ครู 9: ครูในสายตาของม.ล.ปิ่น มาลากุล


........ทั้งหมดที่ยกมาเป็นการฉายภาพของ “ครู” บุคคลที่ควรบูชา ผ่านปลายปากกาเรียงถ้อยร้อยอักษรโดย ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากหากจะเทียบกับผลงานมากมายของท่าน หากท่านผู้ใดใน GTK แห่งนี้จะช่วยกันมาฉายภาพความเป็นปูชนียบุคคลในวงการศึกษาของท่านผ่านบทกลอน หรืออื่นๆที่ค้นหา หรือเขียนขึ้น ก็จะเป็นผลบุญทางการศึกษาที่จะช่วยต่อยอดครูดี ของไทย

ครู 9: ครูในสายตาของม.ล.ปิ่น มาลากุล

ม.ล.ปิ่น มาลากุล ผู้เป็นปูชนียบุคคลสำคัญในวงการศึกษาไทย

องค์การ UNESCO ได้ประกาศให้ ศาสตราจารย์ ม.ล. ปิ่น มาลากุล เป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านการศึกษาและมีผลงานดีเด่นในฐานะเป็นนักการศึกษาทางสาขาการศึกษา วัฒนธรรม วรรณกรรม และสื่อสาร เนื่องในวาระครบรอบวันเกิด 100 ปี ในวันที่ 4 ตุลาคม 2546

หากจะอ่านความเป็นครูของท่าน สะท้อนผ่านคำไว้อาลัย ความสูญเสียที่ใหญ่ยิ่งของตัวแทนลูกศิษย์คนหนึ่งคือคุณหญิงกระจ่างศรี  รักตะกนิษฐ ที่ซาบซึ้งกินใจ ในความเสียสละ  วิริยะ อุตสาหะ และกตัญญูต่อแผ่นดิน สมควรเอาเป็นแบบอย่างยิ่งนัก และเป็นความรู้สึกส่วนตัวว่า ท่านได้เกิดมาคุ้มค่าความเป็นคน และความเป็นครู แล้วจริงๆ

อ่านได้จาก  http://www.inspect4.moe.go.th/pinmalakul/6%20navamin/umla.htm

 

นอกจากนี้ได้สะท้อนภาพการเป็นครูผ่านบทกลอนไว้ดังนี้

การเป็นครูนั้นไซร้ไม่ลำบาก
แต่สอนดีนั้นยากเป็นนักหนา
เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา
อีกมีความเมตตาอยู่ในใจ

ตระเวนไปอยากได้การศึกษา
จนยุโรปอเมริกาก็ถ้วนทั่ว
มนุษย์เชี่ยวเชิงวิชาอย่างน่ากลัว
แต่ใจคนจะชั่วไม่เปลี่ยนแปลง

ระลึกคุณพระพุทธสุดประเสริฐ
สงบเกิดแก่ใจได้รู้แจ้ง
ฝึกฝนจิตส่วนร้ายหายรุนแรง
ศึกษาแหล่งที่แท้อยู่แค่ใจ

 

ท่านได้ให้ค่าของการเป็นครูไว้สูงส่ง ไม่ไช่เพียงแค่เรือจ้าง เท่านั้น และควรภาคภูมิใจในอาชีพครู

เด็ก กับ ครู  จะเรียกว่าเรือจ้างได้อย่างไร


ครูถูกหาว่าเป็นเช่นเรือจ้าง                         แล่นระหว่างสองฟากไม่ไปไหน
นักเรียนดีสิศึกษาก้าวหน้าไป                      ได้เป็นใหญ่เป็นโตมโหฬาร
ที่เปรียบมาล้าสมัยเห็นได้ชัด                       เราได้จัดเรือยนตร์ แพขนาน
ทำถนนหนทาง สร้างสะพาน                       ให้ยวดยานผ่านข้ามแม่น้ำไป
ใครจะข้ามทางเก่าเราไม่ว่า                         แต่ทางใหม่มีมาวิชาใหม่
วิชาชีพแพขนานนั่นเป็นไร                          สะพานใหญ่ สามัญ มัธยม
เหล่านี้แหละงานครูรู้ไว้เถิด                         ประโยชน์เกิดแก่ประเทศพิเศษสม
ศิษย์ได้ดีครูมีแต่ชื่นชม                              กล้วยไม้ออกดอกสมเจตนา
มุ่งอบรมบ่มนิสัยให้คนดี                             ความเหนื่อยยากหากมีก็ไม่ว่า
เจริญรอยบรมบาทพระศาสดา                     จะเรียกว่าเรือจ้างได้อย่างไร

ท่านให้ความสำคัญของบทบาทครูต่อการเฝ้าอบรมบ่มนิสัยศิษย์ ซึ่งปรากฎในบทกลอนข้างล่างนี้


หนึ่งนาที

การอบรมบ่มนิสัยให้ศิษย์นั้น                   เพียงแต่วันละนาทียังดีถม
ศิษย์จะดีมีชื่อหรือล่มจม                        อาจเป็นเพราะอบรมหนึ่งนาที

ลักษณะของครูที่ดี ต้องศึกษาเรียนรู้ในเรื่องความแตกต่างของศิษย์และให้ความสำคัญแก่ศิษย์ทุกคน ความผูกพันระหว่างครู – ศิษย์ จึงมีค่ามากท่านได้เขียนพรรณนาตรงนี้ไว้ดังนี้

ความผูกพันระหว่างครู – ศิษย์
ลูกศิษย์

เรียกผู้มาศึกษาว่าลูกศิษย์                     เออผู้ใดได้คิดบ้างหรือไม่
ว่าเป็นศัพท์พิเศษของเทศไทย            ยกศิษย์ให้เป็นลูกถูกทำนอง
เพราะมนุษย์น้อยใหญ่ในโลกนี้               ย่อมรักลูกไม่มีเสมอสอง
เห็นว่าลูกมีค่ากว่าเงินทอง                     ลูกศิษย์ของครูก็เป็นเช่นนั้นเอย


หมายเหตุ:- อ่านบทกลอนนี้แล้วสะท้อนถึงครู (บางคนจริงๆ) ที่เป็นข่าวที่มีการปฏิบัติต่อลูกศิษย์แบบไร้จรรยาบรรณ เช่นการทำทารุณกรรมในหลายรูปแบบที่พบเห็นเป็นข่าว (ที่ยังไม่เป็นข่าวก็อาจจะมี) ว่าทำชั่วเช่นนั้นได้อย่างไร ?? และยิ่งหากครูคนนั้นมีลูกด้วยแล้วก็ยิ่งไม่เข้าใจว่าเขาทำเช่นนั้นกับลูกศิษย์ของเขาได้อย่างไร

ทั้งหมดที่ยกมาเป็นการฉายภาพของ “ครู” บุคคลที่ควรบูชา ผ่านปลายปากกาเรียงถ้อยร้อยอักษรโดย ม.ล.ปิ่น มาลากุล ซึ่งเป็นส่วนน้อยมากหากจะเทียบกับผลงานมากมายของท่าน

หากท่านผู้ใดใน GTK แห่งนี้จะช่วยกันมาฉายภาพความเป็นปูชนียบุคคลในวงการศึกษาของท่านผ่านบทกลอน หรืออื่นๆที่ค้นหา หรือเขียนขึ้น ก็จะเป็นผลบุญทางการศึกษาที่จะช่วยต่อยอดครูดี ของไทยดังที่ท่านได้ปฏิบัติมาเป็นแบบอย่าง

และข้างล่างนี่เป็นส่วนหนึ่งของผลงานท่านขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ พ.ศ. 2502 – 2512 เผื่อใครหลายๆคนใน GoToKnow แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นผลิตผลจากผลงานที่ท่านได้ริเริ่ม

ผลงานทางด้านการศึกษาของ ม.ล.ปิ่น มาลากุล    มีจำนวนมากมาย ขอยกมาเฉพาะผลงานสำคัญบางชิ้น  คือ
1. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท โรงเรียนมัธยมสหศึกษา โรงเรียนแรกในประเทศไทย
2. ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนประถมสาธิต วิทยาลัยวิชาการศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในระดับประถมศึกษา
3. ริเริ่มตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร ต่อมาเป็นวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประสานมิตร  และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ในปัจจุบัน
4. ริเริ่มจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ (ทับแก้ว) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงานอื่นๆติดตามได้ที่

http://art.culture.go.th

ชื่อผลงานของท่านหาอ่านได้จาก http://203.172.181.140/myweb/page5.htm

อ้างอิง

http://www.reurnthai.com/index.php?action=printpage;topic=1149.0

ปิ่น มาลากุล, ม.ล. บทประพันธ์สรรมากว่าพันบท. เล่ม ๒ พระนคร : คุรุสภา, ๒๕๓๕

หมายเลขบันทึก: 419669เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2011 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

มาน้อมรำลึกพระคุณครูค่ะพี่หมีขั้วโลก ขอบคุณบันทึกดีๆ สุขสันต์อิ่มรำยามเย็นค่ะ :)

สวัสดีคุณ mee_pole  ต้องขออภัยอ่านชื่อคุณไม่ออกนะ ไม่เก่งภาษาอังกฤษ ตอนเรียนเป็นนักเรียนหลังห้อง เรียนไม่ค่อยทันเพื่อน ๆ  แต่ครูใจดี จึงให้ขึ้นชั้นไปกับเพื่อน ๆ จนเรียนจบ  เห็นว่าตัวเองน่าจะเป็น " เกษตรกรผู้ยิ่งใหญ่" ได้จึงเดินทางไปตามฝัน  ถึงวันนี้ ก็ยังไม่ไปถึงไหนเลย   ขอบคุณที่เข้าไปพูดคุยกันนะ

รูปที่ให้เหมือนลูก "ชิ่ง" ของทางใต้เลยค่ะ

แล้วหากมีโอกาสจะไปถ่ายรูปมาให้ดูค่ะ  แต่เอ! คุณมะเดื่อเป็นเกษตรกร คงรู้จักแล้ว meepole (หมีขั้วโลกค่ะ :) เอามะพร้าวมาขายสวนหรือเปล่านี่

สวัสดีค่ะ คุณ poo

ขอบคุณที่เข้ามาช่วยกันรำลึกพระคุณครู เพราะเราเป็นศิษย์ที่มีครูค่ะ

สวัสดีค่ะน้อง mee pole

  • คุณยายแวะมาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ
  • มีความสุขมากๆนะคะ
  • สวัสดีค่ะ คุณยาย
  • ดีใจจังเลย มีคนเรียกน้อง กลัวว่าคุณยายเจอตัวจริง แล้วเราต้องเรียก กลับกันแน่เลย หุ หุ
  • ขอบคุณค่ะที่แวะมา happy & healthy เช่นกันค่ะ
  • ผมไปมศว ประสานมิตรมา
  • เขาทำอนุสาวรียอาจารย์ปิ่นใหม่ครับ
  • แล้วจะเอารูปมาให้ดู
  • ขอรายงานความก้าวหน้า ขออนุญาตอ้างอิงนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/419935
  • สวัสดีค่ะ
  • จะรอดูรูปใหม่ค่ะ
  • งานนี้อาจารย์ได้กุศลอีกเยอะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาติดตามอ่าน "ว่าด้วยครู"  อ่านแล้วอยากให้เหมือนเดิมคือ  มีสถาบันสอนครูเหมือนที่ผ่านมาคือวิทยาลัยครูและ มศว มุ่งผลิตคนให้เป็นครู  ค่ะ

พี่คิมกำลังรวบรวมและพยายามจะเขียนถึง  "ครูที่สอนพี่คิมทุกท่าน" ค่ะ  ในหน้าประวัติก็เขียนไว้บ้าง

ท่าน ศ.ดร.พนัส หันนาคินทร์ ท่านพูดว่า "คนเป็นครูมีสองแบบคือเลือกมาเป็นครูและเ...อกมาเป็นครู" ค่ะ (ว่างไว้คือ ส สระอือ)

จำกลอนภาษาอังกฤษมาบทหนึ่งซึ้งมาก  เกี่ยวกับท่าน มล.ปิ่น มาลากุลค่ะ 

Orchids, Oh ! Thy blossoms have I to walt some years ?

Education also takes such a time.

But Io ! Thy blossoms, in bloom, so glorious, my dears,

Training produces such a fruit sublime.

 

สวัสดีค่ะ ครูคิม

  •  "...แล้วอยากให้เหมือนเดิมคือ มีสถาบันสอนครูเหมือนที่ผ่านมาคือวิทยาลัยครูและ มศว มุ่งผลิตคนให้เป็นครู "

 

  • เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ตอนนี้สะเปะสะปะไปหมด เป็ดเต็มเมืองเลยค่ะ (บินไม่ได้เหมือนนก ว่ายน้ำไม่ได้เหมือนปลา) ก็เลยได้อะไรที่ครึ่งๆกลางๆ
  • ไป มศว ประสานมิตรมาครับ
  • ไปเป็นกรรมการสอบให้นิสิต
  • เลยได้ภาพนี้มาฝากอาจารย์
  • Large_pinmarakul1 
  • ตอนนนี้เขากำลังทำอนุสาวรีย์ใหม่ครับ

ขอปวารณาตังเป้็นครูที่ดีมีอุดมการณ์ด้วยคนค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต

ขอบคุณค่ะ

และจะรอดูภาพอนุเสาวรีย์ใหม่ค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.ดวงเกษมสุข

  • ดีใจกับเด็ก และโชคดีของประเทศที่ยังมีครูที่เห็นแก่อุดมการณ์อยู่อีกจำนวนหนึ่ง แม้ไม่มากนักแต่จะช่วยกันปลูกฝังสำนึกให้กับเด็กรุ่นใหม่ เหมือนช่วยกันเพาะเม็ดพันธุ์ และต้นกล้า ไปเรื่อยๆ
  • อุดมการณ์แม้บางคนจะบอกว่ากินไม่ได้ แต่สักวันหนึ่ง จะรู้ว่า การเงยหน้าไม่อายฟ้า และก้มหน้าไม่อายดิน มันเป็นยังไง และความสุข ปิติ ที่เกิดจากการทำในสิ่งที่ถูกต้องมันคุ้มค่าจริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท