พัฒนาคนเริ่มต้นจากคูซ่า (KUSA) พัฒนาสู่คูแซม (KUSAM)


ความรู้ไม่ได้เกิดจากการสอนของผู้สอน แต่เกิดจากผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นมาเอง ตามจริตความชอบความถนัดของแต่ละคน ดังนั้นผู้สอนจึงไม่ใช่คนให้ความรู้ แต่เป็นคนแนะแนวทางให้ผู้เรียนเดินทางไปสู่ความรู้นั้นๆในการไปเก็บเกี่ยวความรู้นั้นมา แล้วนำมาใช้กับตนตามบริบทที่เหมาะสมต่อไป

 

 

สำหรับผู้ที่ผู้ที่อยู่ในแวดวงการฝึกอบรมคงจะคุ้นเคยกับคำว่า “KUSA” กันพอสมควรนะครับ KUSA เป็น Keyword ที่นักฝึกอบรมยึดถือเป็นแนวทางในการฝึกอบรมตามความหมายของการฝึกอมรมคือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ผู้รับการอบรมเกิดการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ได้แก่ ทำให้เกิดความรู้ (Knowledge) ทำให้เกิดความเข้าใจ (Understand) เกิดทักษะปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม (Skill) และมีทัศนคติ/เจตคติที่พึงประสงค์ (Attitude) นี่คือหลักการเบื้องต้น

 

อยู่มาวันหนึ่งระหว่างที่ผมนั่งคุยสัพเพเหระกับน้องๆเพื่อนร่วมงาน มีน้องคนหนึ่งบอกว่าแค่คูซ่า (KUSA) ยังไม่พอหรอก ถ้าจะให้ดีต้องมีคูแซม (KUSAM) คือ เพิ่ม “M” ไปอีก 1 ตัว นั่นคือ .”Moral” ด้วย คือ การเป็นคนดีมีศีลธรรม มีคุณธรรมจริยธรรม ผมก็ปิ้งไอเดียจุดประกายไปยัง Keyword ตัวอื่นๆได้อีกว่า “M“ ตัวเดียวไม่พอต้องเพิ่มเข้าไปอีกด้วยคำว่า “Matulrity” คือการมีวุฒิภาวะ คำคำนี้มีความหมายในเชิงปรัชญาอย่างลึกซึ้งมากมายเลยทีเดียว ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งของ OHSO ชื่อ วุฒิภาวะ ศิลปะของผู้ถึงพร้อม เล่มนี้ ท่านอ. ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด ได้แปลและเรียบเรียงไว้อย่างดีมาก อ่านสนุก เป็นหนังสือที่ผมเห็นว่าปรัชญาตะวันออกและตะวันตกมาบรรจบพบกันอย่างประจวบเหมาะพอดี ที่ได้กล่าวถึงการเติบโตของคนในแต่ละช่วงวัย ว่าจะต้องมีการเติบโตอย่างไรให้เหมาะสมกับร่างกายและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะการเติบโตในแต่ละช่วง 7ปี ที่แนวคิดตะวันตกและแนวคิดตะวันออกมีความเห็นตรงกัน ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้ รูดอร์ฟ สไตเนอร์ ผู้ก่อตั้งโรงรียนแนววอลดอร์ฟ นำมาเป็นหลักคิดในการจัดการเรียนการสอนในแนวนี้ ที่วัยเด็กจะเน้นเรื่องฐานกาย วัยรุ่นเน้นฐานใจ และวัยผู้ใหญ่เน้นฐานคิด นอกจากนี้แนวคิดนี้ยังสอดคล้องไปยังแนวคิดการพัฒนาคนตามวิถีพุทธในเรื่องของปัญญา 3 ฐานอีกด้วย (อ่านเรื่องปัญญา 3 ฐานที่อ. วรภัทร์  ภู่เจริญ ได้เคยเขียนไว้ ได้ที่ http://www.managerroom.com/forums/forum_posts.asp?TID=8014&KW=%BB%D1%AD%AD%D2+3+%B0%D2%B9)

 

 

หลังจากที่ผมได้คุยกับน้องที่ทำงานในวันนั้นจบแล้ว พอกลับมาถึงบ้านก็เกิดความคิดว่าเราน่าจะแตกประเด็น Keyword เกี่ยวกับ KUSAM ได้อีกหลายคำ ผมจึงลองเขียน Mindmap ออกมา ก็ปรากฎว่าได้ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมออกไปได้มากมายทีเดียว ซึ่งในที่นี้ผมไม่ได้จำกัดไว้แค่การฝึกอบรมเท่านั้น ผมได้มองภาพขยายออกไปให้ครอบคลุมไปถึงเรื่องการเรียนรู้ด้วย คือ เราจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุด ตามแนวคิดที่ผมเชื่อว่า ความรู้ไม่ได้เกิดจากการสอนของผู้สอน แต่เกิดจากผู้เรียนสร้างความรู้ขึ้นมาเอง ตามจริตความชอบความถนัดของแต่ละคน ดังนั้นผู้สอนจึงไม่ใช่คนให้ความรู้ แต่เป็นคนแนะแนวทางให้ผู้เรียนเดินทางไปสู่ความรู้นั้นๆในการไปเก็บเกี่ยวความรู้นั้นมา แล้วนำมาใช้กับตนตามบริบทที่เหมาะสมต่อไป ดังรูปข้างล่างนี้

 

หมายเลขบันทึก: 463125เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2011 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดี ครับ แวะมาเยี่ยมคนไทเลย ผมก็คนไทเลยคือกันฮั๋นแน๋ว บ้านอยู่วังสะพุงครับ

ขอเป็นเพื่อน socail network ด้วยสักคนแน่เด้อ

ขอบคุณคะ ชอบที่มี mind map ให้ดูง่ายขึ้น รบกวนถามว่า ใช้โปรแกรมใดทำคะ

 “Matulrity” คือการมีวุฒิภาวะ คำคำนี้มีความหมายในเชิงปรัชญาอย่างลึกซึ้งมากมายเลยทีเดียว ทำให้ผมนึกถึงหนังสือเล่มหนึ่งของ OHSO ชื่อ วุฒิภาวะ ศิลปะของผู้ถึงพร้อม 

เคยอ่านพบว่า Maturity ดูที่ "ความสามารถในการคิดถึงผู้อื่น" ..เดี๋ยวจะพยายามหาที่คุณอรรถวุฒิแนะนำมาอ่านคะ :-)

 

 


 

ขอบคุณคุณครูผาน้อยไทวังสะพุง และคุณ CMUPal ที่เข้ามาเยี่ยมเยือนกันครับ ยินดีที่รู้จักทุกครับ สำหรับโปรแกรม Mind Map ที่ผมใช้เป็น Freeware ชื่อ "FreeMind" ครับ ลองหา Load ดูจาก Google ดูนะครับ งานของ OSHO ที่อ.ดร.ประพนธ์แปลไว้ น่าอ่านทุกเล่มเลยครับ เล่มที่ผมประทับใจคือ "Intuition" ครับ

ขอบคุณคะ ที่แนะนำโปรแกรม ฟรีด้วย

ลองดูชีวประวัติของท่าน Osho ใน wikipedia คะ

แล้วเป็นบุคคลอัจฉริยะ ที่น่าทึ่ง และ น่าพิศวง

เป็นคนจุดประกายกระแส "new age"

หนังสือ "intuition" ก็เป็นหนึ่งในหนังสืออมตะ ของท่าน

เท่าที่ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษ การอ่านหนังสือของท่านได้เข้าใจลึกซึ้ง

เป็นคนสมาธิดีทีเดียวคะ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท