ชิมอาหารคนยอง ลองจิบกาแฟ แหล่งเผยแพร่งานศิลป์


"เฮือนใจ๋ยอง"

"ชิมอาหารคนยอง   ลองจิบกาแฟ   แหล่งเผยแพร่งานศิลป์"

     มีอาจารย์ในคณะฯ เป็นอาจารย์รุ่นใหม่วัยหนุ่ม มีความเป็นศิลปินพื้นบ้านล้านนาหลายๆด้านทั้งจิตรกรรมไทย  ดนตรีพื้นเมือง  ศิลปวัฒนธรรม อ่านเขียนภาษาคำเมืองโบราณได้คล่องแคล้ว  ทุกอย่างเกิดจากการสะสมประสบการณ์ตั้งแต่วัยเด็ก  จนมาเป็นอาจารย์  สิ่งที่เขาสั่งสมประสบการณ์ทั้งหมด  ได้มาปรากฏถ่ายทอด ณ สถานที่แห่งหนึ่ง คือ   "เฮือนใจ๋ยอง"   อาจารย์ท่านนี้บรรพบุรุษ เป็นชาวยอง ประสบการณ์ที่สะสมก็จะเป็นวัฒนธรรมวิถี ของชาวยอง

"เฮือนใจ๋ยอง"  ป้ายชื่อ อาจเป็นร้านอาหารพื้นเมือง
แต่ ใครเข้ามาจะเห็นบรรยากาศว่า ...เป็นศูนย์ศิลป วัฒนธรรมของคนพื้นเมืองชาวยอง และไทลื้อ นอกจากจะได้รสชาดอาหารพื้นเมือง ที่ถูกปาก  และกาแฟที่เข้มข้นแล้ว  ยังมี หอศิลป์ คนยอง  รวบรวมงานศิลปะ ของอาจารย์ไว้แสดงมากมาย รวมทั้งเครื่องดนตรี พื้นเมือง (อาจารย์สามารถเล่นได้ทุกชิ้น)  นับเป็นแหล่งเผยแพร่งานศิลป์ไทยยอง ไทลื้อ  แหล่งหนึ่งที่มีคุณค่า สะท้อนวิถีชีวิตคนรุ่นเก่าได้ดี

 

          ทางเข้า จะทำบ้านทรงไทลื้อผสม  เป็นบ้านส่วนหนึ่งของสถานที่แขกที่มารับประทานอาหาร

 

          บริเวณหน้าร้าน เป็นบ้านแบบแฝดจั่วคู่ ทรงพื้นเมือง เป็นส่วนของร้านอาหาร ตรงหน้าร้านเป็นส่วนของที่ระลึก   สินค้าพื้นเมืองต่างๆ ฝีมือ ศิลปิน ช่างพื้นบ้าน ที่สามารถซื้อไปเป็นของที่ระลึก

 

       ฝั่งตรงข้ามจะเป็นส่วน "เฮือนศิลป์คนยอง"  คือที่เก็บรวบรวมงานศิลปกรรมนั่นเอง

 

          เข้าไปใน เฮือนศิลป์คนยอง กราบพระพุทธ เพื่อเป็นศิริมงคลก่อน  และลองมาทดสอบฝีมือเครื่องดนตรีพื้นเมืองกัน  มีทั้ง ดีด สี ตี เป่า เคาะ

 

          ส่วนงานศิลปกรรมที่แสดง จะติดตั้งตามผนัง และจัดวางในพื้นที่ ต่างๆ ในบ้าน ตามห้อง ที่เดินผ่าน

          สิ่งที่เห็นล้วนมีความงดงาม ร้านอาหาร อาคาร แต่ละหลังจัดองค์ประกอบใช้วัสดุ  ทุกอย่างกลมกลืน  ตามแบบสถาปัตยกรรมของชาวยอง และไทลื้อแบบผสม    ผมมอง โยงไปถึงเรื่อง "เศรษฐกิจสร้างสรรค์"(Creative Economy)  อาจารย์ท่านนี้ได้ใช้ ประสบการณ์ทางศิลปะตนเอง มาสื่อด้านการแสดงออกทางวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม (Traditional Cultural Expression)  ผสมผสานกับ งานศิลปะ (Arts) สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนทุนทางสังคม ทาง  วัฒนธรรม  ศิลปกรรม  การท่องเที่ยว อาหาร นับว่าเป็น แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา  การสร้างสรรค์งาน (Creativity)     ถ้าคนใจรักในศิลปะ โดยเฉพาะ วิถีแบบชาวบ้านเดิมๆ แล้วไม่ควรพลาด ...   แหล่งเผยแพร่งานศิลป์ คนยอง ที่นี่ 

 เจ้าของสถานที่ :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลิปิกร มาแก้ว   
 ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมศึกษา  มทร. ล้านนา   เชียงใหม่ 
 http://rmutlculture.rmutl.ac.th/index2.html

(เจตนาเนื้อหาต้องการเน้นงานศิลปกรรม จึงไม่ได้นำภาพ และเรื่องอาหารมากล่าว)

 เฮือนใจ๋ยอง
 อ.สันกำแพง  จ.เชียงใหม่ 
(บนเส้นทางจากสายสันกำแพง - แม่ออน)

    ------------------------------------------------------------------------------------

         ยอง หรือไทยอง ชาวล้านนาจะออกเสียงเป็น "ญอง" แต่กลุ่มชาวไทยองมักออกเสียงเป็น "ยอง" ชื่อ ยอง หรือไทยองนี้ ใช้เรียกกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยอง และกระจายอยู่ทั่วไปในแถบเมืองต่างๆ ในรัฐฉานด้านตะวันออกของพม่า เขตสิบสองพันนา ในมณฑลยูนนานของจีน เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๘ กลุ่มชาวเมืองยองได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนเป็นส่วนใหญ่ ด้วยสาเหตุของสงครามการรวบรวมกำลังคน ต่อมาก็ได้กระจายไปอยู่ในหัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนา

โดย :  ณรัศมิน ขัติยะวรา,
อ้างอิงจาก
http://user.school.net.th/~ampait/lanna/culture2.htm

 

 

หมายเลขบันทึก: 386414เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2010 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับ เป็นความรู้ใหม่สำหรับผม  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

เห็นแล้วอยากมีบ้านแบบนี้สักหลังครับ

แต่ว่าทำอย่างไรดี ตังค์ไม่มี อิอิ

กับข้าวลำแต้ๆเน้อ

สวัสดีค่ะมาอ่านแล้วอยากไปเห็นและชิมกาแฟยองแล้วล่ะค่ะ ขอบคุณที่แบ่งปันชื่นชอบความเป็นเอกลักษณ์แบบนี้ควรค่าแห่งการอนุรักษ์ฯ ขอบคุณค่ะ

รับรองไม่ผิดหวังครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

มาชมบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์ กับภาพศิลป์งามกๆ ชอบจังค่ะ เฮือนใจยอง เส้นสายกำแพง แม่ออน นะคะ ขอบคุณค่ะ

น่าสนใจค่ะ ถ้ามีโอกาสจะแวะไปทาน

มีเพื่อนเป็นคน"ยอง" ตอนเรียน มช.

ขอบคุณสำหรับข้อความที่น่าสนใจค่ะ

แถวบ้านผมมีบ้านยองแบบนี้ด้วยครับ แต่โดนทิ้งร้างไว้ตั้งแต่ผมเล็กๆละครับ ใต้ถุนสูงมากครับ

บ้านแบบนี้หน้าอยู่สนใจรูปแบบทรงบ้าน

คุณ สามารถ

เจ้าของสถานที่ บอก "แวะมา ก็เชิญ ครับ "

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท