คุณลักษณะของ "ผู้นำ"


ผู้นำไม่ได้เป็นผู้วิเศษที่จะบันดาลให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้น แต่องค์กรก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จหากไม่มีผู้นำที่ดี ผู้นำที่ดีเป็นสมบัติที่มีค่า แต่ก่อนที่จะเสาะหาผู้นำเหมือนเสาะหาสมบัติ บางทีเราควรจะทำความเข้าใจก่อนว่ากำลังเสาะหาอะไร

เรื่องของ "ผู้นำ" มีผู้รู้เขียนใน G2k เขียนบันทึกไว้หลายบันทึกแล้ว ตลอดจนมีคำแนะนำ+ข้อคิดเห็นดีๆ มากมาย แต่ก็ยังขาดประเด็นที่ผมอยากจะแลกเปลี่ยนกับสมาชิกคือ ความหมายและหน้าที่ของผู้นำ เลยอยากจะขอลองเรียบเรียงความคิดดูครับ

Warren G. Bennis (เกิด พ.ศ. 2468 และยังมีชีวิตอยู่) ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ด้าน Leadership ได้ให้คำนิยามของคุณสมบัติพื้นฐานของผู้นำไว้ดังนี้: (ตัวเอียงเป็นคำอธิบาย+การตีความของผมเอง)

  1. มี Guiding Vision ผู้นำที่ดีรู้ว่าต้องการจะต้องทำอะไร พวกเขามีความมุ่งมั่นที่จะทำให้งานบรรลุผล และแม้เจออุปสรรคขัดขวาง ก็หาวิถีทางที่จะฝ่าฟันจนบรรลุผล --»» มีเป้าหมายที่ชัดเจน เป็นเหมือนแสงนำทางไปสู่ความสำเร็จ โดยการสื่อสาร+สร้างแนวร่วม+สร้างแรงบันดาลใจกับทั้งองค์กร การเป็นผู้นำไม่ได้เป็นแค่ "ผู้มีวิสัยทัศน์" เท่านั้น
  2. มี "ความหลงไหล" ในเป้าหมาย (Passion) พวกเขามีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง รักในสิ่งที่ทำ จึงสามารถใช้สิ่งนี้ กระตุ้นตัวเองให้ฝ่าฟันต่ออุปสรรคต่างๆ ได้โดยไม่ย่อท้อ --»» "ความหลงไหล" ในเป้าหมายนั้น หมายถึงว่าเป้าหมายเป็นสิ่งที่เขารัก เข้าใจดีว่าสิ่งที่ทำนั้นจะเกิดผลอย่างไร อยากแบ่งปันผลสำเร็จนั้นให้กับคนรอบตัว ความหลงไหลในความหมายนี้ ต่างกับความหมกมุ่นจนถูกครอบงำ (obsession); คำว่า Passion นี้ น่าจะใกล้เคียงกับความหมายของคำว่า "ความรัก" ในคริสต์ศาสนา ซึ่งมีความหมายไปในแนวความรักในเพื่อนมนุษย์ และบอกเป็นนัยถึงความเสียสละด้วย ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมในการเผยแพร่ศาสนา และมูลนิธิองค์กรการกุศลต่างๆ
  3. มีความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในคุณธรรม ในความถูกต้อง ในความจริง (Integrity) เพราะว่าผู้นำที่ดีเข้าใจตัวเองเป็นอย่างดี พวกเขาจึงรู้จักจุดด้อยของตนและสามารถหลีกเลี่ยงจุดด้อยเหล่านั้นได้ด้วย เขาจึงไม่ให้สัญญาพล่อยๆ ในสิ่งที่ไม่สามารถจะทำได้ พวกเขาจึงสามารถ "แผ่รังสีแห่งความซื่อสัตย์" ทั้งในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว อันเป็นผลให้พวกเขาได้รับความเชื่อถือ (trust) เป็นอย่างมากจากบุคคลในองค์กร และสามารถเป็นตัวแทนขององค์กรได้โดยไม่มีผู้ใดขัดข้อง (ศ.เบนนิส แยกเรื่อง trust ออกจาก integrity; integrity เป็นเหตุ ส่วน trust เป็นผล)
  4. มีความอยากรู้อยากเห็น ไม่หยุดนิ่ง (Curiosity) ผู้นำเป็นผู้เรียนรู้ เป็นผู้แสวงหา  พวกเขาตั้งคำถามกับผลของการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน พวกเขาแสวงหาคำตอบที่จำเป็นต้องรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ --»» ผู้นำไม่ได้หยุดนิ่งเมื่อสามารถนำพาองค์กรบรรลุเป้าหมายแล้ว แต่กลับมองหาสิ่งที่สามารถจะปรับปรุงได้ มองหาโอกาสใหม่ เป้าหมายใหม่ อยากรู้อยากเห็น อยากทดลองอยู่ตลอดเวลา
  5. ทัศนคติต่อความเสี่ยง (Risk). ผู้นำคำนวณผลของความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า หากมีเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้น ผู้นำที่ดีสามารถเรียนรู้เหตุแห่งความผิดพลาดนั้นได้ เพื่อที่จะมองหาโอกาสอื่นๆ ได้ดีขึ้น

มีผู้รู้อีกมากมายที่เพิ่มเติมต่อยอดคุณสมบัติพื้นฐานของผู้นำ แต่ผมชอบที่ ศ.เบนนิส ให้ความสำคัญกับการอธิบายสิ่งที่ผู้นำจะต้องทำมากกว่าการพยายามหาคำสวยหรูมาบรรยายผู้นำ

ยิ่งกว่านั้น ศ.เบนนิส ยังให้นิยามเกี่ยวกับคุณภาพของผู้นำ ไว้อีก 6 มิติคือ ความซื่อสัตย์ (Integrity), ความทุ่มเท (Dedication), ความมีคุณธรรม (Magnanimity), ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility), ความสามารถในการเปิดใจต่อความแตกต่าง (Openness) และ ความสามารถในการริเริ่มตลอดจนการคิดนอกกรอบ (Creativity)

เมื่อพิจารณาดูตามแนวคิดของ ศ.เบนนิส จะพบว่าผู้นำไม่ใช่พวกคนทรงเจ้าหรือผู้ที่สามารถติดต่อกับวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ ที่จะหยั่งรู้อนาคตและนำพาองค์กรฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆไปได้ แต่ผู้นำเป็นเพียงคนธรรมดาที่มีความเหมาะสมสำหรับหน้าที่ที่สำคัญยิ่ง ส่วนผู้นำสามารถจะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้หรือไม่ กลับขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ ความร่วมแรงร่วมใจ และความเชื่อใจเชื่อถือกันในองค์กรต่างหาก

ผมเคยถามพนักงานว่าอยากจะได้อะไร มีคำตอบหนึ่งน่าสนใจ เขาตอบว่า "อยากให้พนักงานทุกคนมีวิสัยทัศน์" คำตอบนี้ดีในแง่ที่ว่าพนักงานผู้นั้นมีความปรารถนาดีต่อองค์กร แต่ไม่ดีในแง่ที่เขาไม่ได้เข้าใจคำตอบของตัวเองอย่างลึกซึ้ง (แม้จะฟังดูดี) หากองค์กรหนึ่งมีพนักงานร้อยคน แล้วมีร้อยวิสัยทัศน์ องค์กรนั้นคงไม่ไปไหนเพราะไม่เกิดการรวมพลัง ขาด focus

คำว่าผู้นำเองนั้น ก็ยังมีหลายนัย เพราะว่าองค์กรจะประสบความสำเร็จได้ ก็ต้องประกอบไปด้วยผู้ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันหลายๆ ด้าน (คลิกบนรูปวงกลมช้อนๆ กันเพื่อดูภาพขยาย) ในเมื่อกิจกรรมขององค์กรมีความหลากหลาย องค์กรกลับต้องการผู้นำในหลายระดับเพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมต่างๆ ประสานสอดคล้องกันเพื่อเป้าหมายใหญ่ขององค์กร

มีความสับสนระหว่างการมีอำนาจสั่งการกับการมีภาวะผู้นำ ซึ่งผมเห็นว่าอย่างหลังมีความสำคัญที่จะช่วยให้งานสำเร็จได้มากกว่าหากเราเชื่อว่าความสำเร็จในงานใดๆ เกิดจากการกระทำ ไม่ใช่คำสั่ง อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก็ไม่ได้ยั่งยืนหากผู้ที่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง ไม่ได้เห็นด้วยและไม่เข้าใจความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่แรก ความเป็นผู้นำ และภาวะผู้นำ สามารถเกิดขึ้นในระดับต่างๆ ขององก์กรได้เสมอโดยการฝึกฝน ไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งใหญ่โตเสียก่อนค่อยคิดจะฝึก และหากภาวะผู้นำเป็นคุณสมบัติของผู้เป็นหัวหน้าในองค์กรใดๆ แล้ว ยิ่งต้องฝึกภาวะผู้นำตั้งแต่ยังไม่มีอำนาจเสียด้วยซ้ำ

ในบริษัทที่ผมทำงานอยู่ ใช้กลุ่มภารกิจ (taskforce) และคณะกรรมการต่างๆ ที่พนักงานเลือกตั้งกันเองเพื่อมาดูแลผลประโยชน์ของเหล่าพนักงาน (สหภาพ กองทุน สวัสดิการ ฯลฯ) เป็นเครื่องมือเสริมสร้างภาวะผู้นำนอกเหนือไปจากสิ่งที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นปกติืในการดำเนินงานอยู่แล้ว

เมื่อวานมีคำถามในข้อคิดเห็นของบันทึกเก่า: ทำไมองค์กรที่ดีจึงพัง ที่ถามว่า "ไม่อยากเป็นผู้นำ แต่อยากสร้างสิ่งดีและวัฒนธรรมที่ดีๆให้กับองค์กรได้หรือไม่" โดยคำอภิปรายในแนวนี้ ผมเชื่อว่าได้ตอบคำถามนี้ไปแล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 87912เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 20:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

Conductor  

"ไม่อยากเป็นผู้นำ แต่อยากสร้างสิ่งดีและวัฒนธรรมที่ดีๆให้กับองค์กรได้หรือไม่

ได้...

เจริญพร

สาธุ แน่นอนครับ เพราะว่าการสร้างสิ่งที่ดีและวัฒนธรรมที่ดีๆ ไม่ได้เกี่ยวกับว่าจะต้องเป็นผู้นำหรือไม่เลยครับ

การที่จะทำหรือไม่ทำสิ่งใด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าผู้อื่นจะยอมรับหรือยกย่องเราอย่างไรหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าเราจะทำหรือไม่ทำต่างหาก

In Bennis's 2002 book Geeks & Geezers, he re-emphasized the following traits:

  • adaptive capacity
  • the ability to engage others in a shared vision
  • a distinctive voice
  • integrity

 as "qualities of leaders in every culture and context." The theme of "How Era, Values, and Defining Moments Shape Leaders" is illustrated in leaders of the world in different time frame from WW II to Sept.11.

The 2004 Tsunami might have been a defining moment for our recently ousted leader. But then again what good is a leader without ethics?

ประเด็นของคุณ Bluebonnet ทำให้ตั้งคำถามเกี่ยวเนื่องว่า:

เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลง ค่านิยมเปลี่ยนแปลง "ความดี"จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หน้าที่ของผู้นำเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ความหมายของจริยธรรมเปลี่ยนแปลงหรือไม่

หลังเหตุการณ์เครื่องบินชนตึก มีกระแสต่อต้านการก่อการร้ายซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก คำว่า "การก่อการร้าย" หมายถึงอะไร โลกแก้ปัญหานี้อย่างไร (ในส่วนของ leadership)

เหตุการณ์สึนามิ ปรากฏตามรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่า มีอาสาสมัครชาวไทยลงไปในพื้นที่ถึงหกหมื่นคน อาสาสมัครเหล่านั้น ลางานด้วยเวลาส่วนตัว เดินทางไปอยู่ในที่ซึ่งเพิ่งประสบกับภัยพิบัติซึ่งลำบากกว่าอยู่บ้าน กระทำการโดยไม่ต้องมี "ผู้นำ" และไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทน อะไรเป็นแรงกระตุ้นให้คนเหล่านั้นทำ

มีข้อสังเกตว่าสึนามิในวันที่ 26 ธ.ค.2548 เกิดขึ้นสามอาทิตย์ก่อนการเลือกตั้งใหญ่ในวันที่ 19 ม.ค.2549 นะครับ ข่าวนี้ก็อยู่ในความสนใจไปทั่ว เรียกได้ว่าเป็นการประชาสัมพันธ์โดยอ้อม หากว่ากรณีนี้สามารถเปลี่ยนแปลงผู้นำได้ น่าจะมีการศึกษาเรื่องของความช่วยเหลือเปรียบเทียบก่อนและหลังการเลือกตั้ง เมื่อต้นปี 49 เนื่องจากเป็นผู้นำท่านเดียวกันครับ

แต่ผมเห็นด้วยว่าเหตุการณ์สำคัญที่กระทบกระเทีอนใจเป็นอย่างมาก อาจเปลี่ยน คนได้ เพียงแต่ผมเห็นว่าตัวอย่างกรณีสึนามิไม่ชัดนัก เนื่องจากมีเหตุการณ์ใหญ่อีกอันหนึ่งซึ่งมีผลทางการเมือง เกิดซ้อนกันอยู่ ทำให้แยกแยะลำบาก (คุณ Bluebonnet ใช้คำว่า might have been "อาจเป็น" ซึ่งไม่ได้สรุปไว้เช่นกัน)

อยากขอร้องเพื่อนสมาชิก อย่าได้เปิดการตอบโต้เกี่ยวกับความเห็นทางการเมืองในพื้นที่นี้เลยนะครับ ประเด็นของบันทึกนี้คือเรื่อง "ผู้นำ" ทำอะไร

P

ประเด็นแรกเรื่อง ค่านิยมเปลี่ยนแปลงแล้ว ความดี เปลี่ยนแปลงหรือไม่....ซึ่งอาตมาคิดว่าน่าจะเป็นประเด็นค้นหาความหมายของคำคำทางจริยธรรม..

ประเด็นนี้เป็นประเด็นย่อยในจริยศาสตร์ เรียกว่า อภิจริยศาสตร์หรือ metaethics http://en.wikipedia.org/wiki/Meta-ethics ...

....

ประเด็น การก่อการร้าย ก็อาจมีมุมมองทางจริยศาสตร์ได้เช่นกัน... อาตมาเคยเล่าไว้เล่น ในเรื่องการกระทำเหนือหน้าที่เช่น  การกระทำเหนือหน้าที่กับระเบิดพลีชีพ ๑ โดยแยกแยะตามเกณฑ์ตัดสินจริยธรรมแต่ละทฤษฎี...

.....

กรณีเกิดสึนามิ ...ก็มีประเด็นคำถามในจริยศาสตร์ว่า พื้นฐานของคนมีเจตนาดีหรือเลว.. ประมาณนี้

...

ส่วนประเด็นสุดท้าย เป็นการกำหนดสิ่งที่ จะต้องกระทำ และ ควรจะกระทำ ...ซึ่งผู้เขียนกำลังนำเสนแนวคิดในมงคลสูตรอยู่ เช่น ปรัชญามงคลสูตร ๑๑ : สิ่งจะต้องกระทำและการจัดลำดับความสำคัญ

....

อนึ่ง เรื่อง ภาวะผู้นำ ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ศึกษาอยู่ในจริยศาสตร์เช่นเดียวกัน..

เจริญพร

กราบนมัสการพระอาจารย์ครับ

ท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ได้เขียนบันทึกเรื่อง "ความดี" คืออะไร ไว้เมื่อกลางปีที่แล้ว ก่อนจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้ร่วมคณะรัฐมนตรี

เรื่อง "ความดี" (เจตนาใส่เครื่องหมายคำพูดไว้)  ผมต้องสารภาพว่าชาตินี้ ไม่เคยนึกเลยว่าจะต้องไปเปิดพจนานุกรมเพื่อหาความหมายของคำนี้เลย; แต่ครั้งนี้ลองเปิดดูครับ ปรากฏว่าไม่พบคำนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2542!!!

ก็เลยฉุกใจคิดว่า ทำไมคำที่ควรจะบัญญัติไว้เป็นบรรทัดฐาน เพื่อประโยชน์แก่นักศึกษา เพื่อเป็นสิ่งอ้างอิงได้-ไม่กำกวม กลับไม่มีบัญญัติไว้??

สมมติฐาน: บางที "ความดี" จะต้องสัมผัสด้วยมโนคติ ซึ่งเป็นเรื่องในจิตใจ จึงยากที่จะบัญญัติเป็นนิยามให้ชัดเจนได้; แต่หากเป็นเรื่องในจิตใจจริง นิยามความดีของคนหนึ่ง ก็อาจจะไม่เหมือนกับนิยามความดีของอีกคนหนึ่ง จริยศาสตร์ใน สังคมหนึ่งจะแตกต่างกับในอีกสังคมหนึ่ง; แม้ต่างคนต่างพยายามจะทำดี และมี "ความดี" เป็นแรงผลักดัน แต่เนื่องจากความดีมีความหมายแตกต่างกัน ผู้คนจึงแตกต่างกัน การตัดสินการกระทำข้ามยุค-ข้ามวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องในประวัติศาสตร์ที่มีสมมติฐานทางเศรษฐกิจสังคม แตกต่างกับในปัจจุบันมาก เช่นสงครามครูเซดที่อธิบายได้ว่า

  • ฝ่ายหนึ่งคิดว่าเป็นการปลดปล่อยดินแดนศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของตน
  • อีกฝ่ายหนึ่งคิดว่าเป็นการรุกรานต่อดินแดนศักดิ์สิทธ์ของตนเช่นกัน (สถานที่สำคัญต่างๆ อยู่ใกล้กันมาก ระยะเดิน)
  • นักวิชาการสมัยใหม่บางท่านเชื่อว่า เป็นการหนีสภาพแร้งแค้นของยุโรปยุคกลาง ไปหาความมั่งคั่ง-เกียรติยศ  และกลับมา (หากกลับมาได้) พร้อมกับคำยกย่องจากศาสนจักร
หากอภิปรายอย่างนี้ จะอธิบายระเบิดพลีชีพได้หรือไม่ครับ
P

ก็พอจะโยงถึงได้...

ความดี เป็น อัตวิสัย (subjective) หรือ ปรวิสัย (objective) ?

ถ้าเชื่อว่า ความดีเป็นอัตวิสัย คือ ขึ้นอยู่กับการประเมินค่าหรือตัดสินของเรา... ระเบิดพลีชีพ ก็อาจเป็นความดีสูงสุดของผู้ตัดสินใจกระทำ

ถ้าเชื่อว่า ความดีเป็นปรวิสัย คือ ไม่ขึ้นอยู่กับการประเมินค่าหรือตัดสินของเรา... แต่ขึนอยู่กับกฎเกณฑ์หรือหลักการที่วางไว้... ระเบิดพลีชีพจะถูกหรือผิด ก็ต้องนำหลักการนั้นไปอธิบาย..

เจริญพร 

สวัสดีครับอาจารย์

  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่มีคุณค่ายิ่งต่อผมครับ
  • แต่คงจะต้องปรินส์ไปอ่าน อีกหลายรอบครับ

ผมว่ายังมีอีกสถานะหนึ่งครับ คือ อวิสัย (irrelevant) อันนี้ผมมั่วเอง ฮ่าๆ  เช่นในสภาวะที่จิตนิ่งจริงๆ ไม่ได้รับรู้แล้วเรื่องดี-ไม่ดี สุข-ทุกข์ ชื่นชม-ตำหนิ จะเป็นอะไรก็ไม่สนแล้ว

ยังมีอีกประเด็นหนึ่งครับ ความดีเป็นกริยาหรือเป็นปฏิกริยา ถ้าความดีเป็นกริยา คนนึกจะทำก็ทำความดีเลย ความดีมีค่าที่คู่ควรแก่การกระทำ; แต่ถ้าความดีเป็นปฏิกริยา คนทำดีก็เพราะมีแรงจูงใจอะไรบางอย่างมากระตุ้น (บันทึกเก่า: สาระของ CSR

What do "leaders" do?

Whatever they do - or don't do,  their "actions have the most profound consequences on other people's loves, for better or for worse, sometimes forever and everBennis, 1993 (An Invented Life:Reflections on Leadership & Change)

He said elsewhere that we all have qualities to be leaders - check the above bullet points and tell me if you don't see yourselves in those :-).

But those "leaders" as we know it were given the opportunity - happen to be there at the right time and seized it.

I would think if we were to interview those Thai volunteers in the 2004 Tsunami, we would have got countless amazing stories. Whether what he leads is virtue or not is another story.

One thing on leaders - Osama Bin Laden - no question is a true leader. Whether he's a virtue leader or not - that's another story.

Selected definitions of "virture"

Microsoft® Encarta® 2007. © 1993-2006 Microsoft Corporation. All rights reserved

1. goodness: the quality of being morally good or righteous
  • a paragon of virtue
  • 2. good quality: a quality that is morally good
  • Patience is a virtue.
  • 3. admirable quality: a quality that is good or admirable, but not necessarily in terms of morality

     PS. Thank you for the introduction of "meta-ethics" - interesting stuff. Most of the basic ethics I've heard is "do no harm" - that should be applicable if it's ethcs in business or in life, isn't it?

     

    If you're not given opportunity to lead, and yet have to get things done, what do you do?

    A recipe (may be) from Getting things done when you're not in charge, by Geoffrey M. Bellman

    • Enlisting  key people in your cause
    • Gaining the support of decision-makers for initiating change
    • Creating rewards for yourself through the work you do
    • Dealing with organizatonal politics and power
    • Getting more of what you want out of your work life, and much more ..

    Isn't that exciting? when you can work and be happy too,  and don't have to lead!

    I would think the ingredients in making these recipes should be local - although some would have to be imported. But to make them to the local's taste bud - locally & organically grown preferred.

     Happy Eating - Gai Yang Som Tum is my favourite!

    อาจารย์เขียนได้เยี่ยมยอดมากคะ จะนำข้อคิดที่ได้ไปปรับใช้ในการทำงาน ชีวิตส่วนตัว ขอบคุณมากมายสำหรับสิ่งดีดีที่มีให้กับประชาชนชาวไทยคะ

    เรียก Conductor ดีกว่าครับ

    ผมชอบอ่านบันทึกของตัวเองตรงคุณภาพของข้อคิดเห็นครับ แทบทุกความเห็นมีประเด็นดีๆ ใหม่ๆ เกิดขึ้นเสมอ ทำให้เจ้าของบล๊อกได้ประโยชน์ไปด้วย; ในส่วนของตัวบันทึก ชอบตรงรูปกับตรงลิงก์ไปข้อมูลอ้างอิงครับ ตั้งใจเลือกรูปมากกว่าตั้งใจเขียนบันทึกเสียอีก; บันทึกเขียนตามความรู้สึก-ตามที่เห็นครับ เลยไม่ได้รู้สึกอะไรเท่าไหร่ครับ

    เรียน conductor ครับ

           แค่อ่านชื่อบันทึกก็สนใจแล้วครับ อ่านแล้วชอบครับ แม้ว่าความรู้อาจจะยังไม่ลึกซึ้งพอ เพราะบางทีงานเขียนของท่านก็เป็นระดับปรัชญา ผมยังเรียนมาน้อยครับ อาศัยชอบอ่านชอบศึกษาเป็นหลัก

          เห็นด้วยในประเด็นที่ว่า การมีอำนาจสั่งการกับการมีภาวะผู้นำนั้นอย่างหลังจะยั่งยืนกว่าครับ แต่อำนาจสั่งการมีความจำเป็นตามโครงสร้าง ใช้เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้เท่านั้น

         ชอบใจคำว่า อวิสัย(irrelevant)ที่ท่านยกมาครับ หลวงพ่อเทียนบอกว่า ความดีความชั่วเป็นเพียงสภาวธรรม ซึ่งยังมิใช่สาระ จิตที่รู้ จะวางโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องพยายาม เหมือนกำแพงที่แข็งแกร่งเมื่อเราขว้างก้อนหินไปกระทบแล้วก็จะกระเด็นออกมาเอง...บังเอิญตรงกับความเชื่อส่วนตัวครับ เลยขออนุญาต comment ตรงนี้หน่อยครับ

           

     

    ข้อคิดเห็นของคุณ dreamer (รอง ผอ.บรรจบ) ทำให้ผมนึกถึงอะไรบางอย่างครับ แต่ปัญหาคือนึกไม่ออกจนกระทั่งเมื่อกี้นี้

    คือเคยอ่านเว็บไซต์พระไตรปิฎกฉบับประชาชน ซึ่งมีการรวบรวมข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก ประเด็นแรกคือ "๑. อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา" ซึ่งสรุปโดยย่อคือ พรหมจรรย์เป็นแก่นสารของพุทธศาสนา ไม่ใช่ศีล ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่ญาณ

    ความโดยพิสดาร อยู่ในจูฬสาโรปมสูตร ในพระไตรปิฎก (อ่านยากหน่อยครับ)

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท