ CQI ด้วยระบบ Plan - Do - Check - Act ในครั้งนั้น มีการแบ่งกลุ่มเจ้าหน้าที่ออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจัดทำการพัฒนาองค์กรตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายคือ การพัฒนาด้านผู้ให้บริการ การพัฒนาด้านผู้รับบริการ การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาองค์ความรู้

ในปีนั้น มีการนำเสนอผลงานการพัฒนาองค์กรของศูนย์ เป็นครั้งแรกวันที่ 4-6 กย.48 ณ โรงแรมลองบีช ชะอำ มีผลงานเข้าร่วมนำเสนอ 17 โครงการ ผลงานที่ได้รับรางวัลคือ อันดับที่ 1 เรื่องสนามของน้องหนู อันดับที่ 2 การพัฒนาระบบการเก็บและส่งสิ่งส่งตรวจ และอันดับที่ 3 การพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์

ต่อมาปี 2549 ศูนย์ได้รับการอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ จากสำนักงานจัดการความรู้ของกรมอนามัย จึงได้มีการจัดแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้เป็นครั้งแรก

จากนั้น จึงได้มีการอบรมให้มีความรู้พื้นฐานด้านการจัดการความรู้ เริ่มจากสอดแทรกเข้าไปในการอบรมของเจ้าหน้าที่ศูนย์ ในเรื่องศูนย์อนามัยที่ 8 ไร้พุง และได้เริ่มทำหลักสูตรการพัฒนาความรู้เรื่องการจัดการความรู้ ไม่ว่าจะเป็น ... การใช้เรื่องของการเล่า ... เรื่องการบันทึก ... เรื่องการถอดบทเรียน

ต่อมา คณะกรรมการฯ ได้เริ่มคิดหลักสูตรการจัดการความรู้ให้เนียนกับเนื้องาน ร่วมกับการจัดตั้ง KMB (Knowledge Management Builder) โดยอบรมให้เจ้าหน้าที่ได้รับการคัดเลือกเป็น KMB ให้สามารถจัดการความรู้ในหน่วยงานของตนเอง และชักนำให้ผู้อื่นทำได้ด้วย

โดยหลักสูตรเริ่มต้นจาก

  • การสอนความรู้พื้นฐานของ KM 
  • จากนั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ เรื่อง การทำ BAR (Before action review), DAR (During action review) และ AAR (After action review) และ
  • การถอดบทเรียน

โดยใช้เกณฑ์เป็นตัวอย่างของการจัดการความรู้

เดิม ศูนย์ ใช้โมเดลปลาทูอธิบายแนวทางของการจัดการความรู้ แต่เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ยังไม่เข้าใจที่จะนำไปใช้ในการทำกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมได้ คณะกรรมการ และ KMB จึงได้ร่วมกันจัดทำโมเดลการจัดการความรู้ในหน่วยงาน เพื่อเป็นแนวทางการจัดการความรู้ที่ง่ายและเหมาะสมกับบริบท เกิดเป็น KM Model ซึ่งประกาศและเป็นแนวทางการจัดการความรู้ในหน่วยงานมาจนถึงปัจจุบัน

ทุกๆ ปี ตั้งแต่ 2549 ศูนย์ฯ 8 ได้จัดตลาดนัดการจัดการความรู้ มีการนำเสนอทั้งบอร์ดวิชาการ การนำเสนอด้วยวาจา มีการมอบของรางวัล ทั้งรางวัลดีเด่น และรางวัลยอดนิยม โดยได้รับการสนับสนุนคณะกรรมการจากกรมอนามัย มาช่วยตัดสินเพื่อความเป็นกลาง

ในปี 2552 ศูนย์ได้เล็งเห็นผลของการจัดการความรู้ ที่ทำให้การพัฒนาคน พัฒนางาน จึงได้เริ่มสนับสนุนการจัดการความรู้กับภาคีเครือข่าย โดยได้จัดการอบรม KMM (Knowledge Management Manager) และการทำ KMM Model ขึ้นมา เพื่อจัดการความรู้กับภาคีเครือข่าย โดย KMM จะสามารถทำกระบวนการจัดการความรู้ เริ่มตั้งแต่การสอน การให้ความรู้ การแนะนำ และการบริหารจัดการกิจกรรมได้

จากการทำงานด้านการจัดการความรู้ มาอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการบริหารศูนย์เห็นถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ ในปี 2554 จึงได้บรรจุกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นผลงานที่ต้องใช้ประเมินผลงาน เพื่อการเลื่อนเงินเดือนด้วย โดยระบุขั้นตอนของกิจกรรมตามขั้นตอน KMP (Knowledge Management Process) ซึ่งมี 7 ขั้นตอน ได้แก่ การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลผลและการกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงข้อมูล การแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ และการเรียนรู้

จากกระบวนการที่พัฒนาเป็นลำดับ ก่อให้เกิดความรู้ นวัตกรรมมากมายในองค์กร ซึ่งจะเห็นได้จากองค์ความรู้ที่ได้นำเสนอในตลาดนัดวิชาการที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ตลอดจนนวัตกรรมที่ได้นำเสนอต่อหน่วยงานภายนอก และได้รับรางวัลจากกรมอนามัย ไม่ว่าจะเป็น ชุดคุณพ่อ โปรแกรมการตรวจพัฒนาการ การแก้ไขปัญหาเด็กตัวเหลือง การบูรณาการงานอนามัยแม่และเด็ก สวนสวยสู่ดิมผสม เป็นต้น

ผลลัพธ์จากการจัดการความรู้ที่ได้ นอกจากจะทำให้ศูนย์ฯ เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับในด้านการจัดการความรู้ แล้ว ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ มีความสามารถ กล้าพูด กล้าแสดงออก ตลอดจนมีความคิดริเริ่มการทำงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ยังมีผลก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำให้ผลการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม มีความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

ถามถึง ผู้ขับเคลื่อนทำให้เกิดการจัดการความรู้ของศูนย์ฯ ก็คือ ประธาน (CKO) ก็คือ คุณหมอก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์ CEO คือ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ คุณมอชาญชัย พิณเมืองงาม และคณะกรรมการ บางคน

คุณหมอก้องเป็น CKO มาตั้งแต่ปี 2547 ระหว่างนั้น มีคณะกรรมการฯ เป็นทีมที่มีการปรับเปลี่ยนไปบ้าง แต่กรรมการก็ต่อกันติด

และอีกส่วนหนึ่ง ที่ทำให้การจัดการความรู้ขับเคลื่อนได้ดี ก็คือ KMB เพราะว่าช่วงแรกของการจัดการความรู้ ขณะที่เจ้าหน้าที่อาจยังไม่มีความรู้มากนัก เราต้องมีการอบรม ให้ลักษณะของคนที่เป็นผู้สร้างความรู้ เพื่อก่อตัวให้เกิดความรู้ในงานขึ้นมา เมื่อทุกคนมีความรู้ก็จะสามารถทำให้ความรู้ของหน่วยงานดียิ่งขึ้น

การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยบริบทของความเข้าใจคนในองค์กร ในหน่วยงาน และออกแบบกิจกรรมที่จะไปขับเคลื่อน ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรของตนเองนะคะ

รวมเรื่อง ไปเปิดบ้าน KM กันเถอะ

หมอก้องไม่ได้มา present คนเดียว ... มีน้องๆ มาช่วยเยอะแยะมากมาย

น้องคอยจับภาพ

ช่วยกันคนละหลายไม้หลายมือค่ะ

ดูดีดี แม้แต่กระดาษเช็ดปาก ก็ยังประดิษฐ์ประดอย + งานนี้ Healthy Break ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 456457เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2011 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีครับคุณหมอ เพื่อน ร่วมทาง....

มาเรียนรู้ตามรอยKM ของศูนย์ อนามัย 8

เห็นเส้นทางการจัดการ

  • ตามลุงบังวอญ่ามาเรียนรู้ด้วยคน
  • เยี่ยมมาก
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะคุณแม่หมอมาเยี่ยมอ่านKM ที่ไม่ใช่ MK น่าสนใจมากนะคะกิจกรรมและอาหารว่าง น่าทานมากค่ะ สูตรไม่อ้วนนะคะ จัดสวยงามจริงๆ ด้วยจิตคารวะ ค่ะ

  • ตามมาเรียนรู้
  • ทางศูนย์ฯ 12 ไม่ได้ไปด้วย
  • คิดว่าจะหาทางไปดูงานในโอกาสหน้าค่ะ..
  • Ico48 + Ico48 + Ico48 + Ico48
  • คุยกันทุกท่านพร้อมกันเลย
  • ต้องลองมาที่นี่นะคะ ไปทางไหน เจ้าหน้าที่ก็สนใจเราไปโม๊ด เห็นแต่รอยยิ้ม คุยกับใคร ถามใครก็ได้ ไม่มีหลบเราเลยละ
  • อะไรจะน่าอิจฉาปานนั้น
  • มีโอกาสมาแวะเยี่ยมชมนะคะ ยินดีต้อนรับ ... อิอิ ทำยังก๊ะว่า เป็นเจ้าภาพ เน๊อะ

พี่นน บันทึกละเอียดมาก ๆ เลย วันหลังต้องจับตัวไปถอดบทเรียนเสียแล้วว่าเก็บข้อมูลอย่างไร จึงละเอียดปานนั้น ละเอียดกว่าคนนำเสนอเองอีกนะเนี่ย

  • Ico48
  • ไม่ยากเลย หลายคนทำอยู่แล้ว
  • MP3 ไงคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท