การวิจัยในชั้นเรียน


พลังแห่งการมีเป้าหมายที่ชัดเจน
หมายเลขบันทึก: 47492เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • ขอบคุณครับผม
  • เรียน    อาจารย์วัฒนา
     
    เรื่อง    ขอความอนุเคราะห์คำชี้แนะ
     
             ก่อนอื่นของแนะนำตัวก่อนนะค่ะ หนูชื่อ นางสาววิไลลักษณ์ เขมวงศ์ ซึ่งได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการวิจัยสถาบันระดับชาติ ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 24-25 สิงหาคม 2549 ที่ผ่านนะคะ และได้พูดคุยกับอาจารย์วัฒนาช่วงหลังจากที่อาจารย์ได้เสนอผลงานแล้วกับพี่ที่เป็นอาจารย์อยู่ที่วิทยาลัยตาปี (อาจารย์วัฒนาคงจะจำได้บ้างแล้วนะค่ะ) นูอยากเรียนขอคำปรึกษาจากอาจารย์วัฒนาเกี่ยวกับสถิติคะ คือหนูได้อ่านงานวิจัยเล่มหนึ่ง เขามี วัตถุประสงค์ ดังนี้คะ
            1. เพื่อศึกษาปัญหาในการทำงานของอาจารย์
            2. เพื่อศึกษาความคาดหวังในการทำงานของอาจารย์
            3. เพื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวัง ระดับปัญหาในการทำงานที่มีคุณลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน
            4. เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการทำงานของอาจารย์
    โดยเขาใช้ประชากรทั้งหมดในการศึกษา มีสมมุติฐานว่า ลักษณะส่วนบุคคลต่างกันมีระดับความคาดหวัง ระดับปัญหาแตกต่างกัน สถิติที่ใช้คือ 1. การแจกแจงความถี่ ร้อยละ 2. ค่าเฉลี่ย sd. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ข้อที่ 1, 2 และ 4  3. t-test และ one way ANOVA วิเคราะห์วัตถุประสงค์ข้อ 3
              หนูอยากขอคำแนะนำว่า  ถ้าเราใช้ประชาการ เราจะใช้สถิติ t-test และ one way ANOVA ได้หรือเปล่าคะ เพราะสถิตินี้เป็นสถิติอ้างอิง แต่งานวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษาโดยใช้ประชากรทั้งหมดคะ หนูขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์วัฒนาชี้แนะด้วยนะค่ะ
     
    ขอขอบพระคุณอย่ายิ่ง
    วิไลลักษณ์ เขมวงศ์
     คำตอบ
    • ในกรณีประชากรมีขนาดเล็ก ถ้าใช้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว สถิติที่เหมาะสมคือ สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อาจนำเสนอเป็นตาราง โดยมีกราฟประกอบ และอาจใช้เกณฑ์ต่อไปนี้ประกอบการสรุปผลการวิจัย คือ เกณฑ์การตัดสิน 5 ระดับ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/criteria5.pdf หรือ เกณฑ์การตัดสิน 3-4-5-6 ระดับ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/CRITERIA.htm แล้วแต่เครื่องมือวิจัย
     แต่ถ้าต้องการใช้สถิติอ้างอิงก็ควรมีเหตุผลรองรับ เช่น หนึ่ง มีข้อมูลไม่ครบตามจำนวนของประชากร และเชื่อว่าข้อมูลที่มีนั้นเป็นตัวแทนของประชากร ก็สามารถใช้สถิติอ้างอิงได้ (ถ้าขนาดตัวอย่างต่ำกว่า 30 ควรใช้สถิติไม่อิงพารามิเตอร์) สอง ใช้ประชากรสมมุติ เช่น กลุ่มที่กำลังศึกษาคือ นักเรียนทั้งชั้นของห้องหนึ่งในภาคที่ 2/2549 ดังนั้น ประชากรสมมุติอาจเป็นนักเรียนชั้นปีเดียวกันที่เรียนในปี 2548-2550 (ช่วงปีไม่ควรกว้างมากนัก) ที่มีบริบทไม่เปลี่ยนแปลง โดยถือว่า นักเรียนทั้งชั้นของห้องในภาคที่ 2/2549 เป็นกลุ่มตัวอย่าง สาม หากประชากรไม่เล็กเกินไป (ไม่ต่ำกว่า 30) อาจคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตร(1) หรือ (2) ในแหล่งต่อไปนี้ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/poll.htm แล้วใช้สถิติอ้างอิงได้ตามปกติครับ

    ขอขอบพระคุณอาจารย์วัฒนามากคะที่ได้ให้คำแนะนำ แต่ก็ยัังมีคำถามเกิดขึ้นหลังจากที่ได้ถกกันกับเพื่อน(รุ่นน้อง)ที่ทำงาน เขายกตัวอย่างมาว่า

    ถ้าเราต้องการศึกษาลักษณะส่วนบุคคล(เช่น เพศ อายุ ...)กับความเครียดในการทำงาน  กับประชากรทั้งหมด 400 คน แล้วเราเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด 400 คน  และมีวัตถุประสงค์ เพื่อ หาความสัมพันธ์ หรือเปรียบเทียบลักษณะบุคคลในด้านต่าง ๆ กับความเครียดแบบนี้แล้วเราจะใช้สถิติอ้างอิงได้หรือป่าวคะ แล้วสถิติที่เหมาะสมกับประชากรกลุ่มนี้คืออะไรคะ ที่จะหาความสัมพันธ์ หรือต้องการเปรียบเทียบกัน

     อันนี้หนูก้ไม่ค่อยแน่ใจว่าหนูจำผิดหรือป่าวนะคะ

    ประเด็นที่ 1 คือ  ถ้าเราใช้กลุ่มตัวอย่าง(ในกรณีที่เป็นตัวแทนที่ดี) เราสามารถใช้สถิติพรรณา เช่น ค่าเฉลี่ย SD ร้อยละ ความถี่ได้ และสามารถใช้สถิติอ้างอิงไปยังกลุ่มประชากรที่เราทำการศึกษาก็ได้ เช่น t-test ไคย์สแคว one way เพื่อทำการทำสอบว่าสิ่งที่เราหาได้นั้นมันนั้นมันจะแตกต่างกันจริง (สัมพันธ์กันจริง)หรือไม่ในกลุ่มประชากร

    แต่ถ้าเราใช้ประชากรทั้งหมด(คือเก็บได้หมดทุกคน แล้วก็มีจำนวนมาก ๆ )แบบนี้ เรายังสามารถใช้สถิติอ้างอิงได้อีกหรือเปล่าค่ะ  ก็ยังสังสัยและอธิบายให้เข้าใจตรงกันไม่ได้สักทีคะ

    ประเด็นที่ 2 ได้สมมติตัวอย่างขึ้นมาว่า ถ้าต้องการศึกษาผู้ป่วยโรคไตกับอาการท้อแท้ของ รพ. ธรรมศาสตร์ เก็บข้อมูลจากผู้ป่าวทุกคนจำนวนมาก ๆ เช่น 100    200   300 คน แล้วตามที่กล่าวข้างต้นที่ว่า ถ้าเป็นกับประชากรก็ไม่ต้องใช้สถิติอ้างอิง (เพราะผลเป็นของกลุ่มคนที่ รพ. ธรรมศาสตร์) ได้ผลการวิจัยขึ้นมา  จากนั้น รพ. จุฬา จะเอาผลนี้ไปใช้กับผูป่วยได้หรือป่าวคะ 

    หนูขอรบกวนอาจารย์วัฒนาโปรดให้คำนะนำชี้แนะอีกครั้งคะ พยายามที่จะสื่อกับเพื่อนกันให้เข้าใจกัน

     ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

     

    ตอบคุณ วิไลลักษณ์

    ในการวิจัยนั้น ผู้วิจัยจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะทำให้ชัดเจนก่อน ต่อมาจึงกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ตามลำดับo      ถ้าจำนวน 400 คน ดังกล่าวเป็นบุคลากรทุกคนในบริษัทแห่งหนึ่ง และวัตถุประสงค์ คือ ต้องการทราบองค์ความรู้บางอย่างเฉพาะในบริษัทแห่งนั้น  ซึ่งผู้วิจัยมีเงินและเวลาเพียงพอที่จะเก็บข้อมูลได้ครบทุกคน ก็ควรใช้สถิติพรรณนาตอบวัตถุประสงค์ดังกล่าว o      แต่ถ้าจำนวน 400 คน ดังกล่าวเป็นคนไข้ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง จำนวนนี้ไม่น่าจะเป็นประชากร เพราะคนไข้มีเข้ามีออกตลอดเวลา ดังนั้นจำนวนนี้จึงถือเป็นกลุ่มตัวอย่าง และสามารถใช้สถิติอ้างอิงได้ โดยประชากร/โรงพยาบาลที่จะอ้างอิงไปถึงควรมีลักษณะทั่วไป (เช่น เพศ อายุ ฐานะ ระดับการศึกษา สิ่งแวดล้อมของรพ. รวมทั้งการดูแลรักษาของหมอ ฯลฯ) คล้ายคลึงกัน

    ขอขอบพระคุณอาจารย์วัฒนามากคะ และถ้าเกิดมีคำถาม ข้อสงสัยหนูขออนุญาตอาจารย์รบกวนขอคำชี้แนะอีกนะค่ะ

     ขอบพระคุณอย่างสูง

    วิไลลักษณ์

    เรียน อาจารย์วัฒนา

    หนูมีข้อสงสัยในการเลือกใช้สถิติค่ะ คือว่า มีข้อมูลอยู่ 2 กลุ่ม

    กลุ่มที่ 1 เป็นข้อมูลนามบัญญัติ ที่จัดเป็นกลุ่ม ๆ  โดยแต่ละตัวแปรแบ่งค่าได้ 2 ค่า 3 ค่า หรือมากกว่า 3 บ้าง เช่น เพศ ชั้นปี ช่วงอายุ ช่วงรายได้ ระดับการศึกษา ภูมิลำเนา 

    กลุ่มที่ 2 เป็นข้อมูลอันดับ โดนในแต่ละด้าน(ทั้งหมด 7 ด้าน) ให้จัดเรียง ซึ่งแต่ละด้านจะมีอันดับไม่เท่ากัน เช่น

            1.  ด้านความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ (ให้เรียงอันดับ)

     £      วิชาชีพทันตแพทย์เป็นวิชาชีพที่มีรายได้สูง 

    £      วิชาชีพทันตแพทย์เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง

    £      วิชาชีพทันตแพทย์เป็นวิชาชีพที่ทำรายได้ดี       

    £      วิชาชีพทันตแพทย์เป็นอาชีพที่หางานง่ายเป็นที่ต้องการของตลาด

    2  ด้านการยอมรับทางสังคม

    £      อาชีพทันตแพทย์เป็นอาชีพที่มีเกียรติ

    £      อาชีพทันตแพทย์เป็นอาชีพที่สังคมยอมรับและยกย่อง

    £      วิชาชีพทันตแพทย์เป็นวิชาชีพที่เป็นแบบอย่างแก่สังคม

    หนูอยากรู้ว่า ตัวแปรในกลุ่มที่ 1 แต่ละตัว มีความคิดเห็นในแต่ด้านของข้อมูลกลุ่มที่ 2 แตกต่างกันหรือไม่ แบบนี้เราจะใช้สถิติอะไรค่ะ เช่น เพศต่างกัน ช่วงอายุ ภูมิลำเนา  ฯลฯ ต่างกัน  มีความคิดเห็น(ในข้อมูลการเรียงอันดับ) ต่างกันหรือไม่

    หนูขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยชี้แนะด้วนค่ะ

    ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง

    ตอบคุณวิไลลักษณ์
     
    • เพศและภูมิลำเนา เป็นข้อมูลนามบัญญัติ นอกนั้นเป็นข้อมูลสูงกว่านามบัญญัติ โปรดดูเพิ่มเติมได้ที่ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/newresearcher.pdf
    • ข้อมูลการเรียงอันดับดังกล่าวไม่มีสถิติทดสอบครับ โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เห็นด้วยกับการให้ตอบชนิดเรียงลำดับ เพราะนอกจากจะเป็นภาระหรือรบกวนผู้ตอบแล้ว ผลการวิเคราะห์ที่ได้ก็ยังขาดความชัดเจน และไม่สามารถนำไปทดสอบสมมุติฐานได้อีกด้วย ควรใช้มาตรวัดค่าแบบมาตราประมาณค่า จะใช้ได้กว้างขวางกว่าครับ
    น้องใหม่การวิจัยค่ะ

    เรียน รศ.วัฒนา

    ขอแนะนำตัวก่อนนะค่ะ ชื่อ นางสาววรางคณา  วังชากร  ค่ะ ตอนนี้พึ่งได้รับการอบรมการทำวิจัยสถาบันเป็นครั้งแรก เข้าไปอบรมได้ 1 วันแล้วค่ะ

    ได้หัวข้องานวิจัยที่ตัวเองสนใจมา 1 หัวข้อ

    เรื่อง ศึกษาปัญหาในการทำงานของบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล รุ่นปีการศึกษา 2546

    อยากให้อาจารย์ช่วงเสนอมุมมองของหัวข้อนี้ด้วยค่ะ

    แล้วเครื่องมือ เราจะออกเป็นแนวไหนดี

    รบกวรด้วยนะค่ะ เพราะไม่เคยทำวิจัยใดใด มาก่อนเลยยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ค่ะ

    ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงค่ะ

    • หลังจากได้ชื่อเรื่องแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
    • ขั้นตอนต่อไปก็ไปศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดมุมมองที่กว้างขึ้น จะได้นำมาสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย
    • เขียนเค้าโครงการวิจัยตามรูปแบบที่สถาบันกำหนด ก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไปครับ
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท