ปรัชญาการทำงาน : ธรรมะกับการทำงาน


คิดอย่างไรให้เกิดปัญญา / ประสบความสำเร็จ/การแก้ปัญหาเบื้องต้น : โยนิโสมนสิการ,กาลามสูตร

                เมื่อกลางเดือนตุลาคม ปี50 ผ่านมา ผมได้มีโอกาสสอน Train Crew Supervisor เกี่ยวกับเรื่อง Systematic Thinking ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีเรื่องเกี่ยวกับธรรมะที่สามารถนำมาประยุกต์กับการทำงานด้ จึงได้นำมาสรุปเพิ่มเติมเป็นหมวดหมู่ดังนี้

 หลักการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น

วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

-       ศรัทธา : เชื่อใจ ไว้วางใจ

-       วิริยะ  :  พากเพียร แข็งใจ กัดฟัน อดทน ทำจนสำเร็จ

-       สติ :  ระมัดระวัง ฉุกคิด ไม่เผลอ รู้ตัวตลอดเวลา

-       สมาธิ :  จดจ่อกับงานที่ทำ ไม่วอกแวก

-       ปัญญา : พิจารณาใคร่ครวญ ว่าสิ่งใด ควรทำ/ไม่ควรทำ สิ่งใดต้องทำมาก่อน/หลัง

 

กาลามสูตร

1.     ฟัง :อย่าเชื่อโดยการฟังบอกต่อกันมา

อย่าเชื่อตามการรับฟังต่อๆกันมา เช่นคนนี้ว่าอย่างโน้น คนโน้นว่าอย่างนี้ จงใคร่ครวญด้วยปัญญา

2.     สืบ : อย่าเชื่อว่าเป็นการทำตามสืบๆ กันมา

อย่าเชื่อตามการกระทำตามๆสืบๆกันมาต้องพิจารณาว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการเพิ่มหรือลดปัญหา ถ้าเพิ่มปัญหาก็ไม่ต้องทำให้เสียเวลา เช่น แฟชั่นต่างๆ พิธีกรรมต่างๆ ที่งมงายไม่มีเหตุผล

3.     ลือ :อย่าเชื่อตามเสียงเล่าลือ

อย่าเชื่อตามการเล่าลือ ข่าวโคมลอย เขาว่าอย่างโน้น เขาว่าอย่างนี้ หรือแบบกระต่ายตื่นตูม ตัวเองโง่คนเดียวไม่พอ ทำให้คนอื่นพลอยโง่ไปด้วย ต้องระวังให้มาก เช่น หมอดู เจ้าแม่ เจ้าพ่อ สิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ เครื่องลางของขลัง พระเครื่อง โดยมากจะมีหน้าม้าคอยโฆษณาชวนเชื่อ

4.     ถือตำรา : อย่าเชื่อตามตำรา

อย่าเชื่อเพราะมีเหตุเพียงว่ามีอ้างไว้ในตำรา เพราะนั่นเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น ดังนั้นในทฤษฎีที่อ้างไว้ในตำรานั้นให้ศึกษาแล้วนำมาปฏิบัติดูว่าผลลัพท์ที่ได้เป็นไปตามที่อ้างไว้ในทฤษฎีหรือไม่

5.     ว่าคาดเดา : อย่าเชื่อตามเหตุผล/ตรรกะ /แนวโน้ม สถิติ

อย่ายึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เข้าใจเอาเอง เดาสุ่ม มั่วๆเอา

6.     เหมาคาดคะเน : อย่าเชื่อตามการคำนวณ

อย่ายึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น เห็นแค่บางส่วนอย่าเหมาว่าทั้งหมดมันควรจะเป็นเหมือนกันหมด

7.     โมเมตามอาการ :อย่าเชื่อด้วยการตรึกตามอาการ

อย่าเชื่อหรือรับเอามาเชื่อด้วยการตรึกเอาตามอาการ เพราะจะทำให้ถูกหลอก และเกิดกิเลสฟรีๆก็ได้ ดังนั้นต้องคิดเผื่อไว้บ้าง เช่น การแก้ปัญหาก่อนหน้านี้เคยแก้ได้ด้วยวิธีนี้ พอมาเจอกับปัญหาเดิมๆแต่กาลเวลาไม่เหมือนเดิม อาจจะไม่สามารถใช้วิธีแก้แบบเดิมได้ก็ได้ อย่าเข้าข้างตัวเอง

8.     สานความเห็นเรา : อย่าเชื่อด้วยเห็นว่าข้อความนั้นเป็นไปได้หรือเข้ากับความเห็นเรา

อย่าเชื่อด้วยเพียงสักว่า ข้อความนั้นมันเป็นได้ หรือเข้ากันได้กับความเห็นของตัวเรา เพราะตัวเรานั้นยังมีกิเลสอยู่ จึงไม่บริสุทธิ์ ต้องถือตามกฎธรรมชาติเป็นหลัก จึงไม่เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ คือ ถ้ามีกิเลสแล้วตัวต้องเป็นทุกข์ทั้งนั้น แต่ถ้ามีธรรมแล้ว จิตจะไม่เป็นทุกข์ นี้เป็นกฎธรรมชาติที่ตายตัวแน่นอน และไม่เปลี่ยนแปลง พระพุทธเจ้าทรงนำมาเปิดเผยขึ้นในโลก

9.     เขาน่าเชื่อถือ : อย่าเชื่อว่า ผู้พูดเป็นผู้มีลักษณะน่าเชื่อถือ

อย่าเชื่อด้วยเหตุเพียงสักว่าผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ มีตำแหน่งใหญ่โต แต่งตัวดี ภูมิฐาน เพราะอาจจะโดนหลอกได้

10.  หรือเป็นครูเรา : อย่าเชื่อว่านี่คือครูของเรา

อย่าเชื่อด้วยเหตุเพียงสักว่าผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ มีตำแหน่งใหญ่โต แต่งตัวดี ภูมิฐาน เพราะอาจจะโดนหลอกได้

 

สรุป : สิ่งใดที่เป็นกุศล ขอให้เชื่อสิ่งนั้น สิ่งใดไม่เป็นกุศลสิ่งนั้นไม่น่าเชื่อ

 

คิดอย่างไรให้เกิดปัญญา / ประสบความสำเร็จ

-         สุตมยปัญญา (Open Heart) :  เปิดใจรับฟัง เก็บเกี่ยวข้อมูล

-         จินตมยปัญญา (Open Mind ) : นำข้อมูลไปพิจารณาขบคิด ด้วยทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สร้างเป็นองค์ความรู้ขึ้นมา

-         ภาวนามยปัญญา (Open Will) : นำองค์ความรู้นั้นไปปฏิบัติ ทดลองให้เห็นจริง

 

โยนิโสมนสิการ

        หมายถึงการทำไว้ในใจโดยแยบคายหรือการคิดเป็น ถูกต้องตามความเป็นจริงโดยอาศัยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและคิดเชื่อมโยงตีความข้อมูลเพื่อนำไปใช้ต่อไป

1.     คิดถูกวิธี : เลือกวิธีการศึกษาให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเรื่องนั้น จำแนกแยกประเด็นให้ชัดเจน พิจารณาลงในรายละเอียด มีสติรู้ตัวทันปัจจุบัน

2.     คิดอย่างมีระเบียบตามขั้นตอน : คิดต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ มีระเบียบ ไม่กระโดดไปกระโดดมา มีเป้าหมายชัดเจน

3.     คิดอย่างมีเหตุผลเชื่อมโยง : คิดมีเหตุผลรู้เท่าถึงการณ์ เห็นผลแล้วรู้ว่ามาจากเหตุอะไร มองภาพรวมทั้งระบบไม่ด่วนสรุป ดูผลระยะยาว

4.     คิดอย่างเป็นกุศล : หาส่วนดีมาทำประโยชน์ นำส่วนดีไปใช้ สร้างความหวังและให้กำลังใจ กระตุ้นเตือนตัวเอง

 

การแก้ปัญหาเบื้องต้น

-         มองจากใกล้ไปไกล :  เช่น เมื่อเกิดปัญหาที่ขบวนรถ ให้เรามองปัญหาโดยพิจารณาจากพื้นที่บริเวณใกล้ตัวก่อนคือ Driver Desk ว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นบ้าง  จากนั้นให้มองไปที่แผงหลัง A-Car Control Panel เพื่อตรวจสอบไฟแสดงผลทั้งไฟสีแดง (Fault) และสีเหลือง (Status) ตรวจสอบ Circuit Breaker ด้วย จากนั้นให้ตรวจสอบต่อไปยังไฟข้างรถ Local Lamp เพื่อยืนยันความผิดปกติของตู้นั้นๆ ถ้าเป็นเรื่องของประตูให้ตรวจสอบต่อไปยังไฟตาแมว Fault Lamp ของประตู้นั้นๆ ต่อไป

-         แก้จากง่ายไปยาก : เช่น เมื่อเกิดปัญหา Circuit Breaker Trip ให้ลองพยายามยกขึ้นดูก่อน ถ้ามันตกลงมาอีก ก็ให้ทำตามขั้นตอนอื่นๆ ต่อไป หรือถ้าเกิดปัญหาเกี่ยวกับประตู ก็ให้ลองเปิด-ปิด ประตูนั้นๆดูก่อน ถ้าไม่หาย ก็อาจไปล็อคประตูนั้นๆตามขั้นตอนต่อไป

 

บรรณานุกรม

1.     พระราชวรมุนี (ประยูร  ธมฺมจิตฺโต“ขอบฟ้าแห่งความรู้” มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540

2.     ดร. วรภัทร์  ภู่เจริญ “คิดอย่างเป็นระบบและเทคนิคการแก้ปัญหา” บริษัท อริยชน จำกัด พ.ศ. 2546

3.     พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร  ธมฺมจิตโต) “พุทธวิธีบริหาร” มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2549

4.     อาภรณ์   จันทร์สมวงศ์ “ธรรมะสำหรับคนทำงานทางสังคม” สถาบันเสริมสร้างความรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) พ.ศ. 2549

 

 

หมายเลขบันทึก: 217939เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2008 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2022 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ได้อ่านแล้วครับ ชอบมาก

ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับ

ขอบคุณมากค่ะ ขออนุญาตนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับที่ทำงานนะคะ

ยอดเยี่ยมครับ ขอบคุณมากครับ

หาตั้งนาน มีผู้สรุปให้ สุดยอดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท