ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน


ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน

คอมพิวเตอร์วางตัก เป็นศัพท์บัญญัติที่ราชบัณฑิตยสถานเพิ่งบัญญัติขึ้นเพื่อใช้แทนคำว่า Laptop Computer บางคนเห็นด้วย บางคนโต้แย้ง คำว่า Computer นั้น ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติให้ใช้คำว่า คณิตกรณ์ แต่ไม่มีใครใช้ มักใช้ทับศัพท์ว่าคอมพิวเตอร์ หรือภาษาปากก็ใช้เพียงสั้นๆ ว่า คอม

รายการโทรทัศน์รายการหนึ่งนำศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานมาเป็นคำถามในรายการ ได้แก่คำว่า

Hard ware กระด้างภัณฑ์

Soft ware ละมุนภัณฑ์

Joy stick แท่งหรรษา

ทำให้เกิดความสับสนจนราชบัณฑิตยสถานต้องออกมาแก้ไขว่าคำศัพท์ทั้ง 3 คำนั้นราชบัณฑิตย์ได้บัญญัติให้ใช้ดังนี้

Hard ware ส่วนเครื่อง ส่วนอุปกรณ์

Soft ware ส่วนชุดคำสั่ง

Joy stick ก้านควบคุม

คำทั้ง 3 นี้ อาจใช้ทับศัพท์ว่า ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือจอยสติ๊ก ก็ได้

วิธีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ในภาษาไทยควรใช้เฉพาะคำที่เป็นวิสามานยนาม ได้แก่ ชื่อประเทศ ชื่อคน ชื่อภาษา และคำที่เป็นชื่อของวัตถุ หรือคำที่ยังไม่ได้บัญญัติศัพท์ไว้ หากมีการบัญญัติคำขึ้นใหม่ก็ควรใช้คำที่เป็นภาษาไทย โดยเฉพาะในการเขียนซึ่งควรใช้ภาษาระดับทางการ

หลักเกณฑ์การบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานมีดังนี้

1. หาคำไทยที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดมาใช้แทนคำศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น

Pattern ใช้ว่า กระสวน

Standpoint ใช้ว่า จุดยืน

Electric ใช้ว่า ไฟฟ้า

Tea spoon ใช้ว่า ช้อนชา

Table spoon ใช้ว่า ช้อนโต๊ะ

Dry cleaning ใช้ว่า ซักแห้ง

Blacklist ใช้ว่า บัญชีดำ

Honeymoon ใช้ว่า น้ำผึ้งพระจันทร์

2. ในกรณีที่หาคำไทยมาใช้แทนคำยืมภาษาต่างประเทศไม่ได้ จะนำคำบาลี สันสกฤต เขมร มาสร้างศัพท์ใหม่ขึ้น หรือนำมาประสมกับคำไทย เช่น

Television ใช้ว่า โทรทัศน์

Microscope ใช้ว่า จุลทรรศน์

3. หากไม่สามารถบัญญัติศัพท์ที่เหมาะสมได้จะใช้ทับศัพท์ เช่น

Night club ใช้ว่า ไนต์คลับ

Sweater ใช้ว่า สเวตเตอร์

Lipstick ใช้ว่า ลิปสติก

Clinic ใช้ว่า คลินิก

Technology ใช้ว่า เทคโนโลยี

Fashion ใช้ว่า แฟชั่น

Picnic ใช้ว่า ปิกนิก

Concert ใช้ว่า คอนเสิร์ต

Cartoon ใช้ว่า การ์ตูน

Vaccine ใช้ว่า วัคซีน

ตัวอย่างศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน

Vision ใช้ว่า วิสัยทัศน์

Communication ใช้ว่า การสื่อสาร

Pollution ใช้ว่า มลพิษ

Globalization ใช้ว่า โลกาภิวัฒน์

Video ใช้ว่า วีดิทัศน์

Image ใช้ว่า ภาพลักษณ์

Figure of speech ใช้ว่า ภาพพจน์

Overload ใช้ว่า โหลดเกิน โอเวอร์โหลด

Adapter ใช้ว่า ตัวปรับต่อ

Email ใช้ว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

อย่างไรก็ตามภาษาไทยนั้นมีระดับ จึงต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส การสนทนาระหว่างครูและนักเรียนคงไม่จำเป็นจะต้องใช้ว่า

"รายงานฉบับนี้ให้เขียนด้วยลายมือของตนเอง ห้ามพิมพ์ด้วยคณิตกรณ์นะคะ ใครมีอะไรสงสัยก็ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปถามครูได้"


คำสำคัญ (Tags): #ศัพท์บัญญัติ
หมายเลขบันทึก: 450077เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2011 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2016 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

May I point out 2 typing errors?

- [Swrater] Sweater ใช้ว่า สเวตเตอร์ (มาจาก sweat : เหงื่อ)

- [Figure of speed] figure of speech ใช้ว่า ภาพพจน์

and 'email' is used more than e-mail ;-)

สวัสดีค่ะ

  ขอบคุณมากค่ะ  ที่ช่วยเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์ขึ้น

Thank you for sharing useful things.

I do think that we should try our best to provide 'correct data'.

BTW, please also look at " Communnication ใช้ว่า การสื่อสาร" (too many 'n' in there)

สวัสดีค่ะ

  ขอบคุณมากค่ะที่กรุณาทักท้วงมา  และได้กลับไปแก้ไขให้ถูกต้องแล้วค่ะ

ศัพท์บัญญัติฯ จะมีหลายด้าน เช่น คอมพิวเตอร์ แพทยศาสตร์ และวรรณกรรม เป็นต้น อาทิเช่น ที่ยกตัวอย่างคำว่า

pattern - ทางแพทยศาสตร์ ใช้คำว่า แบบอย่าง, แบบรูป, กระสวน หรือ
- ทางคอมพิวเตอร์ใช้คำว่า แบบ, แบบรูป, แบบอย่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท