กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 2550


ประเด็นสำคัญ ๆ ในเวทีสัมมนาเปิดรับฟังความคิดเห็นเรื่อง "การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่"

1. มีการเสนอให้รัฐจัดหลักสูตรการศึกษาเรื่องการกระจายอำนาจและการปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในระดับประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา นอกจากนั้น สมควรจัดหลักสูตรการอบรมให้สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ควรได้ผ่านหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กำหนดเมื่อจะก้าวสู่การเป็นผู้บริหารท้องถิ่น

2. มีการเสนอให้รัฐจัดตั้งทบวงท้องถิ่นหรือทบวงพัฒนาการปกครองท้องถิ่น โดยรวมหน่วยงานสำนักกระจายอำนาจรัฐ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น ยกฐานะเป็นทบวงท้องถิ่นเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น และเสนอให้เปลี่ยนชื่อ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นกรมส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่น

3. มีการเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการติดตามและกำกับดูแลเกี่ยวกับการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายท้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด ที่มาจากภาคผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการและตัวแทนภาคประชาสังคม ที่มีความเป็นอิสระ

4. มีการเสนอให้คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น (ก.ถ.) และสำนักงานคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ควรเป็นอิสระและให้ทำหน้าที่เหมือน ก.พ. ที่ไม่ขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย

5. มีการเสนอให้แก้ไขกลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรจะกระทำได้ง่ายขึ้น และรัฐก็ควรจะสนับสนุนการให้บริการเครื่องมือต่าง ๆ ให้กับประชาชน

6. มีการให้ลดบทบาทหน้าที่ของส่วนราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และรัฐควรระบุอำนาจหน้าที่ของรัฐ (ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ให้ชัดเจนว่ามีอำนาจหน้าที่ทำอะไร นอกจากนั้นเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

7. มีการเสนอให้รัฐต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในแต่ละพื้นที่ให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกัน

8. หากจะมีการเขียนรัฐธรรมนูญ กำหนดว่า ตามที่กฎหมายบัญญัติก็ควรระบุไว้ให้ชัดเจนว่า ควรมีเนื้อหาสาระสำคัญ ๆ อะไรบ้าง และวางกรอบเวลาไว้ด้วยเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ

 

หมายเลขบันทึก: 80847เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2007 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ข้อ 7 ไม่ค่อยเห็นด้วยนะครับ  เสน่ห์ของท้องถิ่นคือความหลากหลาย  ไม่ใช่ใส่เสื้อโหลเหมือนกันหมด  มาตรฐานควรเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ  แต่ท้องถิ่นไหนทำได้มากกว่ามาตรฐานก็จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน 

ข้อ 7 คงหมายถึงมาตรฐานในการทำงานหรือการบริการประชาช คงไม่ใช้หลักการบริการสาธารณะตามวิถีชีวิตของชุมชน หรือตามหลักการกระจายอำนาจ ซึ่งท้องที่แต่ละแห่งไม่หมือนกัน

  • เข้าใจเจตนารมณ์นะค่ะว่าต้องการให้มีความเท่าเทียมกันในทุกภาคส่วน
  • อย่างเช่นการประกันคุณภาพการศึกษาที่เรียนมาก็มีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน
  • แต่ในความเป็นจริงและบริบทของแต่ละท้องถิ่ของประเทศมีความแตกต่างกัน ในหลายๆด้าน ซึ่งยากที่จะทำให้เท่าเทียมค่ะ
  • แต่มีแนวคิด หรือแนวทางไว้ก็เป็นเรื่องดี และเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท