เรื่องเล่าจากดงหลวง 148 เมื่อชาวนาเล่นเอาเถิดกับธรรมชาติ


นี่เห็นฝนชื่อ “ปลาบึก” ลุย ฟิลิปปินส์ เวียตนามมาแล้ว จะมาถึงบ้านเราเมื่อไหร่ และลูกอื่นๆจะตามมาอีกกี่ลูกกันก็ไม่รู้ ไอ้ที่เร่งปลูก รถไฟเที่ยวสุดท้ายเนี่ยะ จะได้กินหรือจะจมน้ำไปอีกในวันข้างหน้าก็ไม่รู้อีกเช่นกัน จะเรียกว่า “อาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่เสี่ยง” หรือการ “อาชีพที่เล่นเอาเถิด” ก็ตามเถอะ แต่หลังฉันก็ต้องสู้ฟ้า หน้าฉันก็ต้องสู้ดินกันต่อไป..

ผู้บันทึกกลับจากงานเฮฮาศาสตร์เข้าสู่พื้นที่ทำงาน ก็ตรงไปที่บ้านพังแดงทันทีแล้วติดตามการใช้น้ำของชาวไทยโซ่ บ้านพังแดงที่ใช้น้ำจากระบบสูบน้ำด้วยฟ้า เอาใส่แปลงนา เพราะหวั่นใจว่าชาวบ้านจะเอาน้ำใส่นาเกินหลักการประหยัด ที่เรียกว่า Minimum require ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นชาวบ้านก็จะเสียเงินค่าน้ำ หรือตรงๆก็คือค่ากระแสไฟฟ้าจำนวนมาก เกรงว่าเขาจะไม่มีเงินจ่าย เมื่อเรียกค่าใช้จ่ายค่ากระแสไฟฟ้ามาดูก็ต๊กใจ เพราะค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นถึง 80,000 บาท ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา 

ผู้บันทึกจึงเสนอประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อปรึกษาหารือเรื่องการใช้น้ำใส่แปลงนา เพราะระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่สร้างขึ้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเอาน้ำใส่นา แต่เอาน้ำเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจหลังนา  ยังไม่ทันจะนัดผู้นำกลุ่มประชุมเลยครับ ดีเปรสชั่นก็ผ่านมาเยือนดงหลวง ให้ชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ ในลำห้วยบางทรายระดับน้ำสูงขึ้นพรวดพราดทันที 

 

ชาวบ้านที่มีที่นาอยู่นอกพื้นที่โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ออกทำนาที่เรียกว่า รถไฟเที่ยวสุดท้ายแล้วหากไม่ทำนางวดนี้ก็หมดโอกาสแล้ว พนักงานขับรถก็ขอลาไปทำนาที่เหลืออยู่ 5 ไร่ จะจ้างแรงงานก็ไม่มีแรงงานให้จ้างต้องทำเอง  ชาวนาบางครอบครัวอยากทำนาก็ต้องส่ายหน้าบนใบหน้าเศร้าซึม เพราะกล้าที่เตรียมไว้ช่วงต้นฤดู หมดอายุไปแล้ว ต้องรอคอยญาติ พี่น้อง เพื่อนบ้านให้ทำนาเสร็จแล้วตามดูว่ามีกล้าเหลือบ้างไหม ก็จะขอมาปลูกต่อ..!! บางครอบครัวก็ทิ้งที่นาว่างไว้ก่อนเพราะเป็นนาดอน รอท่าทีฝนอีก 3-4 วัน ก็ต้องไถที่ดินคอยไว้ก่อน.. 

เมื่อปีที่แล้วก็มีหลายครอบครัวไม่ได้ข้าว  หรือได้ข้าวไม่พอกิน มาตอนนี้ก็หมดเล้าข้าวแล้ว เงินก็หมด จะให้ทำอย่างไรล่ะ ใครจะยื่นมือมาช่วยล่ะ เขากำลังยุ่งวุ่นวายกับการเมือง  มีแต่เราต้องช่วยตัวเอง ขึ้นป่า...  ผู้นำบางคนบอกว่าจะไปนครพนม หาญาติเพื่อขอข้าวมากินก่อน 

กำหนดการที่จะประชุมกลุ่มผู้ใช้น้ำ นัดประชุม อบต. นัดอีกหลายนัดก็ต้องหยุด ปล่อยให้ชาวบ้านใช้เวลาทำนาให้เสร็จสิ้นและแก้ไขปัญหาของครอบครัวให้เบาบางลงมาบ้างก่อน 

นี่เห็นฝนชื่อ ปลาบึกลุย ฟิลิปปินส์ เวียตนามมาแล้ว จะมาถึงบ้านเราเมื่อไหร่ และลูกอื่นๆจะตามมาอีกกี่ลูกกันก็ไม่รู้ ไอ้ที่เร่งปลูก รถไฟเที่ยวสุดท้ายเนี่ยะ จะได้กินหรือจะจมน้ำไปอีกในวันข้างหน้าก็ไม่รู้อีกเช่นกัน จะเรียกว่าอาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่เสี่ยงหรือการอาชีพที่เล่นเอาเถิดกับฝน กับธรรมชาติก็ตามเถอะ แต่หลังฉันก็ต้องสู้ฟ้า หน้าฉันก็ต้องสู้ดินกันต่อไป..  

หมายเลขบันทึก: 118163เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2007 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะคุณบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

เห็นใจเกษตรกรจริงๆ เลยค่ะ ข้าวที่จะเลี้ยงปากท้องยังต้องขึ้นกับความเสี่ยงขนาดนี้ เสี่ยงกับสภาพดินฟ้าอากาศ เสี่ยงกับธรรมชาติ(ที่จะปราณีหรือไม่ปราณี) แถมยังต้องเสี่ยงกับเรื่องที่ไม่เป็นธรรมชาติหรือฝืนธรรมชาติเช่นเรื่องการเมือง หรือเรื่องเทคโนโลยีอีก

ไม่รู้จะพูดอะไรนอกจากบอกว่าเห็นใจจริงๆ ค่ะ แต่นับถือน้ำใจนักสู้ของเกษตรกรนะคะ ถึงแม้จะเป็นการสู้แบบจนตรอก แบบไม่มีแต้มต่อแบบนี้

  • สวัสดีครับพี่บางทราย 
  • น่าเห็นใจชาวนา และเกษตรกรทุกๆ สาขานะครับ  ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หรือการประมงฯ ล้วนประกอบอาชีพอยู่บนความไม่แน่นอนของธรรมชาติ
  • ผมเคยเห็นวิถีชีวิตของพี่น้องชนเผ่ากะเหรี่ยง ช่วงที่เป็นครูอาสาสมัครช่วงก่อนการเก็บเกี่ยว(ปลายฝน-ต้นหนาว) ข้าวเริ่มจะหมดจากยุ้งฉาง  ทั้งครอบครับจะมีวิธีการปรับตัวด้วยการลดอาหารลง 1 มื้อ เหลือเพียงวันละ 2 มือ คือมื้อเช้า  และช่วงเวลาประมาณบ่าย 3 โมง เป็นอย่างนี้แรมเดือน (เด็กๆ ก็ทาน 2 มื้อเหมือนกัน)
  • ในสังคมของเราปัจจุบันนี้ยังมีความต่างหรือช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนกว้างมากขึ้นนะครับ  อยากให้ผู้ที่ร่ำรวยทั้งหลายได้สัมผัสกับความลำบากหรือยากจนบ้าง  จะได้เข้าใจ เห็นใจ  และลดความเห็นแก่ตัวลงได้บ้าง
  • เพื่อที่จะได้หันหน้ามาร่วมมือกันสร้างสังคมให้อยู่ดีมีสุขให้เกิดขึ้นได้จริงๆ  โดยเอาความสุขเป็นตัวตั้ง แทนที่จะเอาเงินเป็นตัวตั้งอย่างที่เราเห็นๆ กันอยู่ในทุกวันนี้
  • อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้มองเห็นความจริงว่า คนเรานั้นปัจจัย 4 เป็นพื้นฐานที่สำคัญ และจำเป็นจริงๆ สำหรับการดำรงค์ชีวิต อย่างอื่นนั้นไม่จำเป็นต้องดิ้นรนขนขวายมาให้เปลืองแรงเลย
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแบ่งปัน

สวัสดีครับอาจารย์กมลวัลย์ ครับ 

 มีใครบ้างที่มาทุ่มเทการแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรอย่างจริงจัง

มีแต่มาไหว้แล้วก็ขอคะแนนไป พฤติกรรมอย่างอื่นไม่พูดถึงนะ

เห็นแต่เขาพูดกันว่าจะต้องช่วยพ่อค้าส่งออกอย่างนั้นอย่างนี้ ช่วยผู้ลงทุนอย่างนั้นอย่างนี้

ชาวนาไปไกลๆเลย ไปอยู่โน้น ไกลไกลเลยไป

เกรงว่าสักวันเขาลุกขึ้นมาพร้อมๆกันน่ะซี จะเดือดร้อนมากกว่าที่เป็นอยู่หลายเท่านัก

ขอบคุณอาจารย์ครับ

สวัสดีครับน้องสิงห์

  • พี่เชื่อว่าน้องสิงห์ผ่านเรื่องราวอย่างนี้มามากแล้ว ย่อมเข้าใจดี
  • พี่ก็พยายามสะท้อนเรื่องแบบนี้ออกมาบ้าง เพื่อมิให้คนลืมไปว่ามีชาวนาอยู่นะ และเขามีปัญหามากมายอยู่
  • มิเช่นนั้นเขาเรียกว่า ชาวนาไม่มีพื้นที่สาธารณะยืนอยู่  หรือแม้ใน Blog ก็เช่นกัน ขอให้มีพื้นที่เกษตรกร ชาวนาบ้างเถอะ โดยเราช่วยสะท้อนภาพออกมาครับ
  • ขอบคุณครับ
  • กลับจากเฮฮาศาสตร์
  • แวะบ้านอยู่กับแม่สองวัน
  • แอบไปดูนาข้าวของแม่ น่าสงสารมากเพราะมันเหี่ยวจะตายอยู่แล้ว
  • โชคดีตอนนี้ฝนโปรยปราย แต่คิดว่ายังไม่พอที่จะรอดจนออกรวงได้
  • ภาวนาให้ฝนอย่าทิ้งช่วงนานครับ
  • แม่จะได้มีข้าวให้ลูกๆกิน

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

     พี่บอกว่าฝนตกหนักแถวดงหลวง ทำให้ดีใจเป็นล้นพ้นเลยค่ะเพราะมีไร่ที่ดงหลวงเหมือนกันแต่ติดฝังเขาวงแถวๆบ้านนาหินกอง 

      ต้องยอมรับผลการกระทำที่เคยทำไว้กับธรรมชาติ เสียใจจนบรรยายไม่ถูกกับป่าไม้ที่หายไปในพริบตากับถนนสายเขาวง -ดงหลวง จากผืนป่าที่มีทุกอย่างแล้วกลับหายไปทุกย่าง  จะโทษใครได้ก็มนุษย์ไม่รู้จักพอ

    ตอนนี้จึงทดแทนคุณป่า ด้วยการปลูกต้นไม้ที่ไร่ค่ะ แต่ก็ไม่งาม คงต้องรออีกหลายปี จะพยายามต่อไปค่ะ

สวัสดีออต

ใช่แล้ว พวกเราก็เกรงกลัวกันว่าฝนจะทิ้งช่วงไปอีก หากเป็นเช่นนั้น ก็กระทบข้าวในนาแน่นอน  เฮ่อ ชีวิตชาวนา วนเวียนกับสิ่งเหล่านี้ครับ

ดูว่าแนวโน้มการจัดเฮฮาศาสตร์ครั้งหน้าจะเป็นประมาณกุมภาพันธ์ 51 ครับออต หากเป็นเช่นนั้น ออตต้องมาช่วยกันคิดนะว่าอะไรเหมาะอะไรควร ช่วยกันนะ  ดูนี่

 

P

อาจารย์แป๋วครับ

  • ไปคุยกับครูบามาเรื่องต้นช้างน้าวที่ครอบครัวสิงห์ป่าสักปลูกที่มหาชีวาลัย
  • ผมก็เลยไปเพิ่มเติมข้อมูลเรื่องต้นช้างน้าวว่าเป็นต้นไม้ป่าที่มุกดาหาร และเป็นไม้ประจำจังหวัด ดอกสีเหลืองสวยมาก เวลาออกดอก ใบจะร่วงหมด เป็นไม้ป่า
  • ผมเคยเข้าป่าและเห็น แต่ตอนนั้นไม่มีดอก ชาวบ้านก็ชี้ให้ดูครับ
  • ท่านครูบาเลยตั้งประเด็นว่า คุยกับ อ.แป๋วซะหากจัดเฮฮาศาสตร์ดงหลวงช่วงดอกช้างน้าวออกซะเป็นไง เดือนกุมภาพันธ์ครับ
P
รึ เราจะจัดเฮฮาช่วงตรึษจีนหน้าดีครับ ต้องหารืออาจารย์แป๋ว เพราะจะมีเป้าหมายพิเศษกับช้างน้าวไปด้วย อาจจะเป็นบุญตาที่ได้ไปเห็นในสภาพธรรมชาติ

สวัสดีครับ P นาง พันดา เลิศปัญญา

ใช่ครับฝนตกที่ดงหลวง ก็พอทำนาได้ แต่ไม่รู้ว่าจะทิ้งช่วงไปอีกหรือเปล่าครับ

 บ้านนาหินกองก็เป็นเขตทำงานของผมอยู่ครับ

ได้เข้ามาอ่านบันทึกของท่านครูบา และพี่บางทราย เหมือนมีคนมาเคาะกระโหลก ทุกที ตัวของเราเองมีปัญหา แต่เมื่อมาเปรียบเทียบปัญหากับชาวบ้านบางท้องที่แล้ว เรายังสบายกว่าเขาเยอะ ผมมีโครงการบางโครงการที่จะทำ กำลังเขียนโครงการอยู่ครับ ถ้าไม่เป็นการรบกวน อยากจะขอคำแนะนำจากพี่บางทรายในบางเรื่องครับ 

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

  • ที่พิษณุโลกไม่มีดำนาแล้วค่ะ  มีแต่หว่านข้าว ใช้คนทำแป๊บเดียวก็เสร็จค่ะ  แต่ข้าวไปมีคุณภาพ
  • แล้วตอนนี้พายุเข้าฝนตกทุกวันเลยค่ะ
  • ดูในรูปพื้นที่มีความสมบูรณ์มาก  แต่คนก็ทิ้งนาไปทำงาน ทั้ง ๆ ที่ข้าวสำคัญกับปากท้อง และทุกคนต้องทานข้าว เสียดายที่คนเริ่มให้ความสำคัญกับการปลูกข้าวน้อยลง
  • ขอบคุณที่นำเรื่องนี้มาขยายค่ะ

สวัสดีครับ อ.ภูคา P ภูคา

  • ด้วยความยินดีครับ  มีอะไรที่ผมสามารถจะช่วยได้ก็ยินดีครับ
  • จริงๆชาวนาอยู่แบบความเสี่ยงตลอด และไปเย้วๆที่ไหนก็ลำบาก  ส่วนที่ไปนั้นจำนวนน้อยมากๆ เมื่อเทียบทั้งหมดครับ
  • เป็นโครงการอะไรครับที่กำลังเขียน หากเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท ก็ตรงความถนัดครับ อย่างไรก็ตาม หากอยู่ในวงที่เกี่ยวเนื่อง ก็ยังได้อยู่ครับ 

สวัสดีครับน้องราณี P  Ranee

  •  พัฒนาการของการปลูกข้าวมีอยู่ครับ ชาวนาจะตัดสินใจเมื่อถึงเงื่อนไขหนึ่ง แต่ที่ดงหลวง ชาวบ้านยังใช้ชีวิตกึ่งชนบทแบบเดิมและกึ่งสมัยใหม่ ยังอยู่ช่วงการปรับตัวครับ
  • แตในที่สุดก็อาจจะก้าวไปสู่การหว่าน เพราะ แรงงาน เพราะเวลา เพราะเงื่อนไขส่วนรวม และอื่นๆครับ
  • ถ้าเป็นเขตชลประทานการทำนาหว่านน้ำตมจะได้ผลดีกว่าหว่านแห้งหรือหว่านเปียกแบบทั่วไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท