เที่ยวปายชมวัฒนธรรมลีซอ (ลีซู)


เที่ยวปายชมวัฒนธรรมลีซอ (ลีซู) ที่บ้านใหม่สหสัมพันธ์ ปาย แม่ฮ่องสอน

ด้วยบันทึกนี้ครูแอนได้รับคอมเม้นท์ตอบจากพี่เอกP ในบันทึก โธ่เอ้ย...แม่อุ้ย 

P 32. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เมื่อ อา. 02 มี.ค. 2551 @ 15:45
562830 [ลบ]

น้องครูแอนครับครูแอน

รูปแม่อุ้ยนั่งขายแบกะดินนี่คลาสสิคมากๆครับ แต่ดูแววตาแม่อุ้ยไม่เศร้าเท่าแม่อุ้ยขายถั่วแปบด้านบน

ผมไปที่หลวงพระบาง แม่ค้าส่วนใหญ่ก็ขายแบกะดินแบบนี้ วิถีง่ายๆแบบนี้น่าสนใจ อาหารสดๆจากป่า จากสวน ไร่ ราคาไม่แพง แถมยังสดใหม่

วันที่มีงาน "ลีซูสัมพันธ์" น่าเสียดายครับ  ผมต้องไปทำงานที่ ดอย"วาวี" แทน อดเที่ยวเลย :)

ตอนแรกตั้งใจว่าจะไปถ่ายรูปครับ เพราะเข้าใจว่างานนี้ต้องยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายของสาวๆลีซู

เอารูปมาฝากบ้างไหมครับ โพสลงให้ชมบ้างสิครับ

ส่วนปีที่แล้ว "กินวอลีซู" ชมภาพที่นี่ครับ

Thumbnail d
  • เนื่องจากวันที่ 22  กุมภาพันธ์ 2551 ครูแอนได้ไปท่องเที่ยวเมืองปาย ไปคนเดียวค่ะ ขี่รถไปเรื่อยๆ น่าจะเจอภาพที่น่าสนใจ .. ตั้งใจไปวัดน้ำฮู  จากนั้นไปบ้านสันติชล ไปเจอแม่อุ้ยขายกล้วยที่บันทึกพี่เอก เจอชนเผ่าลีซอแต่งตัวสวยงามเครื่องประดับ เต็มยศ แต่งองค์ทรงเครื่อง เต็มตัวอำเภอปาย บ้างอยู่เป็นกลุ่มข้างทาง
  • P1090912

บ้างนั่งรถกระบะมาเต็มคันรถ ยิ่งกว่างานปอยหลวงของคนเมืองซะอีก.....เอ...พวกเขาแต่งตัวไปไหนกัน...ครูแอนคิดในใจ..

  • P1090892

สาวๆลีซอ (ลีซู)

P10908911

ตามไปดูเป็นงานเป็นงานวัฒนธรรมลีซูแห่งประเทศไทย จัดที่บ้านใหม่สหสัมพันธ์ มีการแสดงอะไรบ้าง

P1090911

มีป้ายบอกเข้าไปในงานด้วย...เราตามครูแอนไปน่ะค่ะ...

P10908933

ซุ้มประตูทางเข้าสวยงามทีเดียวค่ะ...

P10908955

ประเพณีการเต้นจะคึ (ครูแอนไม่แน่ใจ) เต้นในงานปีใหม่  เดี๋ยวให้พี่เอกมาอธิบายต่อน่ะค่ะ

P10908944

ท่าทางสนุกค่ะ...ครูแอนชักอยากไปเต้นด้วยจัง..แต่ไม่มีชุด..อิอิ

ขอเชิญชวนพี่น้อง G2K มาเยี่ยมชม วัฒนธรรมลีซู ที่ปายค่ะ..งานนี้จัดเพื่อให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะค่ะ

ครูแอน

22 กุมภาพันธ์ 2551

ปาย แม่ฮ่องสอน

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 168754เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2008 03:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

ข้อมูลเพิ่มเติมเดี๋ยวครูแอนตาม พี่เอกมาช่วยอธิบายน่ะค่ะ

ซุ้มประตูตกแต่งได้เรียบง่าย  และง่ายงามมาก  เสียดายก็แต่ป้ายไวนิลนั้นดูจะไม่สอดรับกับซุ้มที่ใช้ความเป็นธรรมชาติมาตกแต่ง  แต่อย่างไรภาพรวมก็น่าประทับใจมาก

การอยู่ร่วมในสังคม  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ "พื้นที่"  แก่กลุ่มชนได้มี "ตัวตน"  ของตนเองอย่างสง่างาม   เพราะเราสามารถอยู่ร่วมบนความแตกต่างทางวัฒนธรรมกันได้ ...

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ น้องครูแอน และผู้อ่านทุกท่านครับ

หลายท่านที่อยู่ภาคกลางมักจะจำไม่ค่อยได้เผ่าไหนเป็นเผ่าไหน ก็เรียกรวมว่า "ชาวเขา" แต่มีการใช้คำใหม่ให้สุภาพมากขึ้นใช้ว่า "ชาวไทยภูเขา" หากเป็นภาษาวิชาการขึ้นไปอีก เราใช้ "กลุ่มชาติพันธุ์" 

และมีเรื่องเล่าครับ กลุ่มชาติพันธุ์ นี่ก็เคยมีการวิพากษ์กันเหมือนกันว่า ต้องมี สระ อุ หรือ ไม่มี  แต่สรุปแล้วผมว่าควรมีสระอุนะครับ (ความเห็นส่วนตัว)

ศัพท์ที่ใช้เรียก กลุ่มชาติพันธุ์ จึงจำยากมากขึ้น

ม้ง  ใช้เรียกแทน  แม้ว

ปกาเกอญอ ใช้เรียกแทน กระเหรี่ยง,ยางกะเลอ,ยาง

ลีซู ใช้เรียกแทน ลีซอ

จีนยูนนาน ใช้เรียกแทน จีนฮ่อ

ลาหู่ ใช้เรียกแทน มูเซอ ,มูเซอร์

อาข่า ใช้เรียกแทน อีก้อ

มราบรี ใช้เรียกแทน  ผีตองเหลือง

และยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ  เช่น ดาระอั้ง,เมี่ยน ฯลฯ

ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย บนพื้นที่สูงครับ

ส่วนเรื่องของ "ลีซู" หรือ "ลีซอ" ผมจะนำมาเรียบเรียงให้อ่านต่อจากข้อเสนอแนะนี้ น่าสนใจมากครับ

ผมได้มีโอกาสเรียนรู้กับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ใช้เวลาร่วม ๑๐ ปี ผ่านการทำ Thesis ส่วนหนึ่ง มีแง่มุมต่างๆจะนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

 

---

สวัสดีครับ

เคยตระเวนไปตามหมู่บ้านชาวเขาอยู่บ้างเหมือนกัน

มีภาพแปลกตาน่าสนใจมากมาย

แต่มีปัญหาในการเรียกชื่อ

ได้ยินว่าบางชื่อที่เรียก เจ้าของชื่อก็ไม่ปลื้ม เพราะมีกลิ่นอายความดูถูกดูแคลนติดอยู่ในคำศัพท์

เมื่อต้องเขียนหรือเอ่ยถึง จึงต้องใส่ไปทั้งสองชื่อ รุงรังหน่อย เมี่ยน (เย้า) อาข่า (อีก้อ) ฯลฯ ทั้งนี้เพราะมีการใส่อคติเข้าไปในคำศัพท์นั่นเอง

อีกทางหนึ่ง มีการเลี่ยงศัพท์ไปเรื่อยๆ อย่างที่น้องเอกว่า ชาวเขา ชาวไทยภูเขา ฯลฯ ลาวโซ่ง เป็นไทยโซ่ง เป็นไทยทรงดำ งงไปหมด

  • ยกยาวไปถึงศัพท์อื่นๆ ก็มีการสร้างศัพท์ใหม่ที่ดูหรู แต่ฟังไม่รู้เรื่อง และสับสน เช่น อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ (ใช้กันสับสน ทั้งๆ ที่มีนิยามอยู่แล้ว) พื้นเมือง พื้นบ้าน พื้นถิ่น ท้องถิ่น ฯลฯ

ถ้ามีโอกาสคงได้เยี่ยมบ้านชาวเขาอีกแน่ๆ ขอบคุณครูแอนที่นำภาพสวยๆ และเรื่องราวดีๆ มาฝากครับ

ผมขออนุญาตพรวนบันทึกผ่านข้อเสนอแนะนี้ครับ (ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์)

  1. ตามไปดู "ลาหู่" ทอผ้า
  2. ท่องเที่ยวชุมชน...จีนยูนนานแม่ฮ่องสอน
  3. "โศกนาฏกรรมบนดอยสูง" กระบวนการกลายเป็นพ่อค้ายาเสพติด
  4. จดหมายจาก...เรือนจำ
  5. "ชาวเขา" กับ "อคติ" ทางชาติพันธุ์
  6. เกษตรอินทรีย์หลังบ้าน...ภูมิปัญญาจีนยูนนาน
  7. โลงผีแมน...พาหนะเดินทางไปสู่โลกหลังความตาย
  8. "รักจัง" กับอคติทางชาติพันธุ์
  9. "คนขับโลก" มุมมองคนปาเกอะญอ ที่มีต่อ "คนในเมือง"
  10. "มลาบรี" ผีตองเหลือง กับ การส่งเสริมการท่องเที่ยว
  11. งานวิจัย การจัดการความรู้ท้องถิ่น "กลุ่มชาติพันธุ์ลีซู"
  12. ไปเก็บสมุนไพรกับพ่อเฒ่าลีซู...กิจกรรมเก็บข้อมูลงานวิจัย
  13. โศกนาฎกรรม "Roadmap" ยาเสพติดกับ "งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น"
  14. เรียนรู้ชีวิตกลางคืน...ผ่านบาร์อะโกโก้
  15. ต้มเหล้าข้าวโพด : กิจกรรมการเก็บข้อมูลนักวิจัยคนจน
  16. "โลว์เทค" วิธีเก็บข้อมูลของนักวิจัย "คนจน" : Life on the Mountain
  17. "รุ่งอรุณ" เที่ยวละไมชุมชนท่องเที่ยว แม่ฮ่องสอน
  18. ลีซู...ราชินีแห่งขุนเขาู : เริ่มแรกงานวิจัยในหมู่บ้าน
  19. มูเซอพลาซ่า : ห้องสรรพสินค้าของคนบนดอย
  20. พัฒนาโจทย์วิจัย ค้นหาของดีชุมชนปกาเกอเญอ
  21. ของฝากจาก พะตี่อาศรี....นักวิจัยชาวบ้านปกาเกอญอ
  22. น้องหมูนาง...สาวกระเหรี่ยงคอยาว กับงานพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน
  23. "คิเบาะ เดะบือ" งานวิจัยที่น่ารักของชุมชนบนดอย
  24. ชวนลีซูปลูกป่าวันฟ้าฉ่ำฝน...กิจกรรมพัฒนาในงานวิจัยบนดอยสูง
  25. บ้านกระเหรี่ยงแม่ปิง ชุมชนจัดการตนเอง
  26. ภาพชีวิตอันสดใส ไร้มายา : สาวน้อยกระเหรี่ยง
  27. ย้อนรอยการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยแก้วกระเหรี่ยง
  28. ไม้ผลเมืองหนาวบนที่สูง : ชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านผาเจริญ
  29. เยือนถิ่นบัวตอง...เปิดโฮมสเตย์ไทยใหญ่ บ้านเมืองปอน
  30. เวลา...ยาเสพติด วิทยานิพนธ์ และชุมชนเข้มแข็ง
  31. คืนไหว้พระจันทร์ เที่ยวละไมชุมชนจีนยูนนาน
  32. รอหน่อยนะ!!!....สาละวิน
  33. เหนือฝั่งสาละวิน...เหตุการณ์ยังไม่เปลี่ยนแปลง
  34. คนกับป่า :วิถีพอเพียงกระเหรี่ยงสาละวิน
  35. มลาบรี ผีตองเหลือง กับ ปาด่อง กระเหรี่ยงคอยาว...วิถีที่ไม่ต่างกัน
  36. จัดการความรู้แบบจีนยูนนาน...นำเสนอตัวตนผ่านการท่องเที่ยว
  37. คำบอกเล่าจากบนดอย...ไม่พอเพียงเลยไม่เพียงพอ
  38. ชาวลีซูปลูกป่า...ความประทับใจบนดอยสูง
  39. ลาหู่ - พรานภูเขา: วิถีตัวตนคนชายขอบ กับการท่องเที่ยวโดยชุมชน
  40. อาหารพื้นบ้าน ภูมิปัญญาเพื่อการอยู่
  41. คนบนดอยพึ่งตนเอง : บทเรียนจากการพัฒนา คนลาหู่
  42. KM ธรรมชาติคนลีซู สู่กระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
  43. สวรรค์บนดอยของนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น
  44. วิถีชีวิตบนดอยสูง...ปัญหาที่มาโรมรัน
  45. ภูมิปัญญาคนดอย คุณค่ากลางป่าลึกที่น่าเป็นห่วง
  46. บ้านดินจีนยูนนาน เมืองปาย - เตรียมการต้อนรับพ่อครูบาสุทธินันท์
  47. "ดุลยภาพของการพัฒนากับหน้าต่างแห่งยุคสมัย" Count Down 2008 กลางป่าสนผืนใหญ่ที่สุดของประเทศ
  48. เวทีชุมชนที่โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ :ศึกษาศักยภาพชุมชนด้วยกระบวนการเฮฮา(ภาคแรก)
  49. เวทีชุมชนที่โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ :ศึกษาศักยภาพชุมชนด้วยกระบวนการเฮฮา(ภาคต่อ)
  50. มันจะมาแล้ว เอาอะไรกั้นไว้ก็ไม่ไหว : แล้วเราจะรับมืออย่างไร?? คำถามท้าทายคนบ้านวัดจันทร์
  51. วิถีการต่อสู้ของมูเสคี : ยุทธศาสตร์การปรับตัว
  52. ดอยวาวี สวรรค์บนดอยสูง : กระบวนการเรียนรู้เพื่อการจัดการอนาคต
  53. ความรู้ - พลวัต - ความยั่งยืน : กระบวนการเรียนรู้ "ดอยวาวี" ดินแดนในฝัน สวรรค์บนดอยสูง

นำมารวบรวมในบันทึกนี้ เห็นว่าเยอะพอสมควร เป็นแง่มุมที่น่าสนใจสำหรับการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ครับ

จะเห็นได้ว่าผมใช้ศัพท์ สลับ ไปมา

กระเหรี่ยง -ปกาเกอญอ -ปกาเกอะญอ -ปกาญอ

มราบรี-มลาบรี

จะขอตรวจสอบเรื่องศัพท์อีกครั้งครับ แต่สังเกตว่ามีการใช้ที่หลากหลายเช่นเดียวกัน

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

สำหรับท่านที่สนใจในรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มากขึ้น

แนะนำไปชมเวปดีๆที่

พิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์

และ  เผ่าลีซู

--------------------------------------------------------------

ตำนานลีซู

  "...ลีซู มีตำนานเล่าคล้ายๆ กับชนเผ่าหลายๆ เผ่าในเอเชียอาคเนย์

ที่กล่าวถึงน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ ซึ่งมีผู้รอดชีวิตอยู่เพียงหญิงหนึ่งชายหนึ่งซึ่งเป็นพี่น้องกัน เพราะได้อาศัยโดยสารอยู่ในน้ำเต้าใบมหึมา พอน้ำแห้งออกมาตามหาใครก็ไม่พบ จึงประจักษ์ใจว่าตนเป็นหญิงชายคู่สุดท้ายในโลก ซึ่งถ้าไม่สืบเผ่ามนุษยชาติก็ต้องเป็นอันสูญพันธุ์สิ้นอนาคต แต่ก็ตะขิดตะขวางใจในการเป็นพี่น้อง เป็นกำลังจึงต้องเสี่ยงทายฟังความเห็นของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เห็นมีโม่อยู่บนยอดเขาจึงจับตัวครกกับลูกโม่แยกกันเข็นให้กลิ้งลงจากเขาคนละฟาก โม่เจ้ากรรมพอจะถึงตีนก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง อุตสาห์กลิ้งอ้อมตีนเขาไปรวมกันเข้ารูปเดิมอย่างดิบดี ไม่ว่าจะลองเสี่ยงทายด้วยอะไรก็จะได้ผลแบบนี้ทั้งนั้น

พี่ชายน้องสาวเห็นว่าพระเจ้ายินยอมพร้อมใจให้สืบพันธุ์แน่ๆ จึงตั้งหน้าตั้งตาผลิต ทั้งลูกชายทั้งลูกสาวซึ่งจับคู่กันเป็นต้นเผ่า..."

จาก พิพิธภัณฑ์ชาวเขาเผ่าลีซู

  • แอน ..

ต้อมเคยมีเพื่อนเป็น "ลีซอ" ด้วยนะ  ถ้าจำไม่ผิด  ^^  ตอนเรียนเทคนิคฯ น่ะ  เพื่อนคนนี้ได้เกรดเฉลี่ย 4.00 ประจำเลย   แถมยังเป็นพี่ผู้ชาย (( ตอนนั้น ต้อมสิบกว่า แต่พี่เขาปาเข้าไป 30 กว่าๆ แร่ะ))ที่สุภาพมากๆ

ช่วงปายฝนต้นหนาว  ..แถวปายมีงานอะไรน่าสนใจแบบนี้มั่งคะ?

แอน

ลุงเกทราบข่าวว่าหนูต้องการพบ ไม่ทราบว่ามีเรื่องอะไรที่จะให้ลุงรับใช้ขอให้รีบบอกมานะจ๊ะ ช่วงหลังลุงไม่ค่อยมีเวลากับโลกของเรา (โลกของชาวบล็อค) เพราะงานยุ่งเหลือเกิน ลุงขอโทษด้วย คงได้พบกันในวันอบรม KM วันที่ 6-7 นี้ ลุงเกไปเป็นวิทยากร    เรื่องบล็อคด้วยนะ

หนูแอน ถ้าหนูมีข้อมูลเรื่องลีซอ ช่วยนำมาฝากลุงเกด้วย สิ่งที่ต้องการ

ตำนาน

ประวัติความเป็นมาของเผ่า

ขอบคุณล่วงหน้า

อาจารย์เก

สวัสดีครูแอน

            เป็นเรื่องแปลกครับ...เพราะไม่ได้เห็นเขามาอยู่รวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมากขนาดนี้....จะลองค่อย ๆ ศึกษาดูครับ เห็นมีข้อมูลของคุณเอกด้วย

                                             ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ ครูแอน

  • เข้ามาในบันทึกรูปคนแปลกหน้าเห็นรูปแล้ว แอนไหนหนอ
  • ได้ความรู้เรื่องชาติพันธุ์มากมาย  คุณเอกรวบรวมมาก..เพียบ
  • ขอบคุณมากครับ

อ่านบันทึกหนูแอน

แล้วคิดถึงวันคืนก่อนเก่า

ค่ำคืนที่หนาวเหน็บ.....บนดอยสามหมื่น...วันงานกินวอ

โต๊ะอาหาร...ทุกอย่างปรุงจากหมู เนื้อหมู ลาบหมู

ในกระท่อมชาวลีซู....ที่อบอวลไปด้วยควันไฟจากเตา

เหล้าดีกรีสูงจัด....น้ำชารสฝาดเข้ม

วงเต้นรำของหนุ่มสาวชาวลีซู...ที่หนุ่มคนเมืองกับสาวครูดอย

เข้าร่วมวงได้อย่างไม่ขัดเขิน....^_^

ลิ้นชักของความทรงจำเปิดขึ้นอีกครา....

เอ...คนที่เริ่มรำพึงถึงแต่ความหลังนี่..เรียกว่าคนสูงวัยแล้วมั้ง

สวัสดีครับ

  • ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอ้ายเอกP จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร นักๆเน้อเจ้า
  • ที่ได้พรวนบันทึกและพรวนความรู้ให้แก่พวกเรา อย่างเต็มอิ่มเกี่ยวกับชาติพันธุ์
  • ได้รู้วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่หลากหลาย
  • แอนมีความรู้สึกว่าชนเผ่าลีซูเขามีการรวมกลุ่มกัน พร้อมที่จะแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมประเพณีที่งดงาม น่าชื่นชมทีเดียวค่ะ
  • แต่..ก็มีเคส ที่วัยรุ่นชนเผ่า..มักจะปกปิดตนเองไม่อยากให้เพื่อนรู้ว่าตัวเองเป็นชนเผ่า (ลีซู) เพราะเพื่อนล้อ พูดไม่ชัด ภาพพจน์ไม่ดี ...ต้องมีการสร้างความตระหนักรักในวัฒนธรรมของตนและความเป็นตัวตน สร้างความภูมิใจ ให้มากขึ้นสำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย

 

 

  • คุณP แผ่นดิน
  • ปัจจุบันมีการยอมรับมากขึ้น เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สังเกตได้ว่า ทุกชนเผ่าพร้อมที่จะแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตนมากขึ้น ความรู้สึกแบ่งแยกและความแตกต่างลดช่องว่างลง
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • สวัสดีค่ะ ธ.วั ช ชั ย
  • ภาษาวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคและสมัย
  • ใช่ค่ะบางครั้งเราก็รู้สึกสับสนกับภาษาใหม่ๆ บางครั้งตามไม่ทัน
  • มีค่ะ การเรียกชื่อ ลำดับพี่น้อง เช่น อะเลมะ อะเลหมี่ อะเลผะ อะซะผะ (ชื่อลีซู)
  • มีค่ะนักเรียนที่เมืองแปงและอีกหลายๆ โรงเจอปัญหาที่ว่า..งง...เพราะชื่อแม่ชื่อ อะเลมะ เลาหมี่  ชื่อลูกก็อะเลมะ  เลาหมี่ เหมือนกัน ...คุณครูต้องสอบถามถึงบางอ้อ..ว่าชนเผ่าลีซอ หรือลีซู เขาตั้งชื่อ ตามลำดับ
  • ครูแอนจะมาให้รายละเอียดเพิ่มเติมน่ะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

เดี๋ยวครูแอนจะมาตอบและทักทายทุกท่านน่ะค่ะ..ตอนนี้ขอตัวก่อนค่ะ..

ประกาศ....น้องสาวเปลี่ยนรูปใหม่...อิอิอิ

  • เกือบจำไม่ได้แน่ะ
  • แบบว่าหายไปกับงานนานนิดนึง  แว๊บเข้ามา....ใครหน่ะ  สุดท้าย อ๋อ...น้องสาวเรานี่เอง  นึกว่าสาวสวยที่ไหนซะอีก
  • พี่ได้รับงานทางเมล์แล้วจ๊ะ....ขอบใจจริงๆ
  • เออ.....ที่สาวๆ ลีซู (ลีซอ) เค้าเต้นกันน่ะค่ะ....สวยเนอะ
  • ถ้าได้เห็นกับตา  คงสวยกว่าไหนๆ เนอะ อิจฉาน้องซะแล้วสิ
  • ขอบคุณค่า

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วได้ความรู้จังเลยนะคะ

พอมีบันทึกที่ใกล้เคียงกับบันทึกนี้ค่ะ ที่นี่ค่ะ

ใครๆก็พูดถึงไทยแท้ แต่ใครรู้บ้าง ไทยแท้ๆเป็นอย่างไร.

  • สวัสดีค่ะคุณP กวินทรากร
  • สบายดีน่ะค่ะ
  • ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ
  • พี่สาวP  Lioness_ann
  • เรื่องงานวิจัยต้องยกความดีให้พี่ชายด้วยที่ช่วยเหลือ
  • ถ้ามาปายแอนจะพาขึ้นดอยช่วงปีใหม่ไปเต้น จะคึน่ะ อิอิ
  • สวัสดีค่ะพี่P  Sasinanda
  • ขอบคุณมากค่ะสำหรับบันทึกจะตามไปอ่านค่ะ
  • ต้องขอบคุณพี่เอกP จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูรที่ให้ข้อมูลทำให้เราได้รับความรู้กับชนเผ่ามากมายค่ะ

 

หวัดดีคับ....ครูแอน

ผมค้นหาทางweb google บังเอิญเจอน่ะ

ก็เลยลองเข้าไปดู

จริงๆแล้วเทศกาลนี้เขาจัดขึ้นทุกปีคับ

แต่ละหมู่บ้านจะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ

จะมีชาวลีซอจากทุกที่มาร่วมงานกัน

ผมเคยไปครั้งนึง...ที่จ.เชียงใหม่ อ.พร้าว

หมู่บ้านทุ่งกู่ คนเยอะมากกกกกกกกกกก

ชอบคับ ตื่นเต้นดี สาวๆตรึมเลยอ่ะ

เป็นเทศกาลนึงที่ผมอยากไปร่วมทุกปี

แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีเวลาแล้วล่ะ

เพราะต้องทำงาน......

ที่อยากไปเพราะผมก็เป็นลีซอคนนึงครับ

เป็นลีซอโดยกำเนิดเลย....

อ้อ....ผมชื่อเลย์นะครับ

สวัสดีค่ะ

  • ดีใจจังค่ะ
  • เที่ยวนี้ได้เรียนรู้ข้อมูลสุดยอดเพิ่มเติมจากคุณเอกค่ะ
  • ขอขอบคุณมาก ๆนะคะ
  • รักและคิดถึงน้องแอนคู่ยากค่ะ (คนเยี่ยมบันทึกพี่คิมตอนแรก)

สวัสดีคะคุณเลย์

  • ก่อนอื่นต้องบอกว่าเด็กลีซอ หรือลีซู เป็นเด็กที่เรียนเก่ง หัวดี และฉลาดมากคะ
  • ต้องขอชื่นชมที่คุณเลย์รักและยากสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าตนเอง 
  • บ้านคุณเลย์อยู่เชียงใหม่หรือคะ...
  • เด็กนักเรียนที่นี่จะขอลาช่วงปีใหม่ ไปเป็นอาทิตย์ เพื่อร่วมประเพณีกินวอ คะ...ถือว่าเป็นประเพณีที่สวยงามมาก

Pพี่ครูคิม ขอบคุณมากคะที่ยังระลึกถึง...เป็นกำลังใจให้พี่ครูคิมบันทึกดีดีออกมาเพื่อประโยชน์ต่อการเรียนรู้คะ..บันทึกเกี่ยวกับชาติพันธุ์ ชนเผ่า พี่เอกได้บันทึกไว้กระจ่างทีเดียวคะ

ชอบอ่านเรียนรู้ วัฒนธรรม ของคนดอยสูงค่ะ

แต่ไม่มีโอกาสสัมผัสจริงๆซักที

ขอบคุณมากมาย

Take care

Pคุณครู@..สายธาร..@ วัฒนธรรมชนเผ่าน่าชื่นชมที่พวกเขาได้อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมของเขาได้อย่างดี คะ

เด็กๆใกล้สอบแล้วใช่ไหมคะ คุณครูคงยุ่งๆกัน เป็นกำลังใจให้นะคะ

สวัสดีค่ะ.....

ประเพณีปีใหม่ลีซอจะมีทุกปีค่ะ จะตรงกับช่วงตรุษจีนค่ะ เราชาวลีซอทุกคนยินดีต้อนรับทุกท่านที่มาเยี่ยมชมประเพณีของเรานะค่ะ

ส่วนงานสมาคมลีซอจะจัดหลังปีใหม่ค่ะ น่าจะเป็นช่วงปิดเทอมน่ะค่ะ(อย่างไงสอบถามได้คะ)

ชื่อ อ้อม ค่ะ อยู่ อ.ปาย

ขอบคุณมากคะคุณอ้อม ที่พร้อมให้ข้อมูล ยินดีที่ได้รู้จักคะ

ช่วยลบรูปอ้อมห้ายหน่อยนะค่ะ โดนแกล้งค่ัะ

ขอบคุณค่ะ

รูปที่20100720212416.jpg

ช่วยลบรูปอ้อมห้ายหน่อยนะค่ะ โดนแกล้งค่ัะ

ขอบคุณค่ะ

รูปที่20100720212416.jpg

สวัสดีค่ะครูแอน

สบายดีน่ะค่ะ

ช่วยลบรูปอ้อมห้ายหน่อยนะค่ะ โดนแกล้งค่ัะ

ขอบคุณค่ะ

รูปที่20100720212416.jpg

สวัสดีครับครูแอนแวะมาบันทึกนี้ได้ความรู้เรื่องชาติพันธ์ ได้ท่องเที่ยว

พรุ่งนี้ก็ได้ท่องเที่ยวพบกับคุณเอกที่กระบี่

การเดินทางคือการทำงานครับ

สวัสดี ครู แอนครับสมาคมลีซูแห่งประเทศไทยได้จดทะเบียนหรือยังครับ ตอบด้วย

สวัสดีปีใหม่ไทย/ ลีซูด้วย ปีนี้ที่อำเภอปายบ่านใหม่ลรซูน้ำฮูปีใหม่ในวันที่ 3ก.พ 2554 นี้เชญิทุกท่านมาเที่ยวน่ะ เจ้าภาพผู้ใหญ่ให้การตอนรับอย่างดี เสร็จ ปีใหม่แล้วจะมีการจัดงานร่วมสมันคีชนเผ่าลีซูปาย จะมีการละเล่นของชนเผ่าจะในวันที่22-24 ใดรสนใจอย่างร่วมสนุกกเชญินะครับ เชญิครูแอน และชาวสมาคมลีซูทั่วประเทศ

สวัสดีครูแอนครับผมเป็นชาวลีซออยู่ที่ดอยช้างผมสนใจและพยายามฟื้นฟูวัฒนธรรมเพื่อให้คงอยู่ให้ลูกหลานต่อไปถ้าผมมีโอกาศเจอครู ผมอยากขอคำปรึกษาจากครู    ขอบคูณมาก   ( อะโล )

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท