drapichart
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ สนธิสมบัติ

การจัดการองค์ความรู้ ด้านงานวิจัย


KM, SCI, RMUTT

บล็อกนี้ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของคณะวิทยาศาสตร์แลละเทคโนโลยี มทร.ธัญบุรี สำหรับด้านงานวิจัย ครับ กรุณาโพสต์ได้ที่นี่ครับ

คำสำคัญ (Tags): #km#rmutt#sci
หมายเลขบันทึก: 436186เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2011 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 1

วันที่  21  มีนาคม 2554

ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ด้านการวิจัย

เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้ทุน

1. หัวข้อโครงการวิจัย

1.1  เป็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน

1.2  สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ และมหาวิทยาลัยฯ

1.3  ไม่ซ้ำซ้อน (โดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ)

1.4  ชื่อเรื่องต้องกระชับ  สื่อความหมายชัดเจน

2.  หลักการและเหตุผล

2.1  สื่อที่มาของปัญหา

2.2  แสดงให้เห็นผลกระทบจากใหญ่-เล็ก

2.3   มีการทบทวนวรรณกรรมเพื่อนำมาต่อยอดงานวิจัย

2.4   ควรมีข้อมูลเชิงประจักษ์ของผู้อื่นที่เคยทำมาแล้ว

2.5   อธิบายให้ทราบถึงที่มาและความสำคัญของโครงการวิจัย

3.  วัตถุประสงค์ ขอบเขต และประโยชน์

3.1       สิ่งที่ทำและผลลัพธ์ต้องสอดคล้องกัน

3.2      ผลลัพธ์ที่ได้ต้องชัดเจน

3.3      มีความเป็นไปได้ทำได้จริง ภายในเวลาที่กำหนด

3.4      สามารถประยุกต์กับงานสาขาอื่นได้

3.5      นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

4.   ผู้วิจัย

4.1  มีเครือข่าย/ทีมวิจัย

4.2  มีประวัติดี มีชื่อเสียง (มีความน่าเชื่อถือ)

หัวข้อนี้ก็น่าสนใจนะครับ ปีหน้า KM อาจารย์เพิ่มคีย์เวิร์ดเกี่ยวกับ "ทำให้ได้ทุน" น่าจะเพิ่มเติมเป็น ทำให้ได้ทุน และมีประสิทธิภาพ ด้วยหรือไม่ครับ ตรงที่เติม เก็บไว้ไปทำในปีการศึกษา 2554 แทนครับ

หัวข้อนี้น่าสนใจมากครับ คิดว่าน่าจะช่วยให้อาจารย์ที่นำความรู้นี้ไปใช้ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยมากขึ้นครับ

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ควรเพิ่มรายละเอียดมากขึ้นในครั้งต่อไปนะครับ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 2

ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

องค์ความรู้ที่จำเป็น 1 : เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยเพื่อให้ได้ทุน

1. หัวข้อและประเด็นของโครงการวิจัย

1.1 เป็นที่น่าสนใจในปัจจุบัน/ไม่ซ้ำซ้อน (โดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ISI, Sciencedirect,

IEEE, google scholar, TCI)

1.1.1 องค์ความรู้ใหม่ที่เป็นที่สนใจของนักวิจัยทั่วโลกเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ เช่น

- นาโนเทคโนโลยี

- พลังงานทดแทน

- สิ่งแวดล้อม

1.1.2 แก้ไขปัญหาของประเทศ หรือสอดคล้องกับโครงการตามแนวพระราชดำริ เช่น

- น้ำท่วม/ดินถล่ม

- การเกษตร (ผลผลิต การแปรรูป น้ำเสีย)

- การขาดแคลนพลังงาน (พลังงานชีวมวล พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์)

1.2 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ และมหาวิทยาลัยฯ

1.2.1 นโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลปัจจุบัน

1.2.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

1.2.3 นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ

1.2.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด

1.2.5 นโยบายของแหล่งทุนต่าง ๆ เช่น กระทรวง มหาวิทยาลัย สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการวิจัย (สกว.) สภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) และหน่วยงานต่าง ๆ

1.2.6 ความเร่งด่วนของปัญหา ผลกระทบทางบวกและทางลบต่อสภาวะเศรษฐกิจ สังคม

ความสมานฉันท์ ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย ความสามารถในการแข่งขันของ

สังคม ความยากจนของประชาชน เสถียรภาพของประเทศ ฯลฯ

1.2.7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาของคณะฯ

1.3 ชื่อเรื่องต้องกระชับและสื่อความหมายชัดเจน

1.3.1 เป็นวลี ข้อความ หรือประโยคที่สมบูรณ์

1.3.2 ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาที่เชื่อถือได้ในวิชาชีพนั้น ๆ

1.3.3 เห็นลักษณะของตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง และขอบเขตของการวิจัย

2. หลักการและเหตุผล

2.1 สื่อที่มาของปัญหา

2.1.1 เริ่มจากสภาพปัจจุบันของสิ่งที่จะวิจัย

2.1.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับสิ่งที่จะวิจัย

2.2 แสดงให้เห็นผลกระทบจากใหญ่-เล็ก

2.2.1 มีความต่อเนื่องกัน ในแต่ละย่อหน้าผู้เขียนต้องเขียนให้ต่อเนื่องกัน ห้ามเขียนวกไปวนมา

โดยต้องยึดหลักการเขียนตามข้อ 1

2.2.2 ตรงประเด็น และชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย ไม่ควรเขียนเยิ่นเย้อ และนอกเรื่อง

เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้เขวได้

2.3 มีข้อมูลอ้างอิง เพื่อความน่าเชื่อถือ

2.3.1 มีการทบทวนวรรณกรรมเพื่อนำมาต่อยอดงานวิจัย การมีข้อมูลอ้างอิงจะทำให้งานวิจัยมีคุณค่า

และบางครั้งทำให้การเขียนมีความสละสลวย มีเหตุมีผล

2.3.2 ควรมีข้อมูลเชิงประจักษ์ของผู้อื่นที่เคยทำมาแล้ว

2.4 อธิบายให้ทราบถึงที่มาและความสำคัญของโครงการวิจัย

2.4.1 สรุปเหตุผลที่ผู้วิจัยจะศึกษา ในส่วนสุดท้ายของความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย ใน

ส่วนนี้นิยมใช้คำว่า “จากที่กล่าวมาแล้ว ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ หรือ ศึกษา..”

3. วัตถุประสงค์ ขอบเขต และประโยชน์

3.1 ภาษาที่ใช้ต้องเข้าใจง่าย และแจ่มชัดในตัวเอง

3.1.1 คำที่ควรใช้ขึ้นต้นในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย เช่น เพื่อศึกษา… เพื่อพัฒนา… เพื่อ

เปรียบเทียบ… และ เพื่อสร้าง หรือ เพื่อพัฒนา…

3.2 สิ่งที่ทำและผลลัพธ์ต้องสอดคล้อง/สัมพันธ์ กับชื่อเรื่องการวิจัย

3.3 ระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร กับใคร ที่ไหน

3.4 ผลลัพธ์ที่ได้ต้องชัดเจน

3.5 มีความเป็นไปได้ทำได้จริง ภายในเวลาที่กำหนด

3.6 สามารถประยุกต์กับงานสาขาอื่นได้

3.7 นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

4. ผู้วิจัย

4.1 มีเครือข่าย/ทีมวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญในหัวข้องานวิจัย

4.2 มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัย

4.3 มีประวัติดี มีชื่อเสียง (มีความน่าเชื่อถือ)

จากการสัมมนาในครั้งที่ 2 นี้ ทุกคนได้ทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อนี้กันอย่างจริงจังทำให้ได้รายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติมขึ้น และน่าสนใจมากขึ้นค่ะ

สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ประเด็นความรู้ : ประเด็นการจัดการความรู้เพื่อพัฒนางานวิจัย

หัวข้อการจัดการความรู้ : การจัดทาแผนงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ

วันเดือนปีที่ดาเนินการ : 18 พฤษภาคม 2555

สรุปองค์ความรู้ที่ได้ :

            1. การจัดกลุ่มของกลุ่มนักวิจัยให้สอดคล้องกับกลุ่มของชุมชน โดยการเข้าหากลุ่มชุมชนเพื่อจะได้ทราบปัญหาและความต้องการอย่างแท้จริงของชุมชน จัดกลุ่มชุมชนต่างๆ ทั้งในกลุ่มเกษตร อุตสาหกรรม บริการ และแบ่งแยกองค์รวมในมิติต่างๆ ดูกลุ่มนักวิจัย บุคลากรในมหาวิทยาลัยที่เชียวชาญในกลุ่มต่างๆ และจับกลุ่มให้สอดคล้องเข้ากับชุมชน นางานวิจัยที่เคยตีพิมพ์กลับมาใช้งานในสังคมร่วมกับสร้างผลงานวิจัยใหม่ที่สามารถนาผลงานวิจัยมาใช้กับชุมชนได้ ผลที่ได้รับคือ การได้ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัยทาให้มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง ได้ผลงานวิจัยที่นาไปใช้ได้ในชุมชน ผลงานวิจัยนาไปสร้างชื่อเสียงทางวิชาการให้กับมหาวิทยาลัย

           2. กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research/PAR) คือ การวิจัยที่มีกระบวนการวิจัยที่มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในชุมชน/หรืออาจจะต้องเน้นงานวิจัยในลักษณะ R&D (Research and Development) โดยมีเทคนิคที่สามารถประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์และความเหมาะสม เช่น PRA Mind mapping, Focus group, Brain storming, การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เป็นต้น ซึ่งมีนักวิจัยหรือผู้อานวยการเป็นผู้ประสานงาน โดยให้ชุมชนร่วมกันคิดประเด็นปัญหา ร่วมวางแผน ร่วมดาเนินการ ร่วมประเมินผลและร่วมรับผลประโยชน์ร่วมกัน และบูรณาการการบริการวิชาการสู่ชุมชน เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของชุมชน ทาให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความต้องการของชุมชน และเกิดผลกระทบซึ่งบวกหรือประโยชน์สู่ชุมชน นอกจากนี้ยังเกิดผลผลิตที่เอื้อต่อชุมชน เช่น สร้างงานสร้างอาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนจากการพัฒนาชุมชนในภาพรวม ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของรู้สึกของการทางานมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาของตนเอง และมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ชุมชนได้ค้นหาปัญหาชุมชนและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

          3. ศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชนและคลินิกเทคโนโลยี โดยลงพื้นที่ชุมชน ตั้งประเด็นปัญหาให้สอดคล้อง หาแหล่งทุนที่สนับสนุนการพัฒนาชุมชน การพัฒนาชุมชนจากแหล่งอื่นๆ นอกจากงบประมาณเงินรายได้ เช่น จากภาคเอกชน/ภาครัฐอื่นๆ/อบต.เป็นต้น นางานวิจัยไปเผยแพร่ให้กับชุมชน ซึ่งเป็นผลทาให้นักวิจัยได้งานวิจัยที่ประสบผลสาเร็จได้ผลผลิตที่เป็นประโยชน์และสามารถสร้างผลผลิตที่สร้างรายได้เพิ่ม ลดต้นทุน และเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน

          4. หาแหล่งทุนจากภายนอก เพื่อเพิ่มโอกาสสู่นักวิจัย โดยการนามาแหล่งทุนมาพัฒนาชุมชน เข้าหาชุมชนเพื่อสอบถามความต้องการของชุมชน สารวจว่าชุมชนหรือหมู่บ้าน ทาอาชีพอะไร แล้วนามาเป็นหัวข้องานวิจัย เสนอต่อหน่วยงานเพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ชุมชนต้องการให้เราช่วยได้เกี่ยวกับพัฒนาต่อยอด ผลที่คือ ได้ส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยใหม่ๆ ในประเทศ ได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างถูกวิธี ได้ลดต้นทุนการผลิตเพิ่มประสิทธิภาพสู่งานอุตสาหกรรม

          5. การประยุกต์ใช้ IT กับงานชุมชน มีวิธีการโดยการเก็บข้อมูลจากชุมชน และนามาวิเคราะห์หาข้อมูลและนาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการออกแบบและออกแบบโดยให้เป็น Project ของนักศึกษาในการทาโปรแกรม ทาให้ได้โปรแกรมช่วยเหลือชุมชน ร่วมไปกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อแลกเปลี่ยนชุมชน ร่วมไปกับใช้ E – Commerce ช่วยในการหาช่องทางในการจาหน่ายสินค้า

          6. การเรียนรู้ทางด้านชีวภาพ วิธีการโดยทาการศึกษาความต้องการของชุมชน เช่น ชุมชนมีปัญหาของเสียมูลสัตว์ ทาการพัฒนากระบวนการการหมักก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ถ่ายทอดให้ชุมชน ทาให้ชุมชนลดต้นทุนพลังงาน มหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์กับชุมชน

          7. การนางานวิจัยไปเผยแพร่ในการประชุมทางวิชาการระดับชาติ วิธีการโดยทาการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทาการสารวจปัญหาและความต้องการจากชุมชน/สังคม สร้างกรอบแนวความคิดและกระบวนการใช้การวิจัย เก็บข้อมูลภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัย เริ่มเขียนบทความ/งานวิจัย โดยสรุปแต่ละส่วน ออกเป็น Part ละหน้า ให้ผู้ร่วมวิจัยอื่นๆ ทบทวน ส่งผลงานเพื่อนาเสนอ/เผยแพร่จากการประชุมทางการระดับนานาชาติ ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ได้ผลงานของอาจารย์ในวิทยาลัยเผยแพร่ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ได้ผลงานของนักศึกษาของวิทยาลัยเผยแพร่ในการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาต

ประเด็นการจัดการความรู้เพื่อพัฒนางานวิจัย

รายงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management, KM) ด้านการวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปี 2555

http://ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/000/818/369/original_KM_Research_2555.pdf

บทสรุปเรื่อง

การตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน

  เทคนิคในการสำรวจรวมความต้องการของชุมชนจากการระดมความรู้ของคณะทำงานด้านงานวิจัยหลาย ๆ ครั้งแล้วสามารถสรุปข้อมูลเพื่อการตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน ดังนี้

3.1 ช่องทางที่ได้มาของโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน

  3.1.1 นักวิจัยต้องเข้าไปหาโจทย์ปัญหาในท้องถิ่นจากแหล่งต่างๆได้แก่

-  ผู้นำชุมชน

-  ผู้นำศาสนา

-  ศิษย์เก่า

-  ข่าว/ประเด็น/สื่อ

-  พัฒนากรอำเภอ และพัฒนาการจังหวัด

-  การสังเกตและรวบรวมปัญหาในชุมชนโดยนักวิจัยออกไปสู่ท้องถิ่น

-  ข้อมูลสถิติแห่งชาติ หรือข้อมูลด้านสารสนเทศต่าง ๆ

  3.1.2 นักวิจัยควรนำโจทย์จากแหล่งปัญหาและจากการสังเกตของนักวิจัยที่เข้าใจปัญหามาพิจารณาและ (นักวิจัย) ต้องรวบรวมปัญหา เพื่อตั้งโจทย์งานวิจัยให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในชุมชน ดังนั้นจึงสรุปกิจกรรมในการจัดการความรู้ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

  3.1.2.1 กิจกรรมเกี่ยวกับ “การค้นหาความรู้” คณะทำงานสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ได้รวมตัวกันเพื่อนำโครงการตัวอย่างมาประกอบการสร้างองค์ความรู้ให้เกิดการนำโจทย์วิจัยที่สนองความต้องการของชุมชนโดยแท้จริงจึงได้นัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมพลังสมองจากประสบการณ์ของอาจารย์ที่เคยทำงานวิจัยด้านต่าง ๆ รวมกลั่นเป็น

  3.1.2.2 กิจกรรมเกี่ยวกับ “การเสาะหาหัวข้อโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน” หลังจากการสำรวจความต้องการของชุมชน  นักวิจัยจะต้องอาศัยเทคนิคการเสาะหาเพื่อตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน โดยนักวิจัย ผู้ร่วมวิจัย และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องบูรณาการกับองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อตั้งโจทย์วิจัยในการพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับหน่วยงานแหล่งทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยนักวิจัยต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี

  - รวบรวมข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนความรู้จากนักวิจัย และจากการสำรวจความต้องการของชุมชนมาทำการพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาปัญหาจากแหล่งข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อสรุปโจทย์วิจัยในการพัฒนาชุมชน

  - การแลกเปลี่ยนความรู้จากนักวิจัย และผู้มีประสบการณ์จากการประชุมสัมมนา การพบปะนัดหมายในโอกาสต่างๆ ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์  และการนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา


การประชุมกลุ่มย่อยในการ “การตั้งโจทย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ SC 1306 

การประชุม Km ครั้งที่ 4  (29 เมษายน 2556)


 -  ศึกษาจากปัญหาในข้อมูลงานวิจัย

-  ศึกษาจากการประชุมสัมมนาและรายงานการประชุมกลุ่มย่อย ดัง

- นักวิจัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบควรประชุมหารือร่วมกัน เพื่อทำให้ได้โจทย์วิจัยที่ตรงกับความต้องการชุมชนจากการดำเนินการข้างต้นแล้วควรได้รายละเอียดจากผู้ที่ได้รับผลกระทบอยู่ในทีมด้วยจะทำให้นักวิจัยมีโอกาสจะได้รับทุนดีกว่า เพราะฉะนั้นในการประชุมกลุ่มย่อยต้องมีผู้ที่ได้รับผลกระทบมาร่วมประชุมด้วยจะทำให้ได้โจทย์ตรงความต้องการของชุมชน ซึ่งสามารถสรุปที่มาของโจทย์วิจัยจาก 2 ช่องทาง คือ

(1)  โจทย์เข้าหานักวิจัย 

(2)  นักวิจัยเข้าหาโจทย์

3.1.2.3 ลักษณะของโจทย์วิจัยเพื่อชุมชนที่ดี

  กิจกรรมเกี่ยวกับ “เทคนิคการตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน” ภายหลังจากดำเนินการในขั้นตอนที่ 2 แล้ว นักวิจัยต้องดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้ เพื่อจะทำให้นักวิจัยได้โจทย์วิจัยที่ตรงกับความต้องการของชุมชน

  (1) ตั้งโจทย์การศึกษาวิจัยให้ครบทุกด้านได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ เพื่อจะได้บรรลุผลตรงตามเป้าหมาย

  (2) เชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาชุมชนในแต่ละด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ

  (3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสม และสามารถพัฒนาต่อยอดงานวิจัยได้อย่างต่อเนื่องที่เพิ่มคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นกว่าเดิม ก่อนนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชน ในเวทีวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งจะทำให้ได้โจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนที่กว้างขวางและสร้างเครื่องข่ายงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

-  หลังจากนักวิจัยทำการวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนในชุมชนบรรลุตามเป้าหมายแล้ว จำเป็นที่นักวิจัยต้องบูรณาการปัญหา นวัตกรรมและเทคโนโลยีขยายไปยังชุมชนอื่นๆ เพื่อทำการวิจัยและเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพดีๆ ไปยังชุมชนใหม่ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้นักวิจัยได้โจทย์วิจัยอย่างไม่หยุดนิ่ง และมีดัชนีชี้วัดที่เด่นชัดสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนอื่นๆและ

-  ประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง


บทที่ 3

บทสรุปเรื่อง

การตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน

  เทคนิคในการสำรวจรวมความต้องการของชุมชนจากการระดมความรู้ของคณะทำงานด้านงานวิจัยหลาย ๆ ครั้งแล้วสามารถสรุปข้อมูลเพื่อการตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน ดังนี้

3.1 ช่องทางที่ได้มาของโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน

  3.1.1 นักวิจัยต้องเข้าไปหาโจทย์ปัญหาในท้องถิ่นจากแหล่งต่างๆได้แก่

-  ผู้นำชุมชน

-  ผู้นำศาสนา

-  ศิษย์เก่า

-  ข่าว/ประเด็น/สื่อ

-  พัฒนากรอำเภอ และพัฒนาการจังหวัด

-  การสังเกตและรวบรวมปัญหาในชุมชนโดยนักวิจัยออกไปสู่ท้องถิ่น

-  ข้อมูลสถิติแห่งชาติ หรือข้อมูลด้านสารสนเทศต่าง ๆ

  3.1.2 นักวิจัยควรนำโจทย์จากแหล่งปัญหาและจากการสังเกตของนักวิจัยที่เข้าใจปัญหามาพิจารณาและ (นักวิจัย) ต้องรวบรวมปัญหา เพื่อตั้งโจทย์งานวิจัยให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการในชุมชน ดังนั้นจึงสรุปกิจกรรมในการจัดการความรู้ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

  3.1.2.1 กิจกรรมเกี่ยวกับ “การค้นหาความรู้” คณะทำงานสาขาวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ได้รวมตัวกันเพื่อนำโครงการตัวอย่างมาประกอบการสร้างองค์ความรู้ให้เกิดการนำโจทย์วิจัยที่สนองความต้องการของชุมชนโดยแท้จริงจึงได้นัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมพลังสมองจากประสบการณ์ของอาจารย์ที่เคยทำงานวิจัยด้านต่าง ๆ รวมกลั่นเป็น

  3.1.2.2 กิจกรรมเกี่ยวกับ “การเสาะหาหัวข้อโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน” หลังจากการสำรวจความต้องการของชุมชน  นักวิจัยจะต้องอาศัยเทคนิคการเสาะหาเพื่อตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน โดยนักวิจัย ผู้ร่วมวิจัย และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องบูรณาการกับองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อตั้งโจทย์วิจัยในการพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับหน่วยงานแหล่งทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยนักวิจัยต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี

  - รวบรวมข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนความรู้จากนักวิจัย และจากการสำรวจความต้องการของชุมชนมาทำการพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ศึกษาปัญหาจากแหล่งข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อสรุปโจทย์วิจัยในการพัฒนาชุมชน

  - การแลกเปลี่ยนความรู้จากนักวิจัย และผู้มีประสบการณ์จากการประชุมสัมมนา การพบปะนัดหมายในโอกาสต่างๆ ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์  และการนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษา

 การประชุมกลุ่มย่อยในการ “การตั้งโจทย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน” ณ SC 1306 

การประชุม Km ครั้งที่ 4  (29 เมษายน 2556)


ศึกษาจากปัญหาในข้อมูลงานวิจัย

-  ศึกษาจากการประชุมสัมมนาและรายงานการประชุมกลุ่มย่อย
- นักวิจัยและผู้ที่ได้รับผลกระทบควรประชุมหารือร่วมกัน เพื่อทำให้ได้โจทย์วิจัยที่ตรงกับความต้องการชุมชนจากการดำเนินการข้างต้นแล้วควรได้รายละเอียดจากผู้ที่ได้รับผลกระทบอยู่ในทีมด้วยจะทำให้นักวิจัยมีโอกาสจะได้รับทุนดีกว่า เพราะฉะนั้นในการประชุมกลุ่มย่อยต้องมีผู้ที่ได้รับผลกระทบมาร่วมประชุมด้วยจะทำให้ได้โจทย์ตรงความต้องการของชุมชน ซึ่งสามารถสรุปที่มาของโจทย์วิจัยจาก 2 ช่องทาง คือ

(1)  โจทย์เข้าหานักวิจัย 

(2)  นักวิจัยเข้าหาโจทย์


3.1.2.3 ลักษณะของโจทย์วิจัยเพื่อชุมชนที่ดี

  กิจกรรมเกี่ยวกับ “เทคนิคการตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน” ภายหลังจากดำเนินการในขั้นตอนที่ 2 แล้ว นักวิจัยต้องดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้ เพื่อจะทำให้นักวิจัยได้โจทย์วิจัยที่ตรงกับความต้องการของชุมชน

  (1) ตั้งโจทย์การศึกษาวิจัยให้ครบทุกด้านได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ เพื่อจะได้บรรลุผลตรงตามเป้าหมาย

  (2) เชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนานวัตกรรม เพื่อการพัฒนาชุมชนในแต่ละด้าน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ

  (3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสม และสามารถพัฒนาต่อยอดงานวิจัยได้อย่างต่อเนื่องที่เพิ่มคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นกว่าเดิม ก่อนนำไปเผยแพร่สู่สาธารณชน ในเวทีวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งจะทำให้ได้โจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนที่กว้างขวางและสร้างเครื่องข่ายงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

-  หลังจากนักวิจัยทำการวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนในชุมชนบรรลุตามเป้าหมายแล้ว จำเป็นที่นักวิจัยต้องบูรณาการปัญหา นวัตกรรมและเทคโนโลยีขยายไปยังชุมชนอื่นๆ เพื่อทำการวิจัยและเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพดีๆ ไปยังชุมชนใหม่ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้นักวิจัยได้โจทย์วิจัยอย่างไม่หยุดนิ่ง และมีดัชนีชี้วัดที่เด่นชัดสามารถนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนอื่นๆและ

-  ประเทศชาติอย่างต่อเนื่อง

ผศ.ดร.เนตรนภิส แก้วช่วย

ดีค่ะ สามารถเป็นแนวทางนำไปใช้ทำงานวิจัยได้

ดร.ปรียาภรณ์ ไชยสัตย์

เป็นแนวทางที่ดีในการตั้งโจทย์วิจัย

น่าสนใจครับ

คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM) (ระยะที่ 4) เมื่อวันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ณ ห้องประชุมวิทยบงกช ห้องประชุม SC1306 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการรวบรวมองค์ความรู้ด้านต่างๆ ได้แก่ การเรียนการสอน และงานวิจัย มาพัฒนาให้เป็นองค์ความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานภายในคณะฯ ต่อไป

รายงานการจัดการองค์ความรู้ เรื่อง การตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

KM-Research2013.pdf

ดาวน์โหลด

รายงานการจัดการองค์ความรู้

เรื่อง การตั้งโจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

KM-Research2013-1.pdf

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ประจำปีการศึกษา 2560

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ประจำปีการศึกษา 2560 โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เนตรนภิส แก้วช่วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัยเป็นประธานเปิดโครงการ 

องค์ความรู้กลุ่ม

“เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Q1- Q2 ที่มี Impact factor”

 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2561 ณ ห้อง ST-1 308 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา

สรุปแนวปฏิบัติที่ดีประเด็นการจัดการความรู้ “เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีค่า impact factor และอยู่ในฐานข้อมูลงานวิจัย Q1, Q2”

สรุปการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ประจำปีการศึกษา 2560สรุปแนวปฏิบัติที่ดีประเด็นการจัดการความรู้ “เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีค่า impact factor และอยู่ในฐานข้อมูลงานวิจัย Q1, Q2”

กิจกรรม การจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management : KM คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มการวิจัย “เทคนิคการของบวิจัยจากภายนอก” ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา

KM คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มการวิจัย “เทคนิคการของบวิจัยจากภายนอก”

เทคนิคการของบวิจัยจากภายนอก

สรุปการจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management :KM) ประจำปีการศึกษา 2561

ประเด็นการจัดการความรู้เทคนิคการของบวิจัยจากภายนอก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท