Zotero โปรแกรมบรรณานุกรมใหม่


Zotero โปรแกรมบรรณานุกรมมาแรง แซง EndNote

     โปรแกรม ZOTERO เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ใช้งานร่วมกับเว็บบราวเซอร์ Firefox และ Flock สำหรับการจัดเก็บรายการบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง และสาระสังเขป รูปภาพ แหล่งที่มาซึ่งอาจเป็นเอกสารชนิดต่างๆ ที่เป็นรายการอ้างอิง เช่น ไฟล์ PDF, รูปภาพ โปรแกรมสามารถสืบค้นมาจากแหล่งต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลออนไลน์ ฐานข้อมูลห้องสมุด ฯลฯ 
     นอกจากนี้ โปรแกรม ZOTERO ยังสามารถแทรกรายการบรรณานุกรมเข้าไปไในตัวเล่มวิทยานิพนธ์ หรือรายงาน หรือบทความ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว สามารถถ่ายโอนข้อมูลบรรณานุกรมที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนตัว สร้างรูปแบบรายการบรรณานุกรมได้มาตรฐาน มีฐานข้อมูลเสมือนสมุดส่วนตัวที่ไร้ขีดจำกัด เ่ท่สบกับเป็นการจดบันทึกช่วยจำ

       Zotero เป็นโปรแกรมจัดการทางบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกว่า "Reference management" เหมือนกับ Endnote และ Reference Manager พัฒนาโดย Center for History and New Media , George Mason University โดย ได้รับเงินสนับสนุนจาก United States Institute of Museum and Library Services, the Andrew W. Mellon Foundation และ The Alfred P. Sloan Foundation ฟังดูยิ่งใหญ่มากเลย ... และความสามารถของซอฟแวร์นี้ก็มากสมราคาคุยจริงๆ

คุณสมบัติของ Zotero
         สามารถช่วยรวบรวมเอกสารต่างๆ เพื่อจัดทำบรรณานุกรม และทำงานสนับสนุนอื่นๆ ดังนี้

  1. ผู้ใช้สามารถสืบค้น รวบรวม ถ่ายโอน (Export) และจัดการกับรายการบรรณานุกรมอย่างเป็นระบบ รวมถึง เอกสารฉบับเต็ม แฟ้มข้อมูล เว็บเพจ รูปภาพ ลิงก์ และไฟล์ชนิดอื่นที่สืบค้นได้จากแหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต (URL: http://www.zotero.org/translators/) ได้แก่
     + ฐานข้อมูลห้องสมุด (OPAC) เช่น LOC (Library of Congress), WorldCat/FirstSearch, OhioLink เป็นต้น
     + ฐานข้อมูลออนไลน์ เช่น IEEE Xplore, ISI Web of Science, LexisNexis, ScienceDirect, ABI-Inform, ERIC, Nature และ ProQuest Digital Dissertations & Theses เป็นต้น
     + เว็บไซต์ เช่น Amazon.com, Google Books, Google Scholar, BBC News, CiteSeer, CiteULike เป็นต้น 
  2. ผู้ใช้สามารถสร้างห้องสมุดส่วนตัวเพื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่สืบค้นได้จากแหล่งข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการดังกล่าวได้โดยสะดวกและรวดเร็ว
  3. ผู้ใช้สามารถจัดเตรียมและนำเสนอบรรณานุกรมได้หลากหลายรูปแบบ (http://www.zotero.org/styles) ได้แก่ APA (American Psychological Association), MLA (Modern Language Association), Chicago Manual of Style, IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นต้น
  4. มี Feature สำหรับการสืบค้นขั้นสูง (Advanced search) และนำเทคโนโลยี Data mining มาประยุกต์ใช้
  5. ผู้ใช้สามารถสร้างและแชร์รูปแบบรายการบรรณานุกรมในแบบตนเองด้วย Citation Style Language (CSL)
  6. ผู้ใช้สามารถสร้างและแก้ไขรายการบรรณานุกรมตามรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการได้อย่างง่ายดายและในเวลารวดเร็ว
  7. ผู้ใช้สามารถสามารถแทรกรายการบรรณานุกรมที่ต้องการลงไปในตัวเล่มวิทยานิพนธ์ รายงานหรือบทความ รวมถึง เอกสารฉบับเต็ม เว็บเพจ รูปภาพ และไฟล์ชนิดอื่นๆ ขณะกำลังเขียนรายงาน
  8. มี Post-It และ Notepad เพื่อจดบันทึกข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมที่ต้องการ หรือช่วยเตือนความจำ
  9. ทำงานได้ทั้งในลักษณะ Online และ Offline (เช่น การจดบันทึก การสืบค้นและการจัดการภายในคอลเล็กชั่น)
  10. สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลระหว่างกันได้ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาเรื่องนั้นๆ
  11. รองรับตัวอักษร Unicode จึงสามารถนำเข้า (Import) จัดเก็บ รวบรวม และถ่ายโอน (Export) ข้อมูลหลายภาษา
  12. สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมจัดการเอกสารทั่วไป ได้แก่ Microsoft Word และ OpenOffice,บนระบบปฏิบัติการ Windows, Mac และ Linux

วิธีการติดตั้ง

   ก่อนอื่นต้องติดตั้งเว็บบราวเซอร์ Firefox » ที่เว็บ http://www.mozilla.com/firefox → คลิก “Download” Firefox 3.x (กรณีที่ยังไม่ได้ติดตั้ง Firefox), หรือติดตั้ง Firefox พร้อมกับ ZOTERO และ Add-ons อื่นด้วยลงก์นี้ Firefox Campus Edition — กรณีนี้ ข้ามขั้นตอนที่ 2 ไปได้
หลังจากติดตั้ง เสร็จแล้ว ก็ไปที่ www.zotero.org เพื่อติดตั้ง zotero จะเลือกใช้ ตัวเวอร์ชั่น 1 หรือ 2 ก็ตามความชอบ ความแตกต่างกันที่สำคัญคือ เวอร์ชั่น 1 เป็นตัวเต็มแล้ว เวอร์ชั่น 2 เป็นตัวกำลังพัฒนา ที่เพิ่มความสามารถในการแชร์ข้อมูล ของเราให้กับคนอื่นๆได้ลงไป (ณ วันที่เขียนยังเป็น เบต้า อยู่)

หลังจากเลือกได้แล้วว่าจะลงเวอร์ชั่นอะไร ก็กดดาวน์โหลดได้เลย ไฟร์ฟอกซ์จะมี แถบสีเหลิองข้างบนโผล่ขึ้นมาเพื่อเตือนว่า "จะมีการติดตั้งซอฟแวร์เพิ่มเติมในเครื่องจะอนุญาติ หรือไม่" ก็กด Allow ไป



หลังจากนั้นจะมี หน้าต่างขึ้นมาถามว่า "จะยอมให้มีการติดตั้งเจ้า Zotero มั้ย" ก็กด Install Now ไป



ต่อมาก็ตัว Bibliography style ในตัว Zotero เองมีมาให้เฉพาะ Chicago และอื่นๆ แต่ที่ ม.มหิดลใช้ เป็นแบบ Vancouver ให้เข้าไปดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.zotero.org/styles แล้วกด Install ในแบบที่ต้องการได้เลย

หลังจากลงเสร็จก็ต้อง Restart ตัวไฟร์ฟอกซ์เสียก่อน ถึงจะพร้อมใช้งาน

นอกจากนี้ ZOTERO ยังมี Microsoft Word Integration ซึ่งจะไม่อธิบายในที่นี้ หากสนใจ อ่านคำอธิบายที่เพจนี้ของZOTERO.org

   ดูวิธีการติดตั้งเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.clinicalepi.com/2009/04/reference-zotero.html
                                       http://nozominoheya.blogspot.com/2009/07/zotero.html

แหล่งข้อมูล: 
 * http://phdit.spu.ac.th/opal/doku.php?id=txt:zotero
 * http://phdit.spu.ac.th/opal/doku.php?id=txt:zot_install

 

หมายเลขบันทึก: 289124เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2009 19:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณมากคะ ที่เข้ามาอ่านให้

ขอบคุณมากครับ

ตอนนี้ download และ install แล้วครับ

กำลังทดลองใช้งาน

ขอบคุณครับ

แวะมารับความรู้ครับ ;)

ขอบคุณมากครับ

คุณรินทร์ ลองใช้แล้วเป็นงัยบ้างคะ ดีหรือไม่ ช่วยบอกต่อด้วยคะ

รบกวนสอบถามค่ะ ใช้ zotero ในการ download ข้อมูลแต่ได้ครั้งละประมาณ 5 รายการจากข้อมูลที่แสดงใน web page 20 รายการ ยากทราบว่าต้องไปปรับค่าตรงไหนบ้างหรือเปล่่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขออนุญาตอ้างอิงต่อนะครับ

ขอบคุณมากครับ blog.sac.la.ubu.ac.th

ขอบคุณมากคะที่ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์

เพิ่งจะตัดสินใจเปลี่ยนจาก Endnote มาเป็น Zotero ครับ เป็นการตัดสินใจถูกต้องมากๆ การจะย้ายข้อมูลจาก Endnote มาที่ Zotero ก็ไม่ยากเย็นอะไรนัก

ผมประทับใจความสามารถอันหลากหลายของ Zotero อย่างเช่นการดึงข้อมูลผ่านเว็บโดยตรง ถ้าเป็น Endnote ต้องดาวโหลดไฟล์ RIS หรือ Endnote ลงมาก่อนแล้วค่อย import เข้าไปในบรรณานุกรมอีกที (หรือผมทำไม่เป็นก็ไม่ทราบ?)

ใช้มาประมาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว มีที่งงๆ ตอนแรกนิดหน่อยคือ การเพิ่มรายการแบบ book section เพราะมองหาว่าจะใส่บรรณาธิการไม่เจอ แต่ตอนหลังมาเห็นว่าในช่อง author นั้น เขามีเป็น dropdown list ให้เราเลือก editor, book author, contributor หรืออะไรอีกหลายอย่าง แล้ว Zotero ก็จะไปปรับ format เองหลังจากที่เราปรับค่าตรงนี้แล้ว อย่างใน APA คนที่เป็น editor ก็จะเขาไปอยู่ด้านใน หลังจากชื่อบทในหนังสือ

ใครที่คุ้นเคยกับการใช้ คีย์ลัด หรือ shortcuts ใน Endnote เวลาเขียนงานก็ต้องลงแรงนิดหนึ่งครับ เพราะต้องไปปรับ option ใน Word เอาเอง แต่รับรองว่าปรับแล้วใช้งานสะดวกขึ้นเยอะเลยครับ

ใครยังไม่ได้ลอง ขอบอกว่า ต้องลองครับ

อ้างอิง:

โอนข้อมูลจาก endnote

http://www.zotero.org/support/kb/importing_records_from_endnote

ปรับคีย์ลัดใน zotero

http://www.zotero.org/support/kb/keyboard_shortcuts_in_word_plugin

ขอบคุณ คุณแว้บ มากคะ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอีก เห็นด้วยที่ว่าใช้งานง่าย ดาวน์โหลดได้โดยตรง และตอนนี้พยายามแนะนำให้นักศึกษาใช้โปรแกรมตัวนี้มากขึ้น อีกอย่างเป็นโปรแกรม open source ด้วย ไม่เสียเงิน

แวะมาอ่านด้วยคน จ้า ห้องสมุดแพทย์มีโครงการจัดอบรมให้กับอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรที่สนใจ วิทยากรโดยพี่จิ๋ม จ้า ตอนนี้กำลังประชาสัมพันธ์อยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท