ฉือจี้ ที่นี่มีแต่รัก


TzuChi มูลนิธิพุทธฉือจี้

  พุทธฉือจี้ ที่นี่มีแต่รัก

    

ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียน เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธฉือจี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยเหลือ สงเคราะห์รักษาพยาบาล แด่ผู้ยากไร้ ด้อยโอกาส หรือประสบภัยพิบัติ ที่เกิดขึ้นกับประชาชน ซึ่งมีสมาชิกของชาวฉือจี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก

  

ท่านเป็นเพียงภิกษุณีตัวเล็กๆ รูปหนึ่ง แต่ท่านใช้เวลาเพียง 40ปี ก่อตั้งมูลนิธิพุทธฉือจี้  โดยเริ่มก่อตั้งจากสมาชิก 30คน จนปัจจุบันมีสมาชิก กว่า 60 ล้านคนทั่วโลกได้สำเร็จ นับว่าเป็นมหัศจรรย์ธรรมที่ ชีวิตของคนๆหนึ่ง สามารถจุดประกาย แสงสว่างแห่งธรรมให้กับผู้คนได้มากมายทำไมจึงเรียกว่า มหัศจรรย์ธรรม  

มูลนิธิพุทธฉือจี้ สามารถสร้างวัฒนธรรมการแยกขยะของสมาชิก จนมีรายได้ตั้งสถานีโทรทัศน์ ต้าไอ้ (Da-Ai:สถานีโทรทัศน์แห่งความรักอันยิ่งใหญ่) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม  โดยเป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อคุณธรรม ที่มีเป้าหมายคือ จะต้องมี rating เป็นอันดับ 1 ในประเทศใต้หวัน เราจะเห็นภาพยนต์ส่งเสริมคุณธรรมดีๆมากมาย อย่างเช่น เดจังกึม ได้ในสถานีโทรทัศน์ช่องนี้ (ถ้าเราดี เดี่ยวคนอื่น ก็ทำตามเอง)

  

 

Tzu Chi

 

 DaAi TV Indonesia 

มูลนิธิพุทธฉือจี้ สามารถตั้งโรงพยาบาล ที่หากคนจนไม่มีเงินก็สามารถเข้ารักษาได้ในประเทศ Malaysia, Singapore, Indonesia, the Philippines ซึ่งใช้ชือว่า  Buddhist Tzu chi hospital ได้อย่างสง่าผ่าเผยและสมานฉันท์ในประเทศที่เป็นมุสลิม และขยายสาขาไปอีกมากมายหลายประเทศ อย่างเช่น Japan, Hong Kong,Thailand, Vietnam, Australia, New Zealand, South Africa, England, Austria, Canada, the United States, Brazil, Argentina, Paraguay, Laos, Lesotho, และประเทศอื่นๆ

ที่สำคัญฉือจี้มีธนาคารไขกระดูกอันดับหนึ่งของเอเซีย โดยสามารถเปลี่ยนทัศนคติของคนใต้หวันที่ว่าหากบริจาคอวัยวะแล้วจะทำให้ชาติต่อไปต้องเกิดมาเป็นคนพิการ ให้กลายเป็นการทำบุญที่ได้บุญอันยิ่งใหญ่

ภายในบริเวณโรงพยาบาลของฉือจี้ มีอาสาสมัครกำลังเล่นเปียโนให้คนไข้และญาติฟัง เป็นโรงพยาบาลที่รักษาทั้งร่างกายและจิตใจ ส่วนที่กำลังเข็นรถผู้ป่วย เป็นอาสาสมัครที่มาช่วยทำงานบริการในโรงพยาบาล

โรงพยาบาลของฉือจี้ทั้ง 6 แห่งในใต้หวันเป็นโรงพยาบาลระดับแนวหน้าที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยและมีแพทย์ที่มีหัวใจและจิตวิญญานของความเป็นมนุษย์ จนมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอย่าง Haward ต้องมาศึกษาดูงาน เราจะพบเห็นแพทย์ชาวฉือจี้ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส ยกมือใหว้คนไข้และคนอื่นๆได้เสมอ นอบน้อมถ่อมตน ตั้งใจให้บริการอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย โดยมีทัศนคติที่ว่าผู้ป่วยคือผู้ที่ทำให้ตนได้มีโอกาศในการกระทำความดี ให้บังเกิดบุญกุศลขึ้น

TSUNAMI RELIFE IN ACEH,INDONESIA 

TYPHOON RELIFE

ผู้คนกว่า 6-7 ล้านคนยินดีบริจาคให้กับฉือจี้ เพื่อใช้ในมูลนิธิและสาธารณะประโยชน์เป็นเครือข่ายพลังศรัทธาที่ยิ่งใหญ่

ทั้งหมดนี้เพราะการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และโปร่งใส ถึงขนาดที่หากทำตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในใบบริจาคไม่ได้ ก็จะได้รับเงินคืน เงินบริจาคจะถูกนำไปบริหารจัดการที่มูลนิธิ ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัย ไม่นำมารวมกับวัดหรือใช้เงินบริจาคของมูลนิธิ โดยวัดก็จะเป็นวัดเล็กๆที่เรียบง่ายเหมือนเดิม เจ้าสำนักก็มิได้ถูกยกอุปโหลก ให้เป็นจอมจักรพรรดิ์ จนยากที่จะเข้าพบเช่นวัดจานบินเช่นในบ้านเราแต่อย่างใด ที่สำคัญวัดจะพึ่งพาตนเองทั้งหมด นักบวชจะปลูกผักเลี้ยงชีพและหาเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวเล็กๆน้อยๆ จากการทำเทียนหรือของที่ระลึกขาย  

  

 

แปลงผักที่นักบวชช่วยกันปลูกเพื่อใช้บริโภคในวัด มีปริมาณที่สามารถนำมาเป็นอาหารสำหรับรองรับแขกผู้มาเยือนวัดได้ถึง 500 คน

การปลูกฝังคุณธรรมของฉือจี้ จะเริ่มตั้งแต่อนุบาล พอขึ้นระดับมัธยมหรือมหาวิทยาลัย จึงจะค่อยมีกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ในช่วงปิเทอม การอบรมจะไม่ใช่การจับเด็กมานั่งสมาธิ แต่จะเป็นการแทรกคุณธรรมเข้าไปในวิถีชีวิต ได้ปฎิบัติจริงในการทำงานหรือทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคมโดยเน้นในเรื่องจิตอาสา

 

โรงเรียนหรือมหาลัยของเขา จะสอนคน สอนแพทย์ ให้เป็นมนุษย์ มิได้สอนให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อป้อนเข้าสู่ลู่วิ่งแห่งระบบทุน นักเรียนนักศึกษาของเขาจึงมิได้มีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อจบการศึกาษาเพื่อออกไปเป็นลูกจ้าง หรือมนุษย์เงินเดือน การปลูกฝังคุณธรรมให้กับเด็กๆของฉือจี้ เป็นความละเอียดอ่อนและปรานีตแบบพุทธที่สามารถ นำนามธรรมมาเป็นรูปธรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวันของเด็กๆได้อย่างน่าอัศจรรย์ กลอุบายที่จะทำให้เด็กๆได้รับการปลูกฝังเรื่องจิตอาสาอย่างหนึ่งก็คือ ในการรับประทานอาหารของเด็กๆ เด็กๆจะแย่งกันเป็นอันดับหนึ่งของหัวแถวเพื่อรับอาหาร แต่ไม่ใช่สำหรับอาหารของตนเอง แต่เป็นอาหารสำหรับมอบให้อาจารย์ผู้สอน หลังจากมอบอาหารให้กับอาจารย์แล้ว จากนั้นจึงกลับไปต่อท้ายแถวเพื่อรอรับอาหารของตนเอง หลังจากนั้นทุกคนจึงค่อยทานอาหารพร้อมๆกัน วัฒนธรรมการกินอาหารด้วยตะเกียบก็เป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของเด็กๆ วิชาศิลปะจะถูกสอดแทรกคุณธรรมเข้าไปอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการจัดดอกไม้ หรือศิลปะการชงชา  

 

 

Tzu Chi School 

 

 

การช่วยแยกขยะของเด็กๆ ซึ่งถ้าเป็นผู้ใหญ่ทั่วไป จะมีอาการทนไม่ได้กับการซุกซนของเด็กๆ และมักจะไล่ให้ไปเล่นที่อื่น แต่สำหรับฉือจี้ นี่คือการปลูกฝังคุณธรรมและจิตอาสา การช่วยกันแยกขยะในครัวเรือนและนำมาจากบ้านเพื่อบริจาคให้วัดเป็นวัฒนธรรม ที่ถือว่าเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าเงินจากการแยกขยะจะสามารถ ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ โรงพยาบาล หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยได้ 

ทั้งหมดนี้มีจุดกำเนิดมาจากดวงใจที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาดวงเล็กๆดวงหนึ่ง

 

ประวัติท่านเจิ้งเหยียน

ท่านเจิ้งเหยียนเกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 ที่ตำบลชิงสุ่ย เมืองไทจุง ซึ่งอยู่ตอนกลางของไต้หวัน พ่อแม่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของอา จึงนับถืออาเป็นเหมือนพ่อแม่ที่แท้จริง เมื่ออายุได้ 15 ปี แม่ป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหาร อาจารย์ได้ตั้งจิตขอให้มารดาหายป่วยโดยตนเองขอลดอายุของตนเองลง 12 ปี และจะกินมังสะวิรัติเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่การเพิ่มอายุขัยให้กับมารดา

เมื่ออายุได้ 20 ปี บิดาป่วยกะทันหันด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเสียชีวิตลง ท่านอาจารย์มีความสะเทือนใจมาก ในที่สุดก็ตัดสินใจปลงผมตนเองถือบวช เร่ร่อนไปทางแถบตะวันออกของไต้หวัน ซึ่งเป็นเขตทุรกันดาร ผู้คนยากจนมาก ท่านไม่ออกรับบิณฑบาตจากชาวบ้านเพราะไม่ต้องการให้ชาวบ้านเดือดร้อน ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายด้วยการเก็บถั่วลิสงและมันเทศที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านมาเป็นอาหาร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2504 ท่านได้เดินทางมาพำนักที่เมืองฮวาเหลียน และในเวลาต่อมาท่านได้พระอาจารย์ยิ่นซุ่นรับเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ โดยได้สั่งสอนหลักสั้นๆ ว่า เมื่อบวชแล้ว จงทำทุกอย่างเพื่อพุทธศาสนาและสรรพสัตว์ทั้งปวง


หลังจากนั้นท่านธรรมาจารย์และอุบาสก สวี ซง หมิน เพื่อนของท่านได้พากันมาสร้างกระท่อมเล็ก ๆ หลังวัดผู่หมิง ที่ฮวาเหลียนเป็นที่พำนัก โดยตัวท่านอาจารย์และสานุศิษย์เพียงไม่กี่คนได้อยู่อาศัยที่นั่น ด้วยการทำงานอย่างหนัก ต่อสู้กับภัยธรรมชาติทุกรูปแบบ อยู่แบบอดมื้อ กินมื้อ ท่านอาจารย์ได้ตั้งกฎไว้ว่าวันใดไม่ทำงาน วันนั้นจะไม่กินนอกจากปลูกผักไว้กินเอง ทำโรงงานเล็กๆ รับทำสินค้าขาย เช่น นำด้ายจากโรงงานที่เขาทิ้งแล้วมาถักเสื้อกันหนาว เย็บถุงสำหรับใส่อาหารสัตว์ ถักรองเท้าเด็กขายหาเงินมาใช้ประทังชีวิต เป็นต้น

ปี พ.ศ. 2509 ท่านอาจารย์ประสบเหตุอันทำให้กระเทือนใจอย่างรุนแรง เมื่อไปเยี่ยมอุบาสกผู้หนึ่งที่เจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนที่ฟงหลิน อาจารย์ไปพบกองเลือดกองใหญ่นองอยู่บนพื้น สอบถามได้ความว่าเป็นกองเลือดของผู้หญิงชนบทแท้งลูก ญาติใช้เวลาเดินทางพามาโรงพยาบาล 7-8 ชั่วโมง แต่ก็ต้องเสียชีวิตเพราะญาติไม่มีเงิน 8,000 เหรียญสำหรับจ่ายค่ามัดจำก่อนที่แพทย์จะลงมือผ่าตัดช่วยชีวิต เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ท่านอาจารย์ตั้งปณิธานแน่วแน่ว่าจะต้องทำงานเพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ยากไร้ที่ขาดที่พึ่งพิง

จากนั้นไม่นาน มีแม่ชีคาทอลิก 3 ท่านมาเยี่ยม เห็นสภาพความยากลำบากของท่านอาจารย์ ก็ชวนอาจารย์เปลี่ยนมาบวชเป็นชีแคทอลิก โดยมีความเห็นว่าศาสนาพุทธไม่เอาใจใส่ความทุกข์ยากของคนในสังคม ไม่ช่วยแก้ปัญหาสังคมอย่างเป็นรูปธรรม พุทธศาสนาชนส่วนใหญ่ใฝ่หาธรรมะเพื่อพัฒนาตนเองเท่านั้น แต่ท่านอาจารย์ไม่มองเช่นนั้น อาจารย์เห็นว่าหลักพุทธธรรมไม่เพียงแต่สอนให้คนรักเพื่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น แต่ยังสอนให้รักสรรพสัตว์และสรรพสิ่งรอบตัวด้วย และยังสอนให้ชาวพุทธเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนด้วย แม่ชีแคทอลิกจึงเสนอว่า ถ้าอย่างนั้นทำไมไม่รวมชาวพุทธทำคุณประโยชน์เพื่อสังคมล่ะ

ในที่สุดท่านอาจารย์จึงเกิดความคิดอันที่จะรวบรวมชาวพุทธเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยกันสร้างกุศลกรรมด้วยการช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้เป็นรูปธรรมด้วยความเมตตากรุณาและไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน ถ้าชาวพุทธทำได้ ทุกคนก็จะเป็นพระโพธิสัตว์ได้ทันที ไม่ต้องรอสวดมนต์อ้อนวอนภาวนาต่อเจ้าแม่กวนอิม ความทุกข์ยากในสังคมและในโลกก็จะบรรเทาบางลงไปได้

จากนั้น ท่านอาจารย์จึงใช้หลัก ลงมือทำเลยเริ่มด้วยการชวนสานุศิษย์ที่เป็นแม่บ้านธรรมดา 30 คน ให้รู้จักออมเงินที่จะไปจ่ายตลาดคนละ 50 เซ็นต์ต่อวัน โดยออมลงในกระปุกไม้ไผ่ มีคำขวัญว่าแม้เงิน 50 เซ็นต์ ก็ช่วยเหลือผู้ยากไร้ได้

จากจุดเล็กๆ ที่เปี่ยมไปด้วยศรัทธาในความดีงาม คามเมตตากรุณาอย่างสูงส่งที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น จากจิตใจของท่านอาจารย์และแม่บ้านสานุศิษย์เพียง 30 คน จากนั้นการออมเงินวันละเล็กละน้อยเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นได้แพร่กระจายไปทั่วเมืองฮวาเหลียน มีผู้คนสมทบทุนมากขึ้นตามลำดับ

จนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2509 มูลนิธิฉือจี้จึงได้ถือกำเนิดขึ้นที่นั่น ถึงวันนี้ เวลาผ่านไป 40 ปี มูลนิธิฉือจี้ได้ขยายกิ่งก้านสาขามีสมาชิกทั่วโลกกว่า 5 ล้านคน มีอาสาสมัครหลายแสนคน มีเงินบริจาคมาทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นหมื่นเป็นแสนล้านเหรียญ มีกิจกรรมทางมนุษยธรรมและทางจิตวิญญาณแพร่กระจายไปทั่วเกาะไต้หวันและกระจายไปทั่วโลก ประเมินเป็นมูลค่าและคุณค่ามิได้

มหัศจรรย์ธรรมทั้งหมดนี้ ก่อเกิดจากแรงใจของภิษุณี ตัวเล็กๆ เพียงคนเดียว และเงินออมเพียง 50เซนต์ต่อวัน (US$0.013 หรือประมาณ 50สตางค์)

แล้วแรงใจที่เป็นความรักต่อเพื่อนมนุษย์ของคุณละ......

คำถามกระตุกต่อมความคิด

1.น่าคิดไหมว่า สถานีโทรทัศน์ในบ้านเราทำไมจึงน้ำเน่าตามๆกัน

2.แล้วทำไมบ้านเราจึงกลัวการใช้คำว่าพุทธ ในผืนแผ่นดินเรา

3.ทำไมเราจึงเห็นพยาบาลหน้าตาบอกบุญไม่รับ,หงุดหงิดถึงขั้นตะคอกหรือทอดทิ้งผู้ป่วย

4.ทำไมการบริจาคให้วัด ในบ้านเราส่วนใหญ่จึงเน้นวัตถุไปทางด้านการพัฒนาวัตถุ ตามกระแสวัตถุนิยม แข่งกันสร้างสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ๆ มากกว่าการพัฒนาคน

5.ทำไมระบบการศึกษาที่ตามอย่างประเทศตะวันตก ผู้เรียนจึงสามารถกระทำทุกอย่างได้เพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งใบประกาศ แม้แต่การโกงข้อสอบ(ตั้งแต่การใช้เส้นสาย,ซื้อเกรดไปจนถึงhackข้อสอบ)หรือจ้างมืออาชีพทำวิชาโปรแจ็ค

6.นอกจากนิ่งดูดายและทำร้าย แม่พระธรณีผู้ให้กำเนิดเรามา เราแสดงความรักอะไรให้กับโลกใบนี้บ้าง

 

เกิดอะไรขึ้นกับสิ่งที่เราเรียกว่าการพัฒนา เรารักแต่ตนเองจนลืมศักศรีของความเป็นมนุษย์ไปหมดสิ้นกันแล้วหรือ? เราในฐานะส่วนหนึ่งของระบบ และเป็นเมืองพุทธ จะยอมให้สิ่งนี้มันเกิดขึ้นและเลวร้ายลงๆ ไปเช่นนี้หรือ  

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

http://www.tzuchi.org/global/ 

http://gotoknow.org/blog/thaikm/28602 

http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=660

จิตอาสาพลังสร้างโลก

http://hsro.or.th/documents/20060524_document1.pdf

http://hsro.or.th/documents/20060617jitarsa2.pdf 

http://hsro.or.th/documents/20060617jitarsa3.pdf 

http://hsro.or.th/documents/20060617jitarsa4.pdf

http://hsro.or.th/documents/20060720_jitarsa5.pdf

"Real love are not for love somebody,It for Everybody & Nobody"

หมายเลขบันทึก: 89357เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2007 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ขอบคุณมากสำหรับความรู้ใหม่

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณมากครับกับสิ่งที่ดีๆ  ที่มีค่ามากๆครับ
  • ขออนุญาต Copy นะครับ
  • ขอ add เข้า planet ด้วยนะครับ
  • เคยฟังเรื่องนี้ครั้งแรกกับอาจารย์ อำพล จินดา..  เมื่อปี49  ที่ 7 Ha nation forum ครับ
  • เป็นข้อมูลที่ละเอียดมากๆครับ  ขอเรียกว่าอาจารย์นะครับ

ตามมาอ่านแล้วค่ะ เป็นคนหนึ่งที่เห็นพลังของ มูลนิธิพุทธฉือจี มาแล้วเช่นกันค่ะ 

  • ตามมาอ่านแล้วตามภาพเชิญครับ
  • แต่ขออนุญาตลบความเห็นด้วยภาพนั้นออกนะครับ
  • ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลครับ
  • หากเป็นไปได้เขียนข้อความไว้ก็ดีนะครับในครั้งถัดไปครับ จะได้ไม่รู้สึกเหมือน สแปมความเห็น
  • สังคมใน g2k ผมคิดว่าควรมีมิตรภาพที่ดีให้กันนะครับ จะทำให้สังคมนี้น่าอยู่ขึ้นครับ
  • โชคดีในวันหยุดครับ
ตามมาอ่านเช่นกันครับ

ตามมายืนยันคำพูดของคุณเม้งค่ะ  นึกว่าสแปมความเห็นหรือโฆษณาอะไรซักอย่าง เลยลบความคิดเห็นไป  แต่ก็ตามมาอ่าน

เรื่องฉือจี้น่าสนใจทีเดียว ไม่เคยได้ยินมาก่อน เคยได้ยินแต่โยเร คล้ายกันมั๊ยคะ

  • ครูอ้อยก็ตามมาอ่าน
  • ตกใจตอนแรก..เพราะไม่เหมือนใคร
  • เรื่องนี้ก็น่าสนใจ..ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่ดี

ได้หลักคิด และ หลักวิชา น่าเลื่อมใส ครับ

 มีหลายหน่วยงาน หลายองค์กรไปเยี่ยมยาม กลับมาแล้ว

  "หาหลักปฏิบัติ นำมาปรับใช้ ให้เกิดการพัฒนา ตามบริบท และ วัฒนธรรม ขององค์กร ไม่ชัดเจน"

 วันก่อนไปเยี่ยมศิษย์เก่า รังสีเทคนิค ที่ ร.พ น้ำพอง คุณหมอวิชัย ท่านผู้อำนวยการ ท่านก็ไปดูมา และ นำมาปรับใช้ ท่านเล่าว่าท่านเป็นโรงพยาบาลวิถีพุทธ ใช้ ศีล ๕ ธรรมดาๆ ครับ

ท่านเจิ้งเหยียน อายุ 70 ปีแล้ว แต่ก็ดูอ่อนวัย ทั้งนี้น่าจะเป็นผลจากการปฏิบัตธรรม และการไม่รับประทานเนื้อสัตว์

 

ไปยังไง  มายังไง  ก็จำไม่ได้ว่ามาถึงตรงนี้ได้อย่างไร  ประเดี๋ยวจะกลับถูกหรือเปล่าก็ไม่รู้  อ่านแล้วคงทราบว่ามือใหม่  มากๆ  แต่ก็อยากอวดว่า 18 มิ.ย. เรา 30 ชีวิตจะพากันไปฉือจี้ ไต้หวันค่ะ เรามี รร. ที่ไปดูงาน  แล้วลงมือปรับประยุกต์กว่า20 รร. แล้ว  เราอยากคุยกับคุณ  ไปคุยกันที่ buddhistcompassschool.gotoknow นะคะ เพราะเรากลับมาที่นี่ไม่น่าจะมาได้อีก  งง  งง งง

คุณหมอวิชัย  รพ. น้ำพอง บอกว่าเป็นโรงพยาบาลทีใช้หลักศีล 5 เป็นโรงพยาบาลวิถีพุทธ  ดีจังค่ะ   สพฐ. เราทำวิถีพุทธเหมือนกัน  เป็นโรงเรียนวิถีพุทธค่ะ  เรายังไม่ค่อยดีนัก  เราสวดมนต์  ไหว้พระได้  และกำลังพยายามเรียนรู้พัฒนาสติ  และปัญญา ให้มากขึ้น  ดูเวปของเราไหมคะ

ดูเหมือนว่า อาจารย์ บรรเจอดพรจะใช้คอมและเทคโนโลยีอินเตอร์เนต แพ้ปรมาจารย์เจิ้งเหยียนนะครับ '(^---^)'

ท่านอายุ 70 แล้วแต่เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ท่านจะคล่องมาก แถมสามารถประยุคใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการด้านพระพุทธศาสนาอย่างไม่ขัดเขิน ดูจากการที่ท่านใช้วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ในการสนทนาติดต่อและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับลูกศิษย์จากสาขาของฉือจี้ทั่วโลกแล้ว เป็นอันปลื้มนะครับที่เรายังมี อัญมณีแห่งพระพุทธศาสนาอยู่ที่ประเทศใต้หวัน  

อาจารย์ บรรเจอดพรคงจะวุ่นอยู่แต่กับงาน จนไม่มีเวลาท่องโลกอินเตอร์เนตเหมือนอย่างเด็กๆเขาใช่ไหมครับ '(^---^)'  ยังไงก็ relax บ้างนะครับ

เว็บไซต์ของ สพฐ. ครับ

...มาตาม...เจ้านายคุยค่ะ....

ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเหยียนสร้างคุณประโยชน์ได้อย่างยิ่งใหญ่ยิ่งนักครับ ... ขอแสดงความนับถือด้วยใจ

 แต่ผมยังเห็นว่า การรวมโลก ด้วยความรักความร่วมมือร่วมใจ ความเข้าใจในหลักเหตุผลและความจริง ของชาวโลก จะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่านี้อีก .. เพราะจะเป็นการขจัดอธรรม (ความไม่รู้ .. เพราะหลงผิด) ไปจากโลก : )

นำVDO ของTzu Chi school โรงเรียนวิถีพุทธในประเทศใต้หวัน มาฝากครับ (เป็นภาษาใต้หวันนะครับ)

หากสังเกตุดู จะพบกระบวนและแนวคิดต่างๆ ซึ่งอาจจะนำมาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตและการศึกษาวิถีพุทธได้   

ขอบคุณ คุณ Man In Flame ที่นำเรื่องดีๆ อย่างนี้มาเล่าให้ฟัง ...เป็น"ขุมความรู้ (Knowledge Asset)" ที่เยี่ยมยอดจริงๆ มีทั้ง Tacit, Explicit และ Reference ที่ดีๆ เพียบ เป็นมากขุมความรู้ แต่เป็น "ขุมปัญญา" ...อ่านแล้วซาบซึ้งถึง "พลังเมตตา" อันมหาศาล ....ที่เริ่มจากการ "ลงมือทำ" ....ขอบคุณมากครับสำหรับคำถามตอนท้าย กระแทกใจดี!!

สวัสดีครับ อาจารย์ ประพนธ์

งานเขียนชิ้นนี้ออกมาจากความรู้สึก น้ำเสียงอาจดูกระด้างและเขียนไปในทางติเสียมากครับ 

บางท่านถามว่า ชื่อเรื่องคือ "ฉือจี้ ที่นี่มีแต่รัก" แต่ทำไมอ่านแล้วสัมผัสได้ถึงรังสีอัมหิตที่แฝงอยู่ คงเป็นเพราะผู้เขียน ยังไม่มี"เมตตา"พอที่จะเขียนเกี่ยวกับฉือจิ้ได้นั่นเอง     

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อดีหรือไม่ดีเป็นการเปรียบเทียบ หลายอย่างในบ้านเราที่คิดกันว่าดีแล้ว เมื่อมองออกไปสู่โลกกว้าง จึงพบว่า....

  • เรายังไม่ถึงดีกัน
  • เรายังทำไม่ถูกดีกัน
  • เราอาจจะหลงดี โดยที่ไม่มีความพอดี หรือความพอเพียงนั่นเอง 

หากคำถามตอนท้าย กระแทกใจ อาจารย์ ประพนธ์ กระผมก็หวังว่า มีแต่อาชีพ"ครู"ผู้สอนเท่านั้น ที่จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมของเราในทางที่ดีได้

    

สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ติดตามเรื่องราวนี้มาตลอด รู้สึกดีทุกครั้งที่ได้รับรู้ความเป็นไปที่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นและช่วยบรรเทาความทุกข์ยากต่างๆได้ ต่ดิฉันอยากจะได้คำตอบที่ดิฉันค้างคาใจมานานและอยากให้ผู้ที่รับทราบสิ่งที่ดิฉันจะตั้งคำถามนี้ ช่วยทำให้ดิฉันตาสว่างที หรือช่วยทำบุญกับดิฉันที สามีของดิฉันทำงานอยู่ในมูลนิธินี้ เขาประชุมเกือบทุกวัน เดือนหนึ่งไปไต้หวันตลอด 2-3 ครั้งต่อเดือน ในช่วงที่เขาทำงานในมูลนิธินี้ เขาแทบไม่ทำงานของตัวเองที่บริษัท ไม่มาหาลูก ไม่กลับบ้าน อาทิตย์หนึ่งเจอลูกไม่เกิน2ครั้ง ไม่ส่งเสียค่านม ไม่ให้ค่าใช้จ่าย  ค่าบ้าน ค่ารถ ดิฉันต้องทำงานหาเงินเลี้ยงลูก จ่ายค่าใช้จ่ายทุกอย่างในบ้าน เลี้ยงแม่ เลี้ยงลูก เลี้ยงหลานที่ไม่มีพ่อแม่อีก 2 คน ดิฉันไม่เข้าใจว่าการที่เราจะช่วยเหลือคนอื่น แต่ทำไมเราไม่ดูแลสิ่งไกล้ตัวให้เรียบร้อย ไม่ให้มีความเดือดร้อน ใส่ใจ ดูแล ก่อนที่จะดูแลจิตใจคนอื่นแต่จิตใจคนในบ้านร้าวราน เสียใจ กังวล แบบนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือเปล่า ดิฉันเสียใจจริงๆ แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ดิฉันยังคงต้องมีชีวิตต่อไปเพื่อทุกคนในบ้าน เพื่อลูก เพื่อแม่ ให้ทุกคนมีความสุข เพราะดิฉันเชื่อว่าการทำบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการดูแลแม่ของตัวเองให้ดีที่สุด และการทำหน้าที่ของตัวเองให้เรียบร้อย ไม่เดือดร้อนคนอื่น รู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจ และต้องดูแลบริหารเวลาให้ดี  สิ่งที่ดิฉันกล่าวมานี้ ดิฉันผิดไหมที่คิดแบบนี้ สามีดิฉันถูกไหมที่ทำแบบนี้ ขอบคุณทุกท่านที่รับฟัง รับอ่านเรื่องราวทั้งหมดนี้ ขอบคุณจากใจ

สวัสดีครับคุณแม่นาโน

ทำดีต้อง ถึงดี ถูกดี และพอดีครับ

ผมเคยเข้าไปที่มูลนิธิฉือจี้สาขาประเทศไทยสองครั้ง เนื่องจากอยากรู้จักจึงต้องไปสัมผัสกับตัวเอง เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึก ได้มีโอกาศไปทำงานอาสาสมัคร 1ครั้ง มีหลายอย่างที่ประทับใจ แต่บางอย่างก็เป็นเหมือนกับหลายๆองกรค์ในประเทศไทย ปัญหาอยู่ที่คนของเราครับ และปัญหาของคนมันก็ยุ่งน่าปวดหัวดี   

ท่าน ชยสาโรภิกขุ เคยกล่าวไว้ในหนังสือที่ชื่อว่า "เพื่อนนอกเพื่อนใน" ท่านกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า

"การที่เราจะเมตตาสงสารคนอื่นๆ ที่ประเทศอื่น หรือคนที่เราไม่เคยได้พบเป็นสิ่งที่ง่าย แต่คนที่เราเมตตาได้ยากที่สุดคือคนที่อยู่ใกล้ชิด เพราะคนเหล่านี้แหละที่ทำให้เราหนักใจ ที่มีการกระทำและการพูด ที่กระทบกระเทือนเราบ่อยๆ ฉะนั้นการแผ่เมตตาของคนทั่วๆไปมักจะไปในทำนองที่ว่า "ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมีความสุข ความสุขเถิด เว้นแต่คนนั้น" ต้องมีเว้นแต่ เว้นแต่คนที่หนาด้วยกิเลส คนที่เราไม่ชอบ แต่นี่ไม่ใช่เมตตา เมตตาที่แท้จริงย่อมไม่มีเลือกที่รักมักที่ชัง"  

  • บางทีความทุกข์ที่คุณแม่นาโนประสบ อาจถือเ็ป็นโชคดี ดีตรงที่ "ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้นั้นเห็นธรรม"
  • บางทีการที่เราไม่เข้าใจผู้อื่น อาจเป็นเพราะเราไม่เข้าใจตัวเราเองก็เป็นได้ การเข้าใจผู้อื่น จึงสำคัญที่เราต้องเข้าใจตัวเราเองก่อน 
  • บางทีทั้งเขาและเราก็ไม่ต่างกันตรงที่ เราก็ต่างอยากจะเป็นคนดีเท่าที่เราจะดีได้

สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทั้งสิ่งดีหรือสิ่งร้าย ไม่ว่ามันจะร้ายแรงขนาดใหน ขอให้เรารักษาสภาพจิตใจที่ดีของเราไว้ เท่านั้นเป็นพอครับ

 

เจ๋งมากเอาซะเราอ่านจากซ่าๆกลายเป็นสนใจในเรื่องนี้

<a href=http://tzuchi.bloggang.com> วีดีโอ แนะนำฉือจี้ </a>

ผมเคยไปดูงานที่ไต้หวันเมื่อปลายปี 2007 เห็นโรงพยาบาลของมูลนิธิฉือจี้ที่ไทเป เห็นสถานีโทรทัศน์ต้าไอ้ ทุกอย่างยังประทับอยู่ในใจไม่รู้ลืม ภาพของสมาชิกที่คอยช่วยเหลืออย่างเต็มใจ เต็มที่ ทำให้ผมตั้งใจปราถนาที่จะเข้ามามีส่วนร่วม หรือใช้แนวทางของฉือจี้มาทำงานเพื่อสังคมของประเทศเราอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยลืมจริงๆ อยากให้วัฒนธรรมดีๆอย่างนี้เผยแพร่ไปทั่วโลก ความสงบครั้งบ้านดีเมืองดี อาจหวนคืนให้เราได้เห็นอีกครั้งก็ได้

ไตรศักดิ์

อยากเห็นโทรทัศน์บ้านเราเป็นแบบฉือจี้ครับ

ขอบคุณค่ะ ที่ทำให้เราค้นพบสิ่งที่เคยอยากเจอและอยากให้มีแล้วค่ะ

และจะพยายามเข้าถึง เพราะในวันข้างหน้าจะเข้าไปช่วยเหลือ ฉือจี้ในทุกด้านค่ะ

สวัสดีค่ะ กำลังอยากได้ข้อมูลก็มาพอดีเลยค่ะ

ขอบคุณนะคะ ศรัทธาของคนทำได้ทุกอย่าง สาธุ สาธุ สาธุ...

 

ผมกำลังจะเดินทางไปดูงานที่มูลนิธิฉือจี้ใต้หวัน วันที่ 3-7 พ.ค.53 นี้ครับ

เลยเข้ามาหาข้อมูล ขอบคุณมากๆครับสำหรับข้อมูล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท