ทั่วๆ ไปเกี่ยวกับ PostgreSQL Trois ... กันลืม ... อิๆๆๆ


มาเขียนกันลืมอีกแล้ว ต่อเลยน่ะครับ เดี๋ยวหมดรมณ์ เขียนซะก่อน... อิๆๆ

      อืม ถึงไหนแล้ว อืม...................

      อ้อ เมื่อเราทำการลง PostgreSQL ในเครื่องเราเสร็จแล้ว และเขียนโปรแกรมภาษาอะไรก็ตามติดต่อกับฐานข้อมูล PostgreSQLได้แล้ว จะสังเกตได้ว่าเวลา access ไปที่ตัวเครื่องที่เก็บฐานข้อมูล เราจ access ได้เฉพาะที่เป็นเครื่องของเรา หรือ localhost เท่านั้น บางคนอาจอยากทำ PostgreSQL ให้เป็นโปรแกรมบนเซิฟเวอร์และให้เครื่องลูกอืนๆ ในระบบหรือที่อยู่นอกระบบสามารถเข้ามาใช้ฐานข้อมูลที่มีร่วมกันได้ แต่เวลาทำการ access ผ่านโปรแกรม pgadmin ทีไรก็จะฟ้อง error ออกมาตลอดว่า

postgresql_server

ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจาก ไฟล์คอนฟิกของ PostgreSQL ที่ถูกดีฟอลท์มาให้ไปทำการอ่านค่าเฉพะที่เป็น ip ของ localhost เท่านั้น ซึ่งวิธีการแก้ไขก็ง่ายๆ คือ ให้ไปทำการแก้ไขไฟล์คอนฟิกให้ถูกต้องนั่นเอง

 โดยการเข้าไปยังโปรแกรม terminal ผ่าน super user(root) นั่นเอง

       ----># sudo gedit /etc/postgresql/8.3/main/postgresql.conf

หรือ ----># sudo nana /etc/postgresql/8.3/main/postgresql.conf ก็ได้

     ถ้าใช้อย่างแรกจะได้ไฟล์ออกมาหน้าตาเป็นแบบนี้คือpostgresql


    ให้เรามองหา บรรทัดที่เขียนว่า

    listen_addresses = 'localhost'            # what IP address(es) to listen on;

    และเปลี่ยนจาก localhost เป็น เครื่องหมาย * แทน และทำการเซฟเก็บเอาไว้ก็เป็นอันเสร็จ

    อีกไฟล์หนึ่งที่ต้องเข้าไปแก้ไขคือ ไฟล์ที่มีชื่อว่า pg_hba.conf     

    ----># sudo gedit /etc/postgresql/8.3/main/pg_hba.conf

    pg_hba.cof

   ให้มองหาตรงที่จะทำการกำหนดวงของ ip เครื่องที่จะสามารถเข้ามาใช้งาน PostgreSQL ที่เครื่องนี้ได้

   # "local" is for Unix domain socket connections only
   local   all        all                               ident sameuser
   # IPv4 local connections:
   host     all       all         127.0.0.1/32       md5
   # IPv6 local connections:
   host    all        all         ::1/128               md5

   สังเกตว่า ตรง IPv4 จะเป็นตัวกำหนดความกว้างของ ip ในเน็ตเวิร์กว่าเป็นเท่าไหร่ ในภาพคือ เป็น ip ของ localhost เท่านั้น ให้เปลี่ยนเป็นการใช้งานในวงแลนขององค์กร โดยเปลี่่ยนจาก 127.0.0.1/32 เป็น 192.168.0.0/24 หรือว่าหากต้องการเพิ่มความกว้างของ ip ก็สามารถกำหนดได้ตามใจชอบ

   ส่วนผมนั้นผมจะเปลี่ยนไปเป็น 0.0.0.0/0 ไว้เลย ไม่ว่าไอพีส่วนไหนจากเครื่องไหนๆ ของโลกก็สามารถเข้ามาที่เครื่องนี้ได้เลย แต่การกำหนดแบบนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลของเราได้ จึงต้องระวังและมีการป้องกันที่ดีด้วย

หมายเลขบันทึก: 301754เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท