“ระเบียบและกฎหมายที่ลูกจ้างประจำควรทราบ”


“ระเบียบและกฎหมายที่ลูกจ้างประจำควรทราบ”

 

 

“ระเบียบและกฎหมายที่ลูกจ้างประจำควรทราบ”

 

             จากบันทึกที่ผู้เขียนได้เขียนเกี่ยวกับการนำข้อมูลมาแจ้งให้ลูกจ้างประจำได้รับทราบนั้น...ทำให้ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับการเป็นลูกจ้างประจำค่อนข้างมาก  โดยบางท่านยังไม่ทราบเลยว่าตนเองสามารถแต่งชุดเครื่องแบบพิธีการได้...ถึงแม้ว่าระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2527...ทำให้เห็นว่า  การทำงานในระบบราชการถึงแม้เวลาผ่านล่วงเลยมาเกือบ 30 ปี ก็ยังมีลูกจ้างประจำ (บางท่าน) ยังไม่ทราบเกี่ยวกับการเป็นตัวตนของตนเองเลย...และก็คิดว่าคงมีบางท่านที่ยังไม่ทราบเกี่ยวกับระเบียบและสิทธิที่เกี่ยวกับตนเอง

            เพื่อให้การทำงานภาครัฐเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบุคลากรและการได้รับความรู้อย่างทั่วถึงสำหรับโลกยุคปัจจุบัน  ผู้เขียนจึงนำระเบียบที่เกี่ยวกับลูกจ้างประจำมาแจ้งให้ทราบ ดังต่อไปนี้...และหวังว่าท่านที่ทราบคงนำไปแจ้งให้กับพวกเพื่อน ๆ ลูกจ้างประจำได้รับทราบกันทุกท่าน...ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ...

 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบลูกจ้างประจำ

พ.ศ. 2527

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas1000.pdf

 

พระราชกฤษฎีกา กำหนดเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีอำนาจออกบัตร

ประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัว

เจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2545

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas1001.pdf

 

ระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างลูกจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas1002.pdf

 

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ

พ.ศ. 2537

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas1003.pdf

 

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเลื่อนขั้นค่าจ้างลูกจ้างประจำ

ของส่วนราชการ  พ.ศ. 2544

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas1004.pdf

 

หนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0406.5/ว 101

ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2552  เรื่อง วิธีปฏิบัติในการขอรับบำเหน็จ

รายเดือนและบำเหน็จพิเศษรายเดือนลูกจ้างประจำ

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas1005.pdf

 

รวมสารบัญที่เกี่ยวกับระเบียบ  สิทธิประโยชน์ หลักเกณฑ์

และแนวปฏิบัติของลูกจ้างประจำในบล็อก Gotoknow.org...

ที่ผู้เขียนได้นำมาแจ้งให้กับลูกจ้างประจำได้ทราบ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 409887เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2010 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

สวัสดีตอนบ่ายค่ะ

  • ขอบคุณมากมายที่นำมาเล่าให้ฟังนะคะ
  • ได้รับความรู้กลับบ้านอีกแล้ว

สวัสดีค่ะ...คุณยาย...Ico32...

  • ขอบคุณค่ะ...

เรียน ท่านอาจารย์ผมก็อึดอัดมากกับการเป็นลูกจ้างประจำเพราะทำงานมาตั้งนานก็เป็น ลูกจ้าง พนักงานราชการประเมิน 4 ปี ยังฟังดูดีกว่าตอนนี้ น้อง ๆประเมิน 4 ปี เขาก็คิดว่าเขาเป็นเจ้านายของลูกจ้างประจำเพราะลูกจ้างประจำก็ยังมีคำว่า ลูกจ้าง อยู่ดี ผมมีข้อเสนอแนะให้อาจารย์ช่วยสานต่อเพื่อสนับสนุนให้สังคมรู้จักกับตัวเองให้มากขึ้นคือตัด คำว่าลูกจ้างออกให้ใช้คำว่า พนักงานราชการประจำ แทนลูกจ้างประจำจะดีกว่าตามที่มีเพื่อน ๆ ลูกจ้างประจำส่วนราชการเสนอมาหลายรายแล้วน่าจะเป็นไปได้อย่างไร ขอคำแนะนำจากอาจารย์ด้วยครับกระผม

ตอบ...คุณวิชัย...

  • เป็นคำจำกัดความค่ะ...มีมาตั้งแต่ปี 2526-2527 แล้วกระมังค่ะ...ลองศึกษาในระเบียบด้านล่างนี้ดูนะค่ะ...
  • http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas1002.pdf
  • ถามผู้รู้ในเรื่องของลูกจ้างประจำว่า เมื่อประมาณ ปี 2515 ลูกจ้างประจำ เดิม จะเรียกว่า "ข้าราชการวิสามัญ" ค่ะ...และต่อมารัฐได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นลูกจ้างประจำจนถึงปัจจุบันค่ะ...
  • แต่ในความคิดเห็นของผู้เขียนนะค่ะ คิดว่า คำใดไม่สำคัญเท่ากับ  การกระทำ + จิตสำนึกของแต่ละคนที่มีต่อการทำงานให้กับภาครัฐ และความเกื้อกูลกันระหว่างความเป็นข้าราชการกับลูกจ้างประจำหรอกค่ะ...ถ้าคนเราทำงานอยู่ด้วยกัน ด้วยความตั้งใจทำงาน อยู่ที่ใจในการนับถือกันเหมือนพี่เหมือนน้อง  การให้เกียรติซึ่งกันและกัน  ทราบบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายว่ามีหน้าที่อะไร...
  • แต่ที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นเรื่องของการแสดงความรู้สึกส่วนบุคคลกันมากกว่า...ไม่เข้าใจในบทบาทของตนเอง เช่น ข้าราชการบางคน ก็คิดว่าตนเองเป็นใหญ่ ใช้อำนาจที่นอกเหนือจากหน้าที่ของตนเองในการที่คนทั่วไป เรียกว่า "บ้าอำนาจ" มาใช้กับลูกจ้างประจำ...และลูกจ้างประจำบางคน ก็ไม่ทำตามบทบาทหน้าที่ของตนเองมากกว่าว่าตนเองมีหน้าที่เช่นไร และควรกระทำตนอย่างไร บางคนถึงกับประจบเจ้านาย เพื่อให้ตนเองอยู่รอด โดยที่ผลงานไม่ปรากฎ...
  • ผู้เขียนจึงมีความคิดเห็นว่า ถ้าแต่ละฝ่ายมีความเข้าใจในบาทบาทของตนเองแล้วทำหน้าที่ตามบทบาทที่รัฐมอบให้ทำนั้น ผู้เขียนเชื่อว่า สังคมคงไม่วุ่นวายมาจนถึงปัจจุบันหรอกค่ะ...สำหรับข้าราชการ จะติดพันมาจากที่แต่เดิม ใคร ๆ ก็คิดว่า ถ้าเป็นข้าราชการแล้วจะต้องเป็นเจ้าคนนายคนไงค่ะ เรียกว่า "ระบบศักดินา"...ซึ่งมาปัจจุบันรัฐกำลังปรับเปลี่ยนให้ข้าราชการ รู้จักเรื่อง การให้บริการต่อประชาชนมากกว่าค่ะ คือ ดูที่ความสุขของประชาชน ไงค่ะ...เพราะแต่เดิมประวัติของข้าราชการมีมานานเกือบ 80 ปี กว่า เชียวค่ะ...แต่มาปัจจุบันก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้นนะค่ะ...อาจจะมีบางส่วนราชการ ที่ข้าราชการก็ยังคงใช้อำนาจเหมือนเดิม...อาจไม่รู้ อาจไม่ใส่ใจ อาจไม่สนใจไงค่ะ...
  • ผู้เขียนถึงว่า การใช้คำไหน นั้น ไม่สำคัญเท่ากับการกระทำ + จิตสำนึกในการกระทำมากกว่าค่ะ...ถ้าท่านทำถูกแล้ว จงภูมิใจในการกระทำของท่านเถอะค่ะ สำหรับข้าราชการท่านใดที่ทำไม่ดีก็ปล่อยเขาไป ขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมค่ะ ทำกรรมดีย่อมได้ดีค่ะ...ผู้เขียนเชื่อเช่นนั้น...และก็เห็นมาหลายรายแล้วค่ะ พอเกษียณก็ชาวบ้านธรรมดานี่เองค่ะ...ก็ไม่รู้ว่าความคิดเห็นของผู้เขียนจะไปขัดแย้งความรู้สึกของคุณหรือไม่นะค่ะ...แต่นี่เป็นเพียงความคิดเห็น และก็ขอเป็นกำลังใจให้ทำงานต่อนะค่ะ...เราทำกรรมดีต่อบ้านเมือง สักวันย่อมได้ดีค่ะ...
  • สำหรับคำว่า "พนักงานราชการ" ในบล็อกที่ผู้เขียนเขียน น้อง ๆ พนักงานราชการ เขาก็มีปัญหากันเหมือนกันค่ะ...คือ เขาต้องการให้ปรับเปลี่ยนการทำสัญญา 4 ปี ออก ให้ทำแบบต่อเนื่อง เพราะมีปัญหากับหัวหน้าส่วนราชการเหมือนกัน...แต่ปัจจุบันก็เริ่มเข้าใจกันบ้างแล้วค่ะ...

ได้มีโอกาสใส่ชุดพิธีการของลูกจ้างประจำแล้ว

บล็อกนี้มีประโยชน์มากสำหรับลูกจ้างประจำ

ขอบคุณมากครับ

 

ตอบ...คุณวัชรา...Ico32...

  • ยินดีด้วยค่ะ...แต่ก่อนก็เคยคิดเหมือนกันว่าทำไมลูกจ้างประจำก็มีระเบียบเรื่องเครื่องแบบ ฯ เหมือนกันกับข้าราชการ แต่ทำไมเขาไม่ค่อยนิยมแต่งกัน
  • เราต้องมีความภูมิใจในศักดิ์ศรีของตัวเราเองค่ะ...เพื่อเป็นเกียรติกับวงศ์ตระกูล แต่งไปเถอะค่ะ แล้วเราก็ไม่ได้ทำผิดสักหน่อย...คนอื่นที่เขาไม่ได้เป็นเช่นเรา มีอีกมากที่เขาอยากแต่ง แต่แต่งไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ...
  • แต่เรามีระเบียบรองรับ...ก็สามารถแต่งได้ค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

ลูกจ้างประจำปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 25 ปีมีสิทธิ์ในการลาออกแล้วเลือกรับเป็นบำนาญได้หรือไม่

ตอบ...คุณปรณต...

  • มีสิทธิ์ค่ะ...แต่เขาเรียกว่า "บำเหน็จรายเดือน" นะค่ะ ไม่ใช่ "บำนาญ" เพราะบำนาญ เป็นคำที่ใช้กับข้าราชการค่ะ...เพราะระเบียบบอกไว้เช่นนั้น...เดี๋ยวพอไปพูดกับข้าราชการบางคน เขาจะหัวเราะเอาค่ะ...คนยิ่งไม่เหมือนกันนะค่ะ...ศักดินาบางคนก็ล้นเหลือค่ะ...สำหรับผู้เขียนไม่เป็นไรหรอก มีความเข้าใจค่ะ...เนื่องจากกฎหมายใช้กันคนละฉบับค่ะ...จึงเรียกไม่เหมือนกันค่ะ...

ตอบ...คุณยุทธ...

  • คุณต้องไปแจ้งให้รัฐบาลทราบแล้วกระมังค่ะ เพราะผู้เขียนก็เพียงแต่มีหน้าที่มาแจ้งให้ปฏิบัติเท่านั้นเอง เพราะเป็นอำนาจนอกเหนือจากตัวผู้เขียนเอง ไม่สามารถกระทำได้ค่ะ...

ผมเคยเป็นทหารเกณฑ์ ผลัด ๑/๒๕ ปลดประจำการ ๑ พ.ค.๒๕๒๗ ๒ ปีเต็มๆ ได้ไปรบจริงๆ แล้วสอบนายสิบรบพิเศษได้ที่กองทัพภาคที่๓ แต่โรงเรียนนายสิบยุบเลิกไป ผมเป็นรุ่นที่ ๒ มี๕๐๐ นาย ที่ถูกลอยแพ ผมก็เลยไปสอบตำรวจนครบาลเขารับทหารกองหนุน ๕๐ พลเรือน ๔๕๐ นาย ผมอยู่ในข่ายกองหนุนเพราะปลดประจำการจากทหารมา ทำให้ผมมีโอกาสน้อยมากที่จะสอบติดไม่เหมือนมาจากพลเรือนมีโอกาสมากกว่า แต่ผมก็สอบผ่าน ได้ที่ ๔๘ จาก ๕๐ นาย นอกนั้นเป็นตัวสำรอง ถึงลำดับ ๑๐๐ แต่ก็มีปัญหาจากพี่คนหนึ่ง......ไม่เอ่ยถึงนะครับ ผมก็เลยสละสิทธิ์ไม่เป็นตำรวจ แล้วผมก็ไปทำงานเอกชนหลายต่อหลายที่ จนมาปัจจุบันผมก็ได้มาเป็นลูกจ้างประจำ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ ๑๙ ปีแล้วครับ ตำแหน่งพนักงานเก็บเอกสาร ปัญหามีมากมาย จากความเหลื่อมล้ำแต่ผมก็ทำใจได้เพราะผ่านการเป็นทหารมาแล้วและจากการทำงานเอกชนหลายๆแห่ง และได้จากการไปปฏิบัติธรรมทำให้ได้เห็นธรรมที่เป็นจริง ผมถึงได้เข้าใจความจริงว่าทหารและตำรวจผมถึงไม่ได้เป็นต่อทั้งๆที่ผมไม่จำเป็นต้องไปสอบแข่งขันเลยผมมีโครต้า(โคต้า)ไปเรียนได้เลยครับแต่ผมชอบทหารราบ ตอนนั้นผมเป็นทหารปืนใหญ่ครับ ผมเริ่มฝึกฝนปฏิบัติในทางธรรมเมื่อปี ๔๖ ผมเลิกดื่มเหล้าและสูบบุหรี่มาเป็นเวลา ๑๐ ปีแล้วต้องเลิกให้ได้ก่อนรับศีล ถ้าเลิกไม่ได้จะรับศีลก็รับได้ไม่ครบ ผมอยากรับศีล ๘ ได้ด้วยเวลาปฏิบัติธรรมจะได้ราบรื่นจิตใจดีครับอาจารย์ ขออนุญาตรบกวนอาจารย์แค่นี้ก่อนนะครับขอบคุณมากครับ

ตอบ คุณพรชัย อุตรดิตถ์...

  • ค่ะ การดำรงชีวิตของคนเรามีปัญหาอยู่เสมอค่ะ เพียงแต่ว่าตัวเราเองนั้นจะอดทน ต่อสู้และฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ นั้น ไปได้อย่างไร อย่าลืมว่า ระบบราชการไทยยังคงเป็นระบบศักดินาอยู่อีกเยอะ แม้ว่า ภาครัฐพยายามให้เกิดระบบการทำงานตามภาครัฐแนวใหม่ก็ตาม ก็ต้องรอให้ข้าราชการรุ่นเก่า ๆ ตายจากกันไปข้างหนึ่งหรือเกษียณอายุไปกันแล้วนั่นแหล่ะค่ะ จึงจะทำให้ค่อย ๆ เกิดระบบใหม่ที่ปัจจุบันเป็นการเน้นเรื่อง "ผลงาน" เป็นหลัก เข้ามาแทน เพราะระบบเดิมประเทศไทยเราเป็นระบบอุปถัมภ์เยอะ จึงทำให้เกิดอำนาจในตัวบุคคลอยู่ ยิ่งเป็นผู้บังคับบัญชาจะทำอย่างไรก็ทำได้ เพราะถือว่ามีอำนาจเหนือผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ภาครัฐแนวใหม่ให้ใช้ระบบของการทำงานเป็นทีมมากกว่าใช้สายบังคับบัญชาค่ะ เนื่องจากการบังคับบัญชานั้นมันมีอยู่แล้ว คือ โครงสร้างไงค่ะ...แต่ก็มีส่วนราชการที่จะทำตามระบบใหม่ ปัจจุบันก็ยังมีน้อยมากค่ะ ก็ยังเห็นใช้ระบบเดิม ๆ กันอยู่เลย ถึงบอกไงค่ะ ว่าต้องเกษียณ หรือว่าต้องตายจากกันไปข้างหนึ่งนั่นแหล่ะค่ะ
  • ดีค่ะ ทุกวันนี้จะมีคนส่วนน้อยมากที่จะหันหน้าไปพึ่งพาเรื่องการปฏิบัติธรรม ถ้าตัวเราทำแล้ว เรามีความสุข ทำไปเถอะค่ะ เราทำ - เราได้ นะคะ ใครไม่ทำก็ช่างเขา ผลกรรม ผลบุญมีค่ะ เชื่อเถอะ เราทำแล้วเป็นสุข แค่คิด แค่ทำ ทำแล้ว ก็มีสุขค่ะ เป็นกำลังใจให้ทำงานต่อไปนะคะ...ทุกคนอยู่เพื่อเกษียณอายุกันทั้งนั้นค่ะ...
  • เมื่อเกษียณกันไปแล้ว ก็ไม่เห็นใครสักคน แบกยศ แบกตำแหน่ง แบกหน้าที่ที่รับผิดชอบตอนที่ยังรับราชการอยู่กลับติดตัวไปด้วยภายหลังจากเกษียณกันสักคน...เราไม่ยึดติดต่อตำแหน่ง หน้าที่ ทำให้เรามีความสุข เท่านี้ก็เพียงพอต่อชีวิตคนเราแล้วค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ...

ไม่มีอะไรไปมากกว่าคำว่าขอบคุณอาจารย์มากครับ ที่ทุกวันนี้อาจารย์ได้ให้ความเข้าใจข้อมูลที่ขาดไปของเราชาวลูกจ้าง เป็นกำลังใจไขปัญหาี่ทียังไม่เข้าใจได้เยอะมากๆครับ ผมถือโอกาสนี้ขอบคุณอาจารย์แทนชาวลูกจ้างทุกคนครับ ขอขอบพระคุณอาจารย์และเป็นกำลังใจให้อาจารย์ตลอดไปครับ

ตอบ...คุณพรชัย อุตรดิตถ์...

  • เป็นหน้าที่ของข้าราชการ เมื่อรู้แล้วก็นำมาเผยแพร่ให้ทราบไงค่ะ...แต่ถ้าเป็นระบบการทำงานแบบเก่า นายรู้แล้ว ลูกน้องจะมารู้มากไปกว่านายไม่ได้ แต่ปัจจุบันมันไม่ใช่แบบนั้นค่ะ เมื่อเรารู้ เราก็ต้องบอกเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ + พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นค่ะ ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติได้รับการพัฒนาขึ้นไปอีกทางหนึ่งไงค่ะ...คนเราเกิดมาและเป็นไปแตกต่างกัน แต่สิ่งที่มีมาเหมือนกัน นั่นคือ ความเป็นคน ไม่ว่าชาติตระกูลไหน เราก็เป็นคนเหมือนกัน ยิ่งคนที่เป็นนายคน เมื่อทราบ เมื่อรู้ ก็ต้องนำมาบอกให้ลูกน้องรับทราบ + ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องค่ะ...
  • อีกอย่าง ผู้เขียนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สร้างสรรค์ และพัฒนาบุคลากรของประเทศไทยในทางที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อนค่ะ ตั้งใจทำงานเพื่อเมืองไทยนะคะ...เป็นกำลังใจให้กับคนทำงานทุกคนค่ะ...

*คุณแม่ของผมได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำทำให้ไม่มีกำลังไม่มีเรี่ยวแรง คุณหมอ นวพร ได้เจาะไขกระดูกสันหลังไปตรวจ ผลของการนำไขกระดูกสันหลังไปตรวจคุณแม่ผมเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวคุณหมอได้ให้กำลังใจผมและญาติๆแล้วท่านได้แยกคุณแม่ผมจากห้องคนไข้รวมไปอยู่ห้องพิเศษ ๑ ห้อง ๑๒๐๕ ชั้น ๒ หมายความว่าแยกคุณแม่ผมออกห่างในความเสี่ยงเพราะูภูมิคุ้มกันคุณแม่ผมไม่ทำงานเสียแล้ว คุณแม่ผมเป็นคนที่มีความอดทนสูงมากจากที่ทานข้าวสวยได้แล้วมาเป็นของอ่อนแทนจนทานอะไรไม่ได้แม้แต่น้ำใช้หลอดหยอดแล้วก็ยังกลืนไม่ได้เจ็บคอไปหมด แล้วน้ำท่วมปอดอีก คุณแม่ผมอยากเจอพี่ชายอีกสองคน คนโตอยู่กรุงเทพฯเป็นไข้ท้องเสียจะมาก็มาไม่ไหวผมก็บอกไปว่าเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วนะคุณแม่อยากเจอเป็นครั้งสุดท้ายพี่ชายผมตกใจมากเพราะโทรฯติดต่อกันตลอดว่าอาการดีขึ้นแล้วไงล่ะ เขาให้โอกาสได้สั่งเสียไงตอนนี้แย่แล้วนะ พี่ชายคนที่ ๒ เป็นอาจารย์สอนศิลปะ อยู่ที่ฝรั่งเศส มาไม่ทันอยู่แล้วได้แต่โทรฯคุยกัน ผมก็ได้แต่บอกคุณแม่ไปว่าพี่เขาบินมาไม่ไหวก็ได้คุยทางอากาศแทนผมก็ได้ต่อโทรศัพท์ให้พี่ชายคนที่ ๒ คุยกับคุณแม่แบบเปิดลำโพงคุยกันพักใหญ่ๆแล้วคุณแม่ก็ขอตัวพักผ่อนคืนนั้นคุณแม่ไม่ได้หลับเลยให้ผมพยุงนั่งพยุงนอนทั้งคืนเพราะคุณแม่ปวดกระดูกมาก จนเวลา ๐๒.๐๐นของวันที่ ๑ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๕๔ คุณแม่ได้ถามผมว่า ออด มาหรือยัง หมายถึงพี่ชายคนโต ผมตอบไปว่า ตี ๕ ก็มาแล้วครับ พอ ตี ๕.๓๐ น พี่ชายคนโตมาถึงแม่ผมมาแล้ว คุณแม่ผมยิ้มดีใจเหมือนคนไม่ป่วยเลย แต่คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายแล้วสินะที่จะจากลูกๆหลานๆไปแล้วเวลา ๒๓.๐๐ น ของวันที่ ๒ ต.ค. พ.ศ.๒๕๕๔ อาการตามที่คุณหมอ นวพร ตลอดจน คุณพยาบาลที่ให้ความเอาใจใส่ดูแลคุณแม่ผมมาอย่างดีเยี่ยมสุดยอดเลยครับผมขอปรบมือให้และขอขอบคุณผ่านทาง WEB อาจารย์ดื้อๆอย่างนี้หละเพราะผมได้รับสิ่งดีๆจากข้าราชการดีๆ แล้วเวลานั้นก็มาแล้วลูกๆหลานๆได้ประชุมถึงจะไม่ครบพร้อมหน้าแต่ทุกคนได้ทำหน้าที่บอกต่อให้คุณแม่รับทราบว่าไม่ต้องเป็นห่วงอาลัยกับโลกใบนี้อีกแล้วคุณแม่ได้ทำหน้าดีเยี่ยมแล้ว ลูกๆหลานๆจะทำหน้าที่ต่อไปแล้วเราๆทั้งหลายได้ส่งทางให้คุณแม่ไปสู่ทางสงบคุณแม่มีใบหน้าผ่อนคลายดูสงบเยือกเย็นมียิ้มที่มุมปากแล้วลูกๆหลานๆได้เห็น ยิ้มของคุณแม่ เวลา ๒๒.๓๗ นคุณแม่ก็สิ้นลมหายใจสุดท้ายอย่างสงบ รวมเวลาที่คุณแม่อยู่ที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ทั้งหมด ๒๙ วัน ค่ารักษา ๙๗,๘๕๐ รวมค่าห้องส่วนเกิน๘๗๐๐ รวมเป็น ๑๐๖๕๕๐ บาท แต่ผมไม่ต้องจ่ายเป็นแสนจ่ายแค่ ๘๗๐๐ บาทค่าห้องส่วนเกินถึงผมจะเป็นลูกจ้างประจำแต่ผมก็ภูมิใจที่มีสิทธิ์อีกหลายๆสิทธิ์ไม่น้อยหน้าใครแล้วทำให้คุณแม่ภูมิใจจนวาระสุดท้ายของคุณแม่ พยาบาลหลายท่านน้ำตาซึมบอกว่าคุณแม่ผมเข้มแข็งอดทนไม่บ่นว่าเจ็บให้เห็นเลยแม้จะเจาะแขนจนไม่มีที่จะเจาะแล้วต้องเจาะที่เท้าก็มี ผมรักในหลวงครับเห็นท่านทรงงานหนักมากผมน้ำตาซึมเลยครับ อาจารย์ คุณแม่ผมก็ทำงานหนักมาตลอดผมรักคุณแม่มากครับ หลังจากที่คุณแม่ได้สิ้นลมไปไม่นานพี่ชายที่อยู่ฝร้่งเศสก็โทรฯมาให้ผมกอดคุณแม่แทนพี่เขาด้วยผมก็ได้ทำแทนอย่างภาคภูมิใจ และได้ทำหน้าที่จัดงาน(สังขาร)ของท่านไม่กล้าเรียกศพเพราะสังขารท่านดูสดใสตลอดจนส่งท่านเข้าเตาเพราะสังขารท่านไม่ได้ฉีดยาใครๆก็ออกปากว่าสังขารสวยมาก รบกวนอาจารย์ยาวมากเลยนะครับ ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงมีอายุยืนยาวเป็นไฟฉายเป็นต้นไทรเป็นสายน้ำที่ชุ่มเย็นของเราเหล่าลูกจ้างให้นานแสนนานนะครับขอขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

ตอบ...คุณพรชัย...

  • อ่านแล้วก็น้ำตาซึมเช่นกันค่ะ...ก็ขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสียในครั้งนี้ด้วยนะคะ...ผู้เขียนเข้าใจความรู้สึกนี้ดี เพราะผู้เขียนก็เคยได้สูญเสียแม่อันเป็นที่รักยิ่งไปเหมือนกันเมื่อ 12 ปีกว่าแล้วค่ะ แต่สิ่งที่ยังอยู่ในใจ นั่นคือ ความรัก + ความคิดถึงท่านเท่านั้นเองค่ะ ตลอดทั้งความทรงจำดี ๆ ของแม่ที่ทำให้กับเราตอนที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ค่ะ
  •  ขอบคุณที่เล่าประสบการณ์ + ความรู้สึกให้ฟังนะคะ ถือว่า เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะ...
  • ขอขอบคุณสำหรับคำอวยพรนะคะ ผู้เขียนก็จะสามารถทำให้ได้เท่าที่อายุราชการยังเหลืออยู่อีก 11 ปี ข้างหน้าค่ะ สิ่งใดที่รู้ เห็น ก็จะนำมาบอกกล่าวให้ทราบค่ะ

 

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ ครับอาจารย์ ขอให้อาจารย์มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงมีจิตที่ฉ่ำเย็นเปี่ยมด้วยกุศลผลบุญเืกื้อหนุนบุญส่งเสริมทางกุศลด้วยอำนาจบารมีของคุณพระพุทธเจ้าปกป้องคุ้มครองด้วยบุญกุศลที่อาจารย์ได้ให้ความสว่างเข้าใจในความเป็นไปของลูกจ้างที่มีเกียรติศักดิ์ศรี มีหน้าที่ที่ทำเพื่อประเทศชาติอย่างสมศักดิ์ศรีของลูกจ้างอย่างภาคภูมิใจ ขอให้คุ้มครองอาจารย์และครอบครัวปลอดภัยจากอันตรายใดๆทั้งปวงด้วยเทอญ สาธุ สาธุ สาธุ

  • ขอบคุณค่ะ คุณพรชัย...
  • พรใดที่ให้มาก็ขอให้ย้อนกลับคืนไปยังคุณและครอบครัวเช่นกันค่ะ

สวัสดีค่ะ


ดิฉันบรรจะเป็นลูกจ้างประจำตั้งแต่ปี 41 สมัยนั้นยังไม่มีพนักงานราชการ ตอนที่บรรจุดิฉันใช้วุฒิ ปวช. ค่ะ แต่ระหว่างที่เป็นลูกจ้างประจำ ดิฉันจบ ป.ตรีแล้ว ต่อมาเริ่มมีพนักงานราชการ จนกระทั่งรัฐบาลนี้มีนโยบายให้ ป.ตรี ได้เงินเดือน1,500 บาท แต่ดิฉันไม่ได้ปรับให้ได้ 1,500 บาท ด้วยเนื่องจากเค๊าดูจากวุฒิที่บรรจุ ส่วนพนักงานราชการเพิ่งจะมีตำแหน่งนี้มาไม่นาน ตอนนี้เงินเดือนไปไกลกว่าดิฉันเยอะ แถมงานที่เค๊าได้รับยังจะดูดีมีระดับ กว่าลูกจ้างอย่างดิฉันเสียอีก จนบางครั้งอยากจะลาออกมาเป็นพนักงานราชการเสียจริงๆ เพราะเค๊าคงเห็นว่าเราเป็นลูกจ้างมั้งคะ ไม่เหมือนพนักงานราชการ มันยังมีคำว่าราชการอยู่ เฮ้ออออออ

วราภรณ์ ชวกิจภิญโญพงศ์

สวัสดีค่ะดิชั้นเป็นลูกจ้างประจำของเทศบาล มาตั้งแต่ปี 2545 อยาเรียนถามว่่าบัตรประจำีลูกจ้างประจำ มใส่ชุดขาวหรือชุดกากี แล้วชุดขาวพอจะมีตัวอย่างการติดเครื่องหมายและแบบการแต่งมั๊ยคะ ส่วนบัตรประจำตัวลูกจ้างประจำด้านหลังใต้ครุฑให้ใส่ตำแหน่งลูกจ้างประจำหรือพนักงานเทศบาลคะ ขอขอบคุณอาจารย์นะคะที่ให้่ความรู้ดีๆสำหรับพวกเราค่ะ เพราะถามบุคลากรในหน่วยงานไม่เคยได้คำตอบ นอกจากตอบว่าไม่ทราบเลย ขอขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งค่ะ

ผมจะเรียนจบปีนี้ และจะรับปริญาตรีปี 58 (พนักงานสถานที่ระดับ1 ) ผมมีสิทธิแต่งชุดขาวรับปริญาตรีได้มัย เพราะเป็นครั้งหนึ่งในชีวิต

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อยากเรียนถามว่าผอ.โรงเรียนให้ลูกจ้างชั่วคราว จ้างจากเงินสพฐ. ตัดชุดปกติขาว อยากเรียนถามว่า ลูกจ้างชั่วคราวของรัฐมีสิทธิ์ใส่ชุดปกติขาวหรือเปล่าค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท