เมื่อข้าพเจ้าเป็นครู online : e-learning แบบบ้านๆ


การเรียนการสอนคลินิกทางไกล ! ต้องขอบคุณ  ความจำเป็นทางสถานการณ์ และทีม CMU-KC module ก่อให้เกิด  e-learning การเรียนโดยชุมชนเป็นฐานของนักศึกษาแพทย์ปี 6 

พัฒนาด้วยวงจร ใช้ไป เรียนรู้ไป (PDCA) วันนี้ขอนำประสบการณ์อันน้อยนิด มานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หารือเพิ่มพัฒนาคะ
...
.
Plan วางวัตถุประสงค์
.
เริ่มต้นด้วยความ"ไม่รู้"อะไรเกี่ยวกับ e-learning แต่ "ถึงคราต้องทำ"
เมื่อทีมผู้สอน นำโดย ท่าน อ.รัตนา พันธ์พานิช ริเริ่มวิชา Palliative medicine in community 
.
โดยวางหลักการหลวมๆ คือ
1. เรียนรู้โดยใช้โรงพยาบาลชุมชนเป็นฐาน กล่าวคือ ครูที่แท้จริง คือ ผู้ป่วย แพทย์พี่เลี้ยง และทีมเจ้าหน้าที่ รพ.
2.อาจารย์ในคณะ ทำหน้าที่เป็น coach ออกแบบวิธีประเมิน  ติดตามผล ให้กำลังใจ อาจารย์แต่ละท่านสไตล์การสอนไม่เหมือนกันก็ไม่เป็นไร ถือเป็น "ส่วนหนึ่งของประสบการณ์เรียนรู้" ของนักศึกษา
3 งานที่มอบหมาย เน้นประเมิน ความสามารถการคิดวิเคราะห์ พิจารณาตนเอง (reflection) มากกว่าวัด content knowledge โดยตรง
.
ข้อดีของการใช้ e-learning เหนือกว่าการใช้อีเมธรรมดาคือ
1. มีระบบช่วยรวมคะแนนที่ให้ลงใน database โดยอัตโนมัติ:
สิ่งนี้สำคัญมาก มิฉะนั้นก็ต้องหาใครมานั่งกรอกรวมคะแนนอีกที เป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลไม่คุ้มค่า
2. นักศึกษาสามารถศึกษา "ตามอัธยาศัย  ภายใต้วินัยที่เคร่งครัด"  :
 เอกสารประกอบคำสอน พร้อมแหล่งค้นคว้าเตรียมไว้ให้ เป็น 7-11  (หรือจะไม่ใช้ หาเอาเองก็ได้)
เช่นเดียวกับการส่งงาน ใครอยากส่งก่อน ส่งแล้ว ส่งอีก กี่รอบ ก็ไม่ว่ากัน
แต่ต้องส่งในเวลา -- ระบบมีการบันทึกเวลาส่งไว้ชัดเจน หากเกินกำหนดแม้ชั่วโมงเดียว ก็ถูกหักคะแนนตามสัดส่วน
.
Do ลงมือออกแบบ
.
1. รูปแบบระบบการสื่อสาร ระหว่าง นักศึกษาในชุมชน -- อาจารย์ในโรงเรียนแพทย์ และ ผู้ประเมินผลให้คะแนน
2. หน้าตาของ ระบบ e-learning ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  CMU-KC module ซึ่งมีองค์ประกอบทั่วๆ ไป ใกล้เคียงกับ class.in.th
.
หน้าส่งงาน
.
 .
หน้าแรก
.
มีบันทึกเกี่ยวกับการใช้  CMU-KC module ที่นี่คะ 
เทอมใหม่ ฝันใหม่กับ paperless education
ตัวอย่างผลงานนักศึกษา 1 , 2 , 3, 4, 5

....
.
Check  ประสบการณ์ปีแรก
.
1. คุณสมบัติเป็น database คะแนน ช่วยอย่างมาก จากที่เคยใช้เวลาเป็นสัปดาห์ (รวบรวมแฟ้มผลงาน :-| -> ตามหาผลงานนักศึกษาที่หาย :-{  -> กรอกคะแนนลงคอมพิวเตอร์ T_T ) เหลือเพียงไม่กี่นาทีในการส่งออกคะแนนที่ระบบช่วยรวบรวมไว้แล้ว เป็น exel ไปตัดเกรดได้ทันที
2. แต่..การตรวจงานเขียนทาง online ไม่ใช่เรื่องง่าย  ทำเอาคนอ่านอย่างข้าพเจ้าสายตาสั้นเพิ่มอีกหลายร้อย  เนื่องจากงานเขียนนักศึกษา ที่เป็น Holistic frame work นั้น แต่ละคนใช้เวลาอ่านในคอมพิวเตอร์ 45 นาทีเป็นอย่างน้อย  นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นการบรรยายบริบท มากกว่าวิเคราะห์
3. พบว่า rubric การให้คะแนนที่ได้แบบอย่างมาจากต่างประเทศละเอียดเกินไป
(ลิมไปว่าทั้งชั้นของเขามีแค่ 10 คน แต่ ของเรา 170 คน) การที่อาจารย์ผู้ให้คะแนน ไม่ได้อยู่ร่วมเหตุการณ์ ไม่เห็นผู้ป่วย ร่วมกับนักศึกษา ตัดสินยากมาก สิ่งที่นักศึกษาบรรยายมา ว่า "ดีมาก", "ปานกลาง" หรือ "ควรปรับปรุง"   

.

Act ปรับปรุง
.

1. กำหนดจำนวนหน้า และขนาดตัวอักษร กะให้เวลาตรวจไม่เกิน 15 นาที/คน
( ข้าพเจ้าเคยจับเวลาตนเอง พบว่าช่วงเวลามีสมาธิสูงสุดคือ 10 นาที - เท่านั้น) 
2.กำหนด "Framework" ที่เน้น Problem-based ตัดทอนจำนวนข้อย่อยจาก 22 ข้อเหลือ 10 ข้อ ให้คะแนนตามกระบวนการคิด ว่า "มี" หรือ "ไม่มี"  แทนที่การตัดสินว่าสิ่งที่บรรยายมานี้ "ดี" หรือ "ไม่ดี" 
rubric การให้คะแนน
 
#########################################
.
เรื่องหารือ
1. ระบบ feedback ผู้เรียนด้วยการให้คะแนนลงบนแบบฟอร์ม rubric ด้านบน 
    ยังไม่สามารถ upload ใส่ให้นักศึกษาแต่ละคนเข้ามาดู 
    จึงใช้วิธี email ตอบกลับทีละคนๆ เป็นการเสียเวลาพอสมควร
 คำถามคือ : ทำอย่างไรให้สามารถใส่ไฟล์สำหรับผู้เรียนแต่ละคน -> คิดออกแล้ววว..
2. ระบบ feedback ผู้สอน 
    การใช้ฟังก์ชัน quiz จะบ่งบอกตัวผู้ประเมิน
คำถามคือ :  ทำอย่างไรให้ระบบช่วยส่งแบบประเมินแบบ Anynomous -> มีคำตอบ!

****************
Update: ต้องขอบคุณ gotoknow -- หลังจากข้าพเจ้าจบบันทึก และนั่งเล่นสักพัก คำตอบของข้อ 1 ก็ผุดขึ้นมา นึกถึงบันทึกน้องมะปรางเปรี้ยว pdf file ใช้วิธีเดียวกันคือ upload ไฟล์ feedback ไว้ใน server แล้วแปะลิงค์ไว้ตรงช่องความเห็นดังนี้

****************
Update 2: ขอบคุณ Amita ที่แนะนำเวบสำหรับสร้าง survey คือ surveymonkey และค้นไปค้นมาเจออีกเจ้าคือ google spreadsheet  ต้องขอทดลองเปรียบเทียบก่อน

ขอบคุณทุกท่าน ที่เยี่ยมชม และเสนอความเห็นคะ :-D

หมายเลขบันทึก: 459392เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2011 02:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)

กระบวนการน่าสนใจมากครับ ละเอียดและลุ่มลึกมากเลย ชอบครับ ;)...

แต่ดันไปเห็น "อีเมล์" x อ่ะ คุณหมอบางเวลา แหม เอาตาหนีไปไม่พ้นครับ 555

ขออภัย ๆ ;)...

จ๊าก..ขอบคุณคะ :-)

นี่คือลักษณะอย่างหนึ่งของ คนสมาธิสั้น โปรดให้อภัย

มาเรียนรู ออนไลน์ PDCA HNQA CQI และอีกหลายตัวที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนา

ไดัรับรู้อีกรูปแบบหนึ่งของการเรียน การสอน ชึ่งมีทั้งข้อดี ข้อเสีย ที่ต้องพัฒนาต่อไป ขอให้กำลังใจค่ะ :)

อาจารย์ครับ

ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับ

พอดีมีน้องทำงานที่ สสอ.

เห็นว่า...พวกเราที่ทำงานอยู่อนามัย...ได้รับข้อมูลข่าวสารล่าช้ามาก

และถ้า สสอ. พริ้นท์หนังสือราชการให้ทุกแห่ง ต้องใช้กระดาษมากมาย

เลยคิดว่า...จะใช้ระบบอินเตอน์เนต และ SMS ให้เกิดประโยชน์

พอดีเรื่องราวอาจารย์น่าสนใจมากครับ

ได้ตัวอย่างอีกหนึ่งตัวอย่างครับ

ขอบคุณนะครับ ที่บอกสิ่งที่ควรปรับปรุงด้วยครับ

ผมสบายดี

อาจารย์สบายดีนะครับ

แต่โบยบินกระพือบินถี่ ๆ เพราะช่วงสิ้นเดือนงบประมาณ

ระบบราชการเราก็เป็นอย่างนี้หละครับ....

รำพึงรำพันเฉย ๆ ครับ

สวัสดีค่ะ

สนใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วย  แต่ปัญหาเดิมๆ ก็ยังไม่คงอยู่นะคะ อย่างที่อาจารย์ตั้งข้อสังเกตว่า  งานของนักศึกษายังเป็น

"การบรรยายบริบท มากกว่าวิเคราะห์"

มาให้กำลังใจอาจารย์เพื่อพัฒนทักษะการวิเคราะห์ ให้นักศึกษาแพทย์ค่ะ เพราะจบไปเจอโจทย์ยากๆ ของคนไข้ต้องใช้ทักษะนี้เยอะมากกก....

ดิฉันกำลังจัดกระเป๋าติดตามคนที่บ้านมาประชุม CMCC ที่เชียงใหม่ค่ะ  จะลองมองหาอาจารย์นะคะ

เมื่อกี้ลืม

ชอบความหมายนี้ค่ะ  "วงจร ใช้ไป เรียนรู้ไป (PDCA)"  เพราะใช่เลย!!

เป็นการศึกษาในอนาคตนะครับ

มีหลายตัว เป็นศัพท์เกี่ยวกับการพัฒนาจริงๆ คะ
หากเรารู้ทั้งหลักการ และปฎิบัติไปพร้อมๆ กันยิ่งจดจำ เข้าใจได้ดี 

เมื่อตอนเรียน รปม.มช. จำได้ว่า ระบบ e-learning ช่วยได้เยอะเลยค่ะ

...แม้แต่ประเมินผลการสอนของอาจารย์ พวกเราก็ยังช่วยกันประเมินให้เพื่อนๆ เลย อุ๊บ!!!   hahaha

ขอบคุณคะพี่ใหญ่..
วิธีการเรียนการสอนแบบเดิม ก็มีข้อดีที่การเรียน online ทดแทนไม่ได้
นั่นคือ "แบบอย่าง" คะ
เคยมีอาจารย์อาวุโสท่านหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า อาจารย์ของท่าน (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว)
เอามือแตะที่หน้าท้องคนไข้ แล้ววินิจฉัยถูกว่าตับเป็นฝี สมัยนั้นไม่มีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์  เป็นความประทับใจ ก่อนยุคนี้ที่เป็น Hitech-low touch คะ  

ชื่นชมกับ ไอเดียลดการใช้กระดาษของหน่วยงาน 100% คะ

เคยไม่อยู่ 3 เดือน กลับไปที่โต๊ะ มีกองกระดาษจดหมายเวียน รวบรวมได้เป็นรีม

น่าเสียดายมาก อ่านครั้งเดียวก็โยนทิ้ง

ที่คณะแพทย์ฯ ตอนนี้ทำจดหมายเวียนอิเล็คโทรนิคส์ แต่ก็มีกระดาษเวียนสำรองไว้ด้วย
เทคโนโลยีนั้นดีแน่ แต่ปัจจัยอยู่ที่ "คนใช้ (ไหม)" นะคะ :-)

เป็นกำลังใจให้คุณหมออนามัยคนขยันอีกแรงคะ 

 

  • น่าสนุกมาก
  • ใช้การสอนหลายวิธี
  • ผมพยายามปรับใช้กับนักศึกษาปริญญาโทเหมือนกันครับ
  • แต่ยังไม่สมบูรณ์
  • http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/456521
  • ขอบคุณครับ

ชื่นชมใน ความเป็นคนช่างวิเคราะห์ สังเกตของหมอ nui มากคะ

จากประสบการณ์อดีตนักศึกษาแพทย์คนหนึ่ง..
80% ของโรคที่พบประจำวัน ใช้ความรู้ 20% ของที่เรียน 80% เป็นสิ่งที่ไม่ได้เรียน (จิตวิทยาการสื่อสาร , ทักษะการทำงานเป็นทีม  etc..)
20% เป็นโรคยากๆ ซึ่งใช้เวลาเรียน 80%..

แต่น่าดีใจว่า ตอนนี้มีการตื่นตัว ปรับทัศนคติอาจารย์ใหม่  ซึ่งต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ด้วยคะ

งาน CMCC คึกคักทุกปี แต่ปีนี้ติดเรียนอยู่นอกเชียงใหม่ ไว้ปีหน้าคงมีโอกาสได้พบกันนะคะ

 

น่าจับตามองคะอาจารย์ โดยเฉพาะถ้าระบบ teleconference พัฒนามากกว่านี้ 

555 เกือบความลับ (ในอดีต) แตกนะคะ

ขอบคุณคะอาจารย์

ดูบรรยากาศการสอนอาจารย์แล้วสนุกกว่า..ขนาดมีคนบันทึก "อาจารย์ขจิตน่ารัก" :-))

ชอบการนำเสนอวิจัยเป็นภาษาอังกฤษมากคะ

กำลังอยู่ในความคิดคะ กลับไปอยากเห็น Medical english club
ชวนให้น้องๆ แพทย์ประจำบ้านอ่านหนังสือ แล้วมา reflection เป็นภาษาอังกฤษ กันสนุกๆ เพราะรู้ซึ้งแล้วว่า ภาษาอังกฤษสำคัญมาก  ถ้าได้รับอนุมัติ คิดไว้ว่าจะเชิญ อาจารย์ขจิต มาเป็นวิทยากรคะ :-)

  • ด้วยความยินดีครับ
  • นักศึกษาส่วนใหญ่จบเอกภาษาอังกฤษ
  • เลยมีพื้นฐานที่ฝึกพูดได้
  • การนำเสนอต้องซ้อมเป็นอย่างดีครับ
  • ทำให้นักศึกษามีความมั่นใจ
  • นำเสนอเป็นภาษาอังกฤษได้
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ
  • ปล.ที่นักศึกษาชมว่า อาจารย์ขจิต น่ารักนี่เขินน่าดู แต่รับไว้ครับ 555
  • ขอเรียน "อาจารย์หมอ CMUpal" ว่า ปันทึกนี้ เป็นกรณีศึกษาได้เป็นอย่างดีของ 1) การใช้วงจร "PDCA" ในกระบวนการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอำนวยความสะดวก (Facilitate) ในการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 3) การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (Self-directed Learning) ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการตลอดชีวิต (Lifelong Learning) http://www.gotoknow.org/blog/ido-idea/434536 
  • ขอบคุณมากนะคะที่แบ่งปันประสบการณ์

ขอบพระคุณคะ อาจารย์ ที่ให้เกียรติเป็นกรณีศึกษา..:-)
บันทึกอาจารย์ที่ลิงค์ไว้มีคุณค่ามากคะ

ต้องขอขอบคุณ gotoknow ที่ทำให้ได้ซึมซับเรียนรู้ จากคณาจารย์ ผู้มีประสบการณ์หลายๆ ท่านในนี้ ที่สร้าง "สังคมแห่งการเรียนรู้" 

ขอบคุณที่มาแวะทักทายอีกครั้งคะอาจารย์

มีการศึกษาระดับความสามารถภาษาอังกฤษในนักศึกษาแพทย์ ศิริราช ปี 2003
ซึ่งผลออกมา..สร้างความระทึกพอสมควรคะ 

http://www.sc.mahidol.ac.th/sclg/sllt/Issue3.pdf

เมื่อเช้าเห็นแว้ปๆ ค่ะเมื่อคลิกเข้าไปใน tag r2r แต่พอตกเย็นมาหาไม่เจอต้องมารอยใหม่ค่ะ เป็นต้นแบบที่ดีมากเลยค่ะ ...

Large_zen_pics_007 
นี่เลยค่ะ R2R

เรียนพี่ kapoom ขอบคุณมากคะ 
ตอนบันทึกเสร็จ ลังเลใจว่า เข้าข่าย R2R หรือไม่ เมื่อได้รับการ  "approved" จึงเบาใจ ใส่ tag กลับไปเหมือนเดิมแล้วคะ :-)

บางครั้งพี่ก็เขียนไม่ได้เขียนเรื่อง R2R นะคะ แต่อยากให้คนทำ R2R ได้อ่าน พี่ก็ใส่คำสำคัญ R2R เข้าไปด้วย ... ก็อยากให้อ่านอ่ะนะ...555

 

ผมกำลังตรวจข้อสอบนิสิต...เห็นชัดเลยว่า พื้นฐานการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และการบูรณาการ เป็นโจทย์ที่เราละเลยไม่ได้จริงๆ

ขอบคุณครับ

คำถามคือ :  ทำอย่างไรให้ระบบช่วยส่งแบบประเมินแบบ Anynomous

Let's try surveymonkey. It's a free web survey 

  • you can register by using your facebook account
  • you can choose option "Anynomous"
  • I am not sure it will support Thai but you can try.

GL

ได้คะ ขอเข้าร่วม R2R fanclub อีกคน :-)

วิเคราะห์..สังเคราะห์..บูรณาการ  ครบวงจรเลยคะอาจารย์
เริ่มรู้สึกว่า การตั้งโจทย์ ยากกว่า การให้คำตอบ 

ขอบคุณมากคะ ได้ใส่ไว้ใน update แล้ว จะลองดู

ด้วยความขอบคุณครับ ติดตามมาอ่าน PDCA ครับ ตามจนพบว่ามีรายละเอียดที่ชัดเจนมากครับ


ขอบคุณท่านประธานฯ ธนามากคะที่กรุณามาเยี่ยม
ได้ประโยชน์จากการอ่านทบทวนความหมายจากบทความของท่าน เช่นกันคะ

แวะมาเรียนรู้ด้วยค่ะ

ขอให้กำลังใจนะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงานที่สร้างสรรค์โลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่จำกัด ฝันให้ไกลและไปให้ถึงครับ ขอเป็นกำลังใจ สู้ สู้ ครับผม

ขอบคุณคะคุณอนงค์ ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ :-) 

ขอบคุณมากคะ คุณนนทวี ฝันให้ไกล ไปให้ถึง :-)

สวัสดีค่ะ อ.หมอCMUpal

ขอบคุณที่ทำให้รู้ว่า Palliative care มี Fast-track Concept ด้วย..ขอบคุณนะคะ

แอบเก็บเอาไปแลกเปลี่ยนค่ะ

  ยินดีต้อนรับคนรักวิจัยคะคุณ กอไผ่ใบตาล 
เวบไซต์ fast fact concept palliative care : มีรูปแบบจัดการความรู้ ที่น่าสนใจ

คือเริ่มต้นจาก ใครรู้อะไรเกี่ยวกับ Palliative เนื้อๆ สั้นๆ ก็นำมาเขียน พร้อมอ้างอิง
คล้ายกับบล็อก gotoknow นี้คะ
แล้วมารวมกัน  แยกหมวดหมู่ตาม key word  มีการ update เนื้อหา สม่ำเสมอ
ไปๆ มาๆ กลายเป็นแหล่ง "ฉวย" แนวปฎิบัติที่กระชับฉับไว เป็นที่ชื่นชอบของแพทย์ พยาบาล หลายท่านคะ :-)

ยินดีคะ หากมีแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมแนะนำ อย่าลืมบอกกันด้วยนะคะ :-)

สวัสดีคะ คุณภาวดี ใบไม้ร้องเพลงอารมณ์ดี..ขอบคุณที่มาให้กำลังใจคะ :-)

เป็นสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่ดีและมีชีวิตชีวาครับผม

ขอบคุณคะ เป็นสื่อที่สร้างชีวิตชีวาให้กับผู้สอนอย่างเรา เพราะได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วยคะ :-)

ที่พิจิตรเราก็เริ่มทำกันมาระยะนึงตอนนี้มีคุณหมอมาดูแลเรื่องนี้

ประจำอยู่ที่เวชกรรมสังคมค่ะ..

ทำไปทำมาเป็นเรื่องสนุกคะ 
เป็นกำลังใจให้ทีมพิจิตรอีกแรง :-) 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท